Chula zero waste
จุดเริ่มต้นขยะเป็น 0
ลด ละ เลิก การก่อขยะ
Together we can!!! This is one of the sustainability programs organized by Chulalongkorn University.
It aims to encourage multi-sectorial collaboration to manage the waste in and around Chulalongkorn University.
เปิดเหมือนปกติ
ห้าม single-use plastic เข้าอุทยานแห่งชาติ ฝ่าฝืน ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท!
หลังจากที่ทางอุทยานรณรงค์ให้งดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวตั้งแต่ปี 2562 ล่าสุด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชก็ได้เผยแพร่ประกาศ “ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟม และบรรจุภัณฑ์พลาสติก ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือ single-use plastic เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2565 เป็นต้นไป
สรุปแล้ว ใครที่จะไปท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั้ง 154 แห่งทั่วประเทศ จะต้องไม่พก
1 ถุงพลาสติกแบบบาง (หนาน้อยกว่า 36 ไมครอน)
2 กล่องโฟมบรรจุอาหาร
3 กล่องพลาสติกบรรจุอาหาร ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง
4 แก้วพลาสติกแบบบาง
5 หลอดพลาสติก
6 ช้อน ส้อมพลาสติก
ไปเด็ดขาด… ไม่ต้องเอาไปแต่แรก จะได้ไม่ต้องไปบ่นเอาหน้างาน ซึ่งกฏพวกนี้มีขึ้นเพื่อลดปริมาณขยะ single-use plastic ที่เกิดขึ้นเป็นล้านตันในแต่ละปี ขยะพลาสติกที่มนุษย์ใช้อย่างทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ แล้วไปส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสัตว์ ทั้งสัตว์ทะเล สัตว์ป่า
ต้องยอมรับว่ากิจกรรมของมนุษย์ อย่างการท่องเที่ยวตั้งแค้มป์ถือเป็นการบุกรุกที่อยู่ของสัตว์ดังนั้นการ “เลิกสร้างขยะพลาสติก” ก็เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ง่ายมาก และควรจะทำอย่างที่สุด ไหน ๆ ก็อยากจะไปสร้างความสุขให้ชีวิตตัวเองแล้ว ก็อย่างเอาความสบายของเราไปเป็นภาระชีวิตสิ่งมีชีวิตอื่นเลย
การออกกฏให้ลดและเลิกใช้พลาสติกเหล่านี้ก็เป็นไปตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติกประเทศไทย พ.ศ.2561-2573 ซึ่งในปี 2562 ก็ได้ประกาศให้เลิกใช้ถุงพลาสติก OXO พลาสติกที่ไม่จำเป็นเช่นพลาสติกหุ้มฝาขวด และไมโครบีดที่มาจากพลาสติก ส่วนปีนี้ถึงแม้จะประกาศว่าจะแบนพลาสติกใช้แล้วทิ้ง (เช่น กล่องโฟม หลอดพลาสติก ถุงหูหิ้วแบบบาง แก้วพลาสติกแบบบาง) แต่ผ่านมาแล้วถึง 3 เดือน เราก็ยังคงเห็นร้านค้าใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้งอยู่ทั่วไปอยู่ดี เพราะว่าเรื่องนี้ยังไม่ใช่กฏหมาย บ้านเรายังต้องอาศัยเรื่องการสร้างความตระหนักอยู่เรื่อยไป
แล้วมันจะสู้ความอวยลูกค้าของผู้ประกอบการ ผู้ผลิตที่ยังคงคิดถึงแต่เม็ดเงิน หรือผู้บริโภคที่รักในความสะดวกสบายได้ไหม
แต่ก็ต้องถือว่าเรื่องการจำกัดการนำพลาสติกใช้แล้วทิ้งเข้าในเขตอุทยานเป็นโอกาสที่ดีที่จะช่วนทำให้เกิดความเข้าใจ เริ่มจากที่หนึ่งแล้วขยายออกสู่วงกว้างกระจายวสู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้ในวันหนึ่ง
https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/10/pcdnew-2021-10-19_08-59-31_527174.pdf
แค่ Poster ก็คริ้วละอ่ะ~ ไหนๆ แอดขอกดดูหน่อยจิว่ามีร้านแถวบ้านแอดหรือเปล่า
Food Matter คือแพลตฟอร์มสั่งอาหารที่ต้องการจะช่วยให้โลกมีขยะอาหารน้อยลง จากการลดปริมาณอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) และช่วยให้คุณได้กินของอร่อยที่มีคุณภาพและราคาสบายกระเป๋า 🥳
📍 Food Matter จะเปิดให้บริการในวันนี้ - 22 เมษายน (จันทร์-ศุกร์)
บนเว็บ www.foodmatterth.com โดยจะเปิดให้สั่งอาหารในเวลา 18:00 พร้อมกัน และจะจัดส่งถึงมือคุณภายในเวลา 1 ชั่วโมง! และเรามีโปรโมชั่นส่งฟรี 5km. ของทุกออเดอร์ ไม่มีขั้นต่ำ! (เลือกกี่เมนูจากกี่ร้านก็ได้น้าา😚)
ทุกๆการสั่งซื้อในแต่ละครั้ง คุณจะสามารถติดตามผลปริมาณคาร์บอนฟุตปริ้นที่ลดลงในแบบฉบับของตนเองได้ตามจำนวนมื้ออาหารที่คุณได้ช่วยเหลือไว้ 🌎
สั่งอาหารได้เลยวันนี้! www.foodmatterth.com
แพลตฟอร์ม ที่น่าสนับสนุน... จากน้องๆ คณะคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาคออกแบบนิเทศศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #SurplusFood #nofoodwaste #foodlost
FoodMatter คุณภาพเท่าเดิม ราคาสบายกระเป๋าแถมยังช่วยโลกได้อีก
ช่วงนี้มีกระแสเรื่องการติดตั้งป้ายหาเสียงที่บดบังมุมมอง สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้ทาง จนต้องเอาไปเปรียบเทียบกับป้ายหาเสียงของต่างประเทศที่แตกต่างจากบ้านเรามาก นอกจากเรื่องความเรียบร้อย เราขอจุดประเด็นเรื่องการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือยอีกเรื่อง
.
พอเห็นของต่างประเทศที่เค้าคำนึงถึงเรื่องนี้แล้วกลับมาดูที่บ้านเราก็ได้แต่ถอนใจ ทำไมมันมากมายนัก บางที่จุดเดียวกันมีเหมือนกันสองป้าย เยอะเหลือเกิน เยอะไปไหน
แต่รู้หรือไม่! ยิ่งพรรคไหนมีป้ายมากเท่าไหร่ เมื่อจบงานพรรคนั้นจะกลายเป็นผู้สร้าง "ขยะ" มากขึ้นเท่านั้น เชื่อว่าหลายๆท่านที่ได้อ่านโพสต์นี้ คงจะต้องมีสักแว้บที่ตั้งคำถามในใจว่า เมื่อการเลือกตั้งจบลง ป้ายเหล่านั้นจะไปที่ไหนต่อ
.
ป้ายหาเสียงที่เห็น ๆ กัน ส่วนใหญ่เป็น “ป้ายไวนิล” ทำมาจากโพลิเมอร์ชนิด Polyvinyl Chloride (PVC) โดยในกระบวนการผลิตนั้นจะเกิดสารเคมีที่ชื่อว่า “ไดออกซิน” เป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็ง ซ้ำยังต้องเติมสารอื่นๆ เช่น ตะกั่ว เพื่อช่วยในการขึ้นรูป หรือ Phthalates เพื่อช่วยชะลอการเผาไหม้ หลังจากผลิต ใช้งานจบแล้ว… หลัจากนั้นใครเป็นผู้นำไปกำจัด กำจัดอย่างไรถูกวิธีหรือไม่ หรือมันอาจจะถูกทิ้งอยู่ที่ไหนสักแห่งและกลายเป็นขยะที่อยู่กับโลกไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
.
สรุปคือเราเองก็ยังไม่รู้ ว่ามันจะไปอยู่ที่ตรงไหน (แฮร่!) แต่ที่เขียนโพสต์นี้ เพราะอยากเรียนขอร้องให้ทีมผู้ลงสมัครเลือกตั้งทุกคน ทุกพรรค ทุกการเลือกตั้งหลังจากนี้ โปรดนำเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นหนึ่งในหัวข้อพิจารณา หรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานด้วย อาจจะปรับเปลี่ยนวิธีการหาเสียงให้ออกมาในรูปแบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น(อันนี้อาจต้องดูในเรื่องข้อกฏหมาย) ใช้บริการป้ายโฆษณา LED หรือหนทางอื่น ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่านี้ อย่างตัวอย่างที่ประเทศญี่ปุ่น คือมีป้ายหาเสียงของส่วนกลาง ที่สามารถใช้ซ้ำได้ในหลายๆการเลือกตั้ง ทั้งยังไม่บดบังทัศนวิสัยในการสัญจรไปมาบนท้องถนนอีกด้วย
.
(ขออีกนิด…)ไม่ว่านโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละพรรคจะสวยงามขนาดไหน แต่ถ้าช่วงหาเสียงยังสร้างขยะกันมากมายขนาดนี้ ก็ไม่แน่ใจว่านโยบายเรื่องอื่นๆ จะเกิดขึ้นได้จริงหรือเป็นเพียงแค่ภาพในจินตนาการ ไม่ได้ปรับใช้จริง
.
(และอีกนิด…) เคยเห็นมีเอาป้ายหาเสียงมา Upcycle เป็นของใช้ แต่แอดขอรับประกันว่าถ้าเป็นป้ายหาเสียงที่ใช้แล้วจริงๆ ทั้งวัสดุ ประกอบกับสภาพหลังจากการผ่านแดด ผ่านฝุ่น ทำให้มันไม่ทนทานพอ ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในลักษณะนี้เลยแม้แต่น้อย
สุดท้ายแล้วไม่ว่าเรื่องอะไร การลดใช้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงเป็นเรื่องแรก
.
ที่มา : การหาเสียงฉบับโมเดลญี่ปุ่น
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=36031
❤️❤️❤️ เลิฟมากโพสต์นี้ ❤️❤️❤️
ไม่ติดเครื่องในขณะที่จอดรออยู่เฉยๆ
แยกขยะ
ทำปุ๋ยหมัก
ใช้รถสาธารณะ
ทำเหอะ
แก้วกระดาษ “ย่อยสลายได้” จริงหรือ? EP.3
วันนี้ก็ครบรอบ 6 อาทิตย์ พอดีที่พวกเราทดลองฝัง “แก้วกระดาษทั่วไป” และ “Zero Waste Cup” ลงในดินเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการย่อยสลาย ป่านนี้มันคงกลายเป็นปุ๋ยไปหมดแล้ว
จึงอยากจะเอาภาพและผลของเมื่อ 2 อาทิยที่แล้วมาให้ดูกันจะๆไปเลย (ถ้านับจากวันที่เอาลงไปฝังก็ 1 เดือนพอดีล่ะ)
อย่างที่เห็น “Zero Waste Cup” นั้นถูกย่อยจนไม่มีเค้ารูปร่างเดิมเหลือแล้ว ในขณะที่แก้วกระดาษทั่วไปนั้นยังคงรูปร่างเดิมได้มากกว่า การทดลองนี้จึงแสดงให้เห็นว่า Zero Waste Cup ของเรานั้นสามารถย่อยสลายได้แบบ “ Home compost” จริงๆ
จากความเดิมตอนที่แล้ว เราได้ขอร้องให้ทุกท่านที่ใช้ “Zero Waste Cup” นำแก้วมาทิ้งในถังที่เราทำไว้รองรับโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกต่อการนำไปจัดการต่อ โดยสำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีระบบลำเลียง “Zero Waste Cup” ที่ใช้แล้ว นำไปหมักเป็นปุ๋ย ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี และเมื่อหมักได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม ก็จะนำปุ๋ยที่หมักได้นั้นมาใช้เพื่อบำรุงต้นไม้ในมหาวิทยาลัยต่อไป
ตลอดระยะเวลา 1 เดือน นอกจากเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ “Zero Waste Cup” ที่ถูกย่อยนั้นเรายังอยากให้ทุกท่านได้ตระหนักถึงจุดประสงค์ในการนำแก้วนี้มาทดแทนการใช้แก้วพลาสติกในโรงอาหาร ซึ่งแท้จริงแล้วเพื่อให้กลไกลทางเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาพกแก้วที่ล้างใช้ซ้ำได้แทนการต้องจ่ายค่าแก้วนี้
แม้เราจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถกำจัดขยะได้ แต่ทางที่ดีที่สุดก็ยังคงเป็นการที่ทุกคนช่วยกัน “ลด” ใช้วัสดุแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และ “เปลี่ยน” มาใช้วัสดุใช้ซ้ำกันดีกว่าค่ะ
อ่านโพสต์นี้ ราวกับอ่านบทกวี~
สิ่งมีชีวิตบนโลกสัมพันธ์กับดินอย่างไร
ดินดี ดินเสื่อมมีผลแค่ไหนกับมนุษย์อย่างเราๆ
เสื่อมแล้วฟื้นฟูได้ไหม
คำถามตั้งมากมาย ไปหาคำตอบที่ https://consciousplanet.org/
จากหนังสือของ บิล เกตส์ บอกไว้ว่า "You’d need some where around 50 acres' worth of threes, planted in tropical areas to absorb the emissions produced by average American in her lifetime (How to avoid a Climate Disaster, page 129)" ต้องใช้พื้นที่ราว ๆ 126.5 ไร่ (น่าจะเทียบเป็นหน่วยที่คนไทยคุ้นกว่า) เพื่อดูดซับคาร์บอนที่ก่อมาจากคนอเมริกันคนหนึ่ง แล้วในนั้นยังขยายความต่อว่า ถ้าจะต้องเดูดซับคาร์บอนที่ก่อมาจากคนอเมริกันทั้งประเทศก็ใช้พื้นที่เกือบครึ่งโลก!!!
ตัวเลขพวกนี้นี่มาจากข้อมูลต่าง ๆ เช่น ต้นไม้แต่ละต้นสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 4 ตันในช่วงอายุขัย 40 ปี พื้นที่การแผ้วถางเพื่อที่ดินทางการเกษตร ถ้าเราบริหารจัดการหาพื้นที่ปลูกป่าใหม่ ๆ อย่างไม่เหมาะสม การปลูกต้นไม้ที่เหมาะกับเขตอากาศ เป็นต้น เป็นต้น
ตัวเลขที่เราเอามาให้ดูวันนี้ ตั้งใจให้เห็นว่า ป่าไม้ที่เหลืออยู่บนโลกสำคัญขนาดไหน จะปลูกเพิ่มก็ใช่ว่าจะแก้ปัญหาทัน มนุษย์เราเองต้องเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นในชีวิตตัวเองด้วย เพื่อลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ที่จะทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ลดการกินเนื้อสัตว์ ลดการเดินทางด้วยรถส่วนตัว เปิดเครื่องปรับอากาศแบบไม่จำเป็น ติดเครื่องยนต์ไว้ขณะจอดรอเพื่อน ครอบครัว เจ้านาย ฯลฯ ทำธุระ อีกหลายอย่างเลยที่พอเยียวยาไม่ให้โลกมันรวนไปมากกว่านี้ เง้ออออ
วันนี้วัน Global Recycling Day ล่ะ
ขอเสนอภาพฝันที่ทุกคนสามาถลดและแยกขยะเป็น ทำจนเป็นนิสัย เป็นวินัย ภาครัฐมีมาตรการ มีกฏหมาย มีระบบการจัดการที่เอื้อให้ทรัพยากรได้วนกลับมาผลิตใหม่ กลับมาใช้ใหม่ได้เสมอ จริงๆ
เรารีไซเคิลอะไรหลายอย่างได้แต่เราโลกรีไซเคิลไม่ได้
วันนี้แล้ววววววววววววววววว!
เจอกัน :)
.
****ไม่รับบรรจุภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทั้งพลาสติกและกระดาษ
(เช่น ขวดน้ำดื่ม PET, Zero Waste Cup, แก้วพลาสติกชนิดบาง พวกนี้ไม่รับ)****
.
#Reduce
#Reuse
#YourCupWeTreat
#BYO
#SayNotoSingleUsePlastic
#contactless
#SalutetheReusers
#ChulaZeroWaste
Your cup, we treat เดือนมีนาคม
เจอกันที่ลานหน้าหอกลางงงงงงงงงง
.
สัปดาห์หน้าจะเข้าช่วงสอบกลางภาคของนิสิตกันแล้ว
ใครที่มาอ่านหนังสือที่หอกลางอย่างเป็นประจำ
อย่าลืมพกกระติก/แก้วน้ำติดตัวมา
เพื่อกดน้ำเปล่าดื่มจากตู้กดน้ำระหว่างวัน
.
ส่วนวันพุธที่ 9 และ 16 ตอน 15:30
ก็ออกมาตรงลานมหาโพธิ์หน้าหอกลาง (แถวๆ บูธ 7-11)
พักสูดอากาศ รับลม รับแดด ยืดร่างกาย
+ หยิบกระติกลงมาด้วยเพื่อรับโกโก้ หรือ ชาเย็นฟรีไปกินเสริมพลัง
.
อย่าลืมนะ
มีแค่ 200 แก้วเท่านั้น
.
เจอกัน 2 สัปดาห์ติด
วันพุธที่ 9 และ 16 มีนาคม 65
เวลา 15:30 จนกว่าเครื่องดื่มจะหมด
____________________________________________
.
Note ไว้ในปฏิทินแล้วแชร์ให้เพื่อนๆ รู้กันด้วยน้าาาา
#YourCupWeTreat #Resuce #Reuse #BYOB #SalutetheReusers
สงครามกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดกันและกัน ไร้วันสิ้นสุด ตอนที่ 2
.
จากสัปดาห์ที่แล้ว เราได้นำเสนอผลกระทบในแง่ลบจากสงครามต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมไปแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าเพราะมีสงครามก่อนแล้วทำเรื่องอื่นพังเพียงด้านเดียว มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นอีกด้านว่า “ปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศ กระตุ้นความขัดแย้งได้”
.
มีงานวิจัย (ในปี 2015) พบว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเพิ่มความเสี่ยงการเกิดความขัดแย้งขึ้นได้ โดยอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้ 2.4% และเพิ่มได้มากถึง 11.3% ในระหว่างกลุ่มคน
.
ส่วนในปี 2019 นักวิจัยพบว่า โลกร้อนที่รุนแรงขึ้นช่วยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดความขัดแย้งด้วยอาวุธได้ หากอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกไม่ลดลง ความเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งที่ถูกกระตุ้นโดยสภาพอากาศก็จะเพิ่มขึ้นได้ถึง 5 เท่า
.
ความพัวพันนีเเกิดขึ้นได้อย่างไร
สภาพอากาศที่แปรปรวน อุณหภูมิผิดปกติ ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้เกิดความแห้งแล้งผลผลิตทางการเกษตรลดลง ในขณะเดียวกันบางพื้นที่เกิดน้ำท่วมเพราะมีฝนตกมากเกินไปผลผลิตเสียหาย ก่อปัญหาความยากจน การจัดการ หรือเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีประสิทธิภาพก็ส่งผลให้เกิดการแย่งชิง ลามไปเป็นความขัดแย้ง หนักขึ้นไปจนเกิดสงคราม เมื่อเกิดสงครามก็จะมีการใช้อาวุธ เกิดการย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ ส่งผลต่อทรัพยากรในพื้นที่แห่งใหม่ วนไปอย่างนี้ไม่รู้จบ
.
อย่างไรก็ตาม ปัญหาความขัดแย้งเริ่มต้นมาจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการเมือง สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม… แต่จะมีจุดจบที่ดีขึ้นกับทุกสรรพสิ่งเหมือนกันหากทุกฝ่ายต่างหยุดและเลิกความรุนแรงในการปะทะ
ที่มา
https://insideclimatenews.org/news/13062019/climate-change-global-security-violent-conflict-risk-study-military-threat-multiplier/
https://www.treehugger.com/the-effects-of-war-on-environment-1708787
https://watson.brown.edu/costsofwar/costs/social/environment
https://core.ac.uk/download/pdf/224783893.pdf
https://workpointtoday.com/climate-war-migrant/
https://www.usnews.com/news/best-countries/articles/2021-10-29/how-climate-change-may-increase-global-conflicts
https://www.theigc.org/blog/does-climate-change-cause-conflict/
จันทร์ | 09:00 - 17:00 |
อังคาร | 09:00 - 17:00 |
พุธ | 09:00 - 17:00 |
พฤหัสบดี | 09:00 - 17:00 |
ศุกร์ | 09:00 - 17:00 |
Love Wildlife is a Thai non-profit organization dedicated to protecting southeast Asian wildlife through outreach and education. Thank you for the support!
Network for Integrated Planning and Sustainable Development Strategies in Asia&Pacific
The Thailand Bio-Diversity Network Alliance (B-DNA) is the country’s first and only national Business and Biodiversity platform.
ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพจของคนรักษ์โลกรักษ์เพื่อนร่วมโลก
Designed to be a shared space for the neighborhood to enjoy, Ford Resource and Engagement Center (FREC) Bangkok is home to eight non-governmental organizations that run programs focused on food , environmental conservation, art and technology.
เพราะเราเชื่อว่าเยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
Action for Climate Empowerment Thailand National Focal Point under UNFCCC
ชีวิตสัมพันธ์ มีคน มีต้นไม้ มีสัตว์ป่า อนุรักษ์ คือ หน้าที่ของทุกคน :)
28 ปีแห่งการร่วมช่วยชีวิตสัตว์ป่า สัตว์ทะเลและผืนป่าไทย 28 years of rescuing Thai wild animals
Friends of BCS work hand in hand to conserve and restore natural habitats such as mangroves, seagrass meadows, and salt marshes in order to grow ‘forests in the sea’ that provide a global ‘carbon sink’.
SLP Environmental is an award winning ASEAN Environmental Consultancy providing Environmental, Health & Safety Management & Assessment Services across Asia
World Green International is committed in Green Finance, Green Technology & Environment consultancy company on climate change. E: [email protected]