การพัฒนาชุมชนในชนบทให้พึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงและความสุข
เปิดเหมือนปกติ
Up date ร่าง พรบ. ชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ทั้ง 6 ฉบับ ล่าสุด Up date ร่าง พรบ. ชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ทั้ง 6 ฉ…
รายงานการดำเนินงานของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ปี 2564 และทิศทางปี 2565
https://www.ldi.or.th/2022/02/16/anualreport64/
รายงานการดำเนินงานของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ปี 2564 และทิศทางปี 2565 - มูลนิธิชุมชนท้องถิ่น รายงานการดำเนินงานของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ปี 2564 แ […]
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (สทพ.) ขอไว้อาลัยจากการจากไปของพี่บุญยืน คงเพชรศักดิ์ นักพัฒนาภาคเหนือ เสรีชนเพื่อชุมชนท้องถิ่นแห่งลุ่มน้ำสาละวิน
พี่บุญยืนเป็นแบบอย่างนักพัฒนาที่ไม่ติดกรอบอำนาจ หน้าตา และผลประโยชน์ สร้างวิถีที่ดีงาม เป็นแบบอย่างแก่นักพัฒนารุ่นต่อไป
สังคมไทยควรมีนักพัฒนาเช่นนี้ ไม่ใช่นักการเมืองหรือนักธุรกิจประชาสังคมที่ขาดรากจากชุมชน
สทพ.จะสืบสานปณิธานของพี่
ขอให้พี่บุญยืนสู่สุคติ และส่งใจให้ครอบครัวครับ
https://youtu.be/wW5zRW18lPo
พรุ่งนี้สายๆ พบกันครับ
ภูมิทัศน์ชีวิตฟอรั่ม หรือ Living Landscape Forum
วันที่ 24-27 มกราคม 2565 (9.30-12.30 น.)
ภูมิทัศน์ชีวิตฟอรั่มกับ 4 เวทีสัมมนาออนไลน์ ร่วมเรียนรู้ ร่วมยกระดับฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้ ที่เปิดมุมมองการฟื้นฟูที่ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนและการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อคนท้องถิ่นและพวกเราทุกคน
Link zoom สำหรับการเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ในวันที่ 24-27 ม.ค. 65
https://shorturl.asia/J0Zke
https://www.facebook.com/102159981553248/posts/454331426336100/
#เผื่อใครสนใจ
“ยอมรับโทษ แต่ไม่ยอมรับผิด” นิติสานึกว่าด้วยความยุติธรรมในสิทธิชุมชนของกลุ่มอนุรักษ์...
https://drive.google.com/file/d/1MyGK9R9wpJh3ahWNkAN42AsrOYA-Fuo9/view?usp=drivesdk
แจ้งข่าวสาร อุดหนุนข้าวสารหอมมะลิของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ จ.ยโสธร
ขณะนี้โรงสีของกลุ่มเกษตรกรรมทางเลือก จ.ยโสธร ที่ทำเกษตรกรรมอินทรีย์ นำโดยนายบุญส่ง มาตขาว และนายอุบล อยู่หว้า ที่ บ.โนนยาง ต.กำแมด จ.ยโสธร มีข้าวค้างสต๊อก จำนวนมาก เนื่องจากปีที่ผ่านมา จำหน่ายข้าวได้น้อยลงกว่าทุกปี จนมีข้าวเก่าล้นโกดังค้างสต๊อกจำนวนมาก ขณะที่ข้าวใหม่ของปี 2564 ของสมาชิก ก็เข้าสู่โกดังจำนวนมากเช่นกัน เนื่องจากข้าวหอมมะลิมีราคาสูงกว่าข้าวเสาไห้ทั่วไป ประจวบกับ CSR บริษัทฯ ที่เคยซื้อไปใช้ในโรงงานก็ลดปริมาณลง
เครือข่ายฯ จึงแจ้งข่าวสารมาว่าใครต้องการอุดหนุนเกษตรกร ซื้อข้าวหอมมะลิอินทรีย์จากชาวนา จ.ยโสธร โดยตรง สามารถติดต่อได้โดยตรง ที่พ่อบุญส่ง มาตขาว กลุ่มเกษตรกรรมทางเลือก จ.ยโสธร และปราชญ์เกษตรอินทรีย์บ้านโนนยาง ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเกษตรกรรมที่ยั่งยืน หมายเลขโทรศัพท์ 0813000165
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_115880
ข้าวมะลิแดงกล้อง ถุง 5 ก.ก. ราคารวมส่ง 285 บาท
มะลิแดงซ้อมมือ ถุง 5 ก.ก. ราคารวมค่าส่ง 310 บาท
ข้าวกล้องหอมมะลิ ถุง 5 ก.ก. ราคารวมค่าส่ง 285 บาท
ข้าวหอมมะลิขัดขาว ถุง 5 ก.ก. ราคารวมค่าส่ง 260 บาท
(ในรูปคือ ข้าวหอมมะลิขัดขาว กับมะลิแดงซ้อมมือ ครับ)
บุญส่ง มาตขาว ปราชญ์เกษตรอินทรีย์บ้านโนนยาง ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเกษตรกรรม นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ส […]
https://greennews.agency/?p=27276
119 เครือข่ายสิทธิ-สวล.ประกาศหนุนชุมนุมพีมูฟ จับตาท่าทีรัฐ 24 ม.ค. 119 องค์กร/กลุ่ม/เครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน-สิ่งแวดล้อมร่วมออกแถลงการณ์สนับสนุนการชุมนุมพีมูฟ เรียกร้องรัฐ....
ชนพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่นมีความสำคัญในการปกป้อง พัฒนาความหลากหลายชีวภาพของโลก
เชิญชวนอ่านสรุปรายงานที่เครือข่ายชนพื้นเมืองทั่วโลกนำเสนอต่อเวทีประชุมอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายชีวภาพครับ
https://www.thaiclimatejusticeforall.com/archives/2714
Local Biodiversity Outlooks 2 - THAI CLIMATE JUSTICE for All Social ShareLocal Biodiversity Outlooks 2 : บทบาทของชนพ […]
เมื่อวาน (14 มค.) เป็นวันทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ
จึงขอนำบทอภิปรายไม่ไว้วางใจนโยบายป่าไม้ที่ดินของรัฐ (รวมหลายรัฐบาลจนถึงรัฐบาลประยุทธ์) ที่สภาประชาชนจัดขึ้นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
ขอเชิญศึกษาครับว่า การเมืองป่าไม้ของรัฐเป็นบทสะท้อนการเมืองไทยที่คงความเป็นอำนาจนิยม และทำให้สังคมแตกแยก ชุมชนต้องทุกข์ทนถึงวันนี้
https://www.ldi.or.th/2022/01/15/ebook_distrust/
ถอดเทป เวทีสภาประชาชนอภิปราย ไม่ไว้วางใจรัฐบาลประยุทธ์ ว่าด้วยความล้มเหลวในการจัดการท อ่านบันทึกการเสวนาออนไลน์…ดาวน์โหลดไฟล์ ebook https://w […]
สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา การผสานพลัง และเปลี่ยนผ่านผู้นำสู่มิติศรัทธา ในบริบทต่อรองอำนาจรัฐ และกระแสการเปลี่ยนแปลง
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (สทพ.) ได้เคยไปทำงานกับชุมชนในสามจังหวัดชายแดนใต้เมื่อเกือบสิบปีที่ผ่านมา
หลังจากหมดโครงการก็ห่างหาย นี่เป็นโอกาสที่ผม ในนาม สทพ. ได้กลับมาเยี่ยมเยียนสมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา (ปัตตานี) เมื่อวันพุธ-พฤหัสฯ ที่12-13 มค. (กัมปงแปลว่าหมู่บ้าน ตักวา หมายถึงการนอบน้อม ศรัทธาต่อพระเจ้า)
อาจารย์แวรอมลี แวบูละ ประธานสมาคม และกลุ่มสมาชิกที่ผู้หญิงมีบทบาทแข็งขันมากได้สะท้อนว่า เป้าหมายหลักของสมาคม คือ การเชื่อมโยง 4 เสาหลัก ผู้นำชุมชน ได้แก่ โต๊ะอิหม่าม ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต.ให้มาทำงานร่วมกัน โดยเชื่อว่าหากสามารถผสานพลังเสาหลักทั้ง 4 ได้ จะเป็นจุดสำคัญในการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
คำถามคือ ทำไมต้อง 4 เสาหลัก และบริบทหรือสถานการณ์อะไรที่ 4 เสาหลักถึงมีความหมาย นี่คงไม่ใช่แค่หลักการพัฒนาชุมชนทั่วไป
พวกพ่อๆ แม่ๆ เล่าให้ฟังว่า แต่เดิม โต๊ะอิหม่าม ไม่ได้มีบทบาทแค่นำละหมาด หรือผู้นำทางศาสนา แต่เป็นผู้นำของชุมชนทุกด้านทั้งด้านการพัฒนาและการปกครอง มิติของชุมชนไม่ได้แยกศาสนาออกจากโลกสาธารณะ เหมือนดังแนวที่รัฐศาสตร์ตะวันตกที่อยากให้เป็น แต่กระนั้นโต๊ะอิหม่ามไม่ใช่ผู้นำที่รวบอำนาจ แต่ถูกกำกับด้วยหลักศาสนาที่ชุมชนนำมาใช้ปฏิบัติ (ศาสนาอิสลาม ไม่มีพระ ดังนั้นโต๊ะอิหม่ามกับชาวบ้านไม่ได้มีความแตกต่างความรู้และบทบาททางศาสนา) ชุมชนไม่เคยมีปัญหาในการเชื่อมโยงระหว่างหลักศาสนากับหลักการพัฒนาทางโลก
แต่รัฐส่วนกลาง มองชุมชนด้วยความหวาดระแวง และพยายามจำกัด หรือกดบทบาทของโต๊ะอิหม่ามให้เป็นเพียงผู้นำพิธีกรรม โดยจัดตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. เข้ามาทำงานที่เป็นตัวแทนของรัฐส่วนกลาง และกุมการบริหารงานพัฒนา ซึ่งหลายครั้ง ชาวบ้านมองว่า รัฐพยายามผลักดันให้ "อันธพาล" เข้ามาเป็นผู้นำทางการเหล่านั้น โต๊ะอิหม่ามในฐานะผู้นำทางวัฒนธรรมเลยถูกเก็บกดปิดกั้น ทำให้ไม่มีความหมายในทางสาธารณะ ผลก็คือ ความแปลกแยก และขัดแย้งระหว่างรัฐส่วนกลางกับชุมชน และระหว่างผู้นำทางการกับชุมชน (แม้ผู้นำเหล่านั้นจะนับถืออิสลาม แต่ก็เป้นเพียงแต่ในนาม)
รูปธรรมปัญหาที่ชาวบ้านสะท้อน คือ เมื่อรัฐจัดสรรทรัพยากรลงมาสู่หมู่บ้าน ทั้งในยามปรกติ และกรณีพิเศษเช่น ภัยพิบัติ ฯลฯ ทรัพยากรจะกระจุกตัวอยู่ผู้นำทางการ เกิดคอรัปชั่น จัดสรรอย่างไม่เป็นธรรม เพราะผู้นำเหล่านี้ไม่ได้ถูกกำกับด้วยหลักศาสนาโดยชุมชนอีกต่อไป
โครงสร้างที่แปลกแยก และขัดแย้งเช่นนี้ไม่เพียงแต่เป็นบ่อเกิดการคอรัปชั่น การใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ยังทำให้บทบาทของรัฐเสื่อมลง เพราะไม่ว่าจะเป็นงานพัฒนา งานความมั่นคงในสถานการณ์ความรุนแรง ผู้นำทางการเหล่านี้ช่วยอะไรทั้งชุมชนและรัฐส่วนกลางไม่ได้เลย กลายเป็นเสาหลักแห่งผลประโยชน์ส่วนตนที่ไม่ได้ทำงานร่วมกันเพื่อชุมชนหรือส่วนรวม
แทนที่จะผลักผู้นำทางการของรัฐออกไป เครือข่ายชุมชนศรัทธากัมปงตักวา จึงเกิดขึ้น เพื่อเปลี่ยนความหมายของ "ผู้นำ" เสียใหม่ ด้วยการทำให้เสาหลักที่มาจากอำนาจรัฐ เป็นเสาหลักของชุมชน และเสริมบทบาทของโต๊ะอิหม่ามในการทำงานสาธารณะ เชื่อมประสานกับผู้นำทางการ
กัมปงตักวา คือหลักการนำเอาหลักศาสนาที่ชุมชนกำกับได้มาสร้างภาวะเปลี่ยนผ่านผู้นำเหล่านี้ ไม่ว่าเขาจะเป็นผู้นำทางการในตำแหน่งใดๆ ของรัฐให้เป็นผู้นำทางศรัทธาศาสนาของชุมชนไปด้วย
ชุมชนไม่ได้เลือกแนวทางแยกศาสนาจากการเมือง และแยกกลไกตรวจสอบระหว่างเสาหลักตามหลักการปกครองของรัฐ แต่ใช้หลักกัมปงตักวา ที่ทำให้ทุกเสาหลักผสานร่วมกันโดยเครือข่ายชุมชนกำกับ ทำให้งานพัฒนาหลายอย่างทำได้ก้าวหน้าโดยที่รัฐท้องถิ่นทำไม่ได้ เช่น การจัดระบบอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียนตาดีกา (โรงเรียนสอนศาสนาเด็ก) ด้วยทรัพยากรของชุมชนเอง
เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มผู้หญิงมีบทบาทสูงมากทั้งในงานออมทรัพย์ งานสวัสดิการชุมชน งานพัฒนา และงานประสานเครือข่าย ผิดจากความเข้าใจของคนภายนอกว่า ศาสนาอิสลามตีกรอบให้ผู้หญิงมีบทบาทจำกัดเป็น "ช้างเท้าหลัง" และเพราะพลังผู้หญิงในมิติศาสนาเหล่านี้ จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ 4 เสาหลักของชุมชนผสานกันได้
สิ่งที่ชุมชนกัมปงตักวา กำลังเผชิญในขณะนี้ก็คือ "การเมืองของการพัฒนา" ในบริบทสถานการณ์ชายแดนใต้ ที่งบประมาณจากหน่วยงานรัฐ เอกชน ต่างประเทศไหลเข้ามามาก และหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนก็ใช้งบฯ เหล่านี้พยายามเข้ามาแสวงประโยชน์ ครอบงำ ชุมชน โดยมองข้ามหลักศาสนาที่ชุมชนยึดถือ
สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา จึงเป็นนวัตกรรมการออกแบบการพัฒนาชุมชนบูรณาการ (ศาสนา การพัฒนา การเมือง เพศสภาวะ ชุมชน รัฐ) ภายใต้หลักศรัทธาท่ามกลางสภาวะการต่อรองอำนาจกับรัฐและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเกิดเป็นชุมชนสุขภาวะด้วยศรัทธาศาสนา
สทพ.จึงมีเป้าหมายที่จะเข้าร่วมเรียนรู้เชิงลึก และหนุนเสริมพลังวิถีชุมชนศรัทธาให้เป็นต้นแบบของวิถีชุมชนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นในทุกสภาวะ
โดย สทพ.จะไม่ทำงานฉาบฉวย เหมารวม ลอยตัวจากชุมชน เหมือนอย่างอดีตที่อาจารย์แวรอมลีได้สะท้อนมา แต่จะร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมเรียนรู้ และร่วมขับเคลื่อนกับชุมชนอย่างจริงจัง
อัสลามมูาอาลัยกุม
กฤษฎา บุญชัย (โอมา)
เลขาธิการ สทพ.
แถลงการณ์
เครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน
“ประชาชนต้องมีสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มทางสังคม
เพื่อร่วมกำหนดอนาคตของตนเองในการพัฒนาประเทศ"
เครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน ขอยืนยันว่าพวกเราไม่ได้ปฏิเสธการถูกตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส
แต่เราไม่ยอมรับและขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างถึงที่สุด จนกว่าจะมีการถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ ตามเหตุผลที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ทั้งนี้จะมีการนัดหมายองค์กร/เครือข่ายภาคประชาชนทั่วประเทศที่ได้มีการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันแล้ว 1,800 กว่าองค์กร ให้ออกมาคัดค้านรัฐบาลในเรื่องนี้ ก่อนที่จะมีการนำร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีครั้งต่อไป โอกาสนี้จึงขอเรียกร้องไปยังกลุ่ม/องค์กร ภาคี/เครือข่ายภาคประชาชนทั่วทุกภูมิภาค ได้ออกมาปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเองในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ ร่วมกับพวกเราโดยพร้อมเพรียงกัน
แถลง ณ วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565
เครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน
ขอบคุณคำอวยพรจาก อ.ชนวน รัตนะวราหะ ผู้อาวุโสแห่งวงการเกษตรกรรมยั่งยืนครับ
"ยินดีด้วยครับ......
นึกถึงวันเก่าๆ และผู้อาวุโสที่ได้ริเริ่มสถาบันแห่งนี้มา ถ้าจำไม่ผิดก็ 30 ปีมาแล้ว (เริ่มก่อตั้งเมื่อ2534) เช่น
ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี
ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก
ศาสตราจารย์ระพี สาคริก
ฯลฯ
สถาบันนี้ได้บุกเบิกริเริ่มทำให้สังคมไทยได้เรียนรู้ เกษตรกรรมยั่งยืน โดยได้จัดให้มี
"สมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืน" เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ขึ้นที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
เมื่อปี 2536
นับเป็นการจุดประกายแนวคิดการเกษตรที่เป็นทางเลือกที่ดีให้กับสังคมไทยที่ถูกกระแสของการเกษตรแบบ"ปฎิวัติเขียว" (Green Revolution) จากระบบทุนนิยมตะวันตก ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของเกษตรกรไทยอย่างมาก
การประชุมสมัชชาดังกล่าวนั้นได้มีการจัดต่อเนื่องมาอีกหลายครั้ง แต่ไม่ทราบว่าในปัจจุบันยังมีการจัดต่อมาอีกหรือไม่?
..
ผมขอชื่นชมและขออวยพรให้ ดร.กฤษฎา บุญชัย และคณะผู้รับผิดชองสถาบันแห่งนี้ได้มีความสุขความเจริญ เพื่อจรรโลง สืบสวนปณิธานของผู้อาวุโสทั้งหลายที่ได้ช่วยกันก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยต่อไปตราบนานเท่านานครับ"
คำอวยพรของพวกเราชาว LDI ในวาระสิ้นปีเก่า 2564 และย่างเข้าสู่ปีใหม่ 2565 ถึงทุกท่านครับ
https://www.facebook.com/100614978846418/posts/241508254757089/
สถานการณ์ปัญหา ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงอาหารปี 2564 เป็นอย่างไร และแนวโน้มปี 65 จะเปลี่ยนไปทางไหน
ภาคีประชาสังคมขอเชิญร่วม
เวทีประเมินสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงอาหาร
วันที่ 28 ธันวาคม เวลา 09.00-12.30 น.
โดยมีประเด็นสำคัญคือ
-ประเมินสถานการณ์ ปัญหา
-ประเมินนโยบาย และบทบาทรัฐ และภาคทุนที่มีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงอาหาร
-แนวโน้มปี 65
-บทบาทของประชาสังคม
ร่วมประเมินโดย
1) ประยงค์ ดอกลำใยที่ปรึกษา P MOVE ด้านป่าไม้และที่ดิน
2) ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า ม.เกษตรฯ ด้านน้ำ
3) มนตรี จันทวงศ์ กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง ภูมิภาคแม่น้ำโขง
4) ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ สภาลมหายใจเชียงใหม่ ฝุ่นควันและไฟป่า ไฟเกษตร
5) วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ/ปรกชล อู๋ทรัพย์ มูลนิธิชีววิถี/ThaiPAN ความมั่นคงและปลอดภัยด้านอาหาร
6) เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง มูลนิธิบูรณะนิเวศ มลพิษอากาศ มลภาวะอุตสาหกรรม และขยะ
7) ประสิทธิชัย หนูนวล กป.อพช.ใต้ แผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้
8) ธารา บัวคำศรี กรีนพีชฯ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
9) ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ทรัพยากรชายฝั่งทะเล
10) ศุภกิจ นันทะวรการ พลังงาน
ดำเนินรายการโดย
กฤษฎา บุญชัย Thai Climate Justice for All
ถ่ายทอดสด FB Live ที่เพจ Thai Climate Justice for All
หรือร่วมวง Zoom Meeting
https://zoom.us/j/93662980936?pwd=TEV2bUhJdlVONmd5K1EwOHNXRkVqZz09
Meeting ID: 936 6298 0936
Passcode: 268663
https://www.facebook.com/319171214903895/posts/2187182294769435/
สนใจร่วมกิจกรรม
สามารถลงทะเบียนได้ที่นี่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSe-quUu8Z-1LP9cpkYJ9DEOuz1V0ejWraFXu23fvtgG3RlGHA/viewform
https://www.facebook.com/1517118541887612/posts/3029002227365895/
เมื่อย้อนกลับไปดูการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยารวมทั้งการศึกษาของนักภูมิศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ จะเห็นว่าภูมิภาคในเขตร้อนชื้นมีความมั่นคงทางอาหาร ที่เกิดจากการวิถีระบบการผลิตที่หลากหลายทั้งชนิดพืชและสัตว์ อย่างกรณี การทำข้าวไร่สามารถพบได้ในทุกสภาพพื้นที่ไม่ว่าที่สูง ที่โคก ที่ดอน ตลอดจนที่ลุ่มในพื้นที่น้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่อาศัยระบบนิเวศที่หลากหลายและปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่ก่อให้เกิดระบบการผลิตที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย
แต่เมื่อเข้าสู่ระบบการผลิตสมัยใหม่ ส่งผลให้ระบบการผลิตที่มีวัฒนธรรมหลากหลายนั้นถูกจำกัดและสูญหายหรือเปลี่ยนแปลงไป และการทำข้าวไร่บนดอยถูกมองว่าเป็นเรื่องล้าหลัง เป็นการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ไม่มีประสิทธิภาพในการผลิต เช่นเดียวกับการทำข้าวไร่ในพื้นที่อื่นๆ ที่ถูกทำให้ลืมเลือนไปในที่สุด สิ่งเหล่านี้แลกกับการทำลายความมั่นคงทางอาหาร และทำให้เกษตรกรเหลือทางเลือกไม่กี่ทาง ผนวกกับการเผชิญวิกฤตในปัจจุบัน ไม่ว่าราคาข้าวตกต่ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรืออื่นๆ ที่ส่งให้ชาวนามีความเปราะบาง ดังนั้น คำถามก็คือ ชาวนาจะปรับตัวอย่างไร ? โดยเฉพาะประเด็นข้าวไร่
อย่างไรก็ตาม ยังมีเงื่อนไขที่เป็นโจทย์สำคัญ ต่อความเสี่ยงและความเปราะบางในการทำเกษตร ตัวอย่างเช่น เกษตรกรเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมากขึ้น ใครจะมาเป็นแรงงานการผลิตในภาคเกษตรกรรม เกษตรกรโดยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและระบบชลประทาน อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นย่อมสร้างความเสี่ยงต่อการทำเกษตร
จากความเสี่ยงและความเปราะที่ต้องเผชิญ เกษตรกรจำเป็นต้องมีการตั้งรับและปรับตัว และวิถีข้าวไร่เป็นทางเลือกหนึ่ง เนื่องจาก เป็นระบบการเกษตรที่ใช้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เนื่องจากไม่ต้องใช้ปุ๋ยหรือสารเคมี และใช้แรงงานไม่มากหากเทียบกับการผลิตแบบเข้มข้น เป็นระบบผสมผสานที่มีความหลากหลายของชนิดพืชหรือสัตว์ อันเป็นทางเลือกกระจายความเสี่ยงในการการเผชิญภาวะวิกฤต การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ราคาผลผลิตตกต่ำ และข้าวไร่ตอบสนองเชิงวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน ตอบคำถามทางเศรษฐกิจ เพราะความหลากหลายอยู่ในแปลงข้าวไร่ สามารถใช้เป็นฐานฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ และพึ่งตนเองได้ รวมทั้งในงานบุญประเพณีต่างๆ ข้าวไร่ได้เป็นส่วนประกอบสำคัญ
ดังนั้น แนวทางการสร้างและขยายฐานพันธุกรรม ผ่านการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างเกษตรกรด้วยกัน หรือการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่จากศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์มาปลูกและขยายผล และการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถคัดเลือก ปรับปรุงพันธุกรรมที่เหมาะสมในแต่ละนิเวศได้ด้วยตนเองเป็นสิ่งสำคัญ
และในยามที่เศรษฐกิจของโลกอยู่ในภาวะตกต่ำ และต้องเผชิญกับวิกฤตต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและความเปราะบาง การสร้างความหลากหลายในแปลงเกษตรผ่านวิถีข้าวไร่ที่เชื่อมต่อภูมิปัญญาในอดีตกับการออกแบบในยุคปัจจุบัน สามารถเป็นคำตอบสร้างความมั่นคงทางอาหารและรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่.........................................
http://sathai.org/2021/12/08/%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b4/
จันทร์ | 09:00 - 17:00 |
อังคาร | 09:00 - 17:00 |
พุธ | 09:00 - 17:00 |
พฤหัสบดี | 09:00 - 17:00 |
ศุกร์ | 09:00 - 17:00 |
ประกาศงานนวดไทย นวดสปา ทั้งในไทย ต่างประเทศ ประกาศรับสมัครพนักงานนวด
ชุมชน
EDF-International is the charitable gathering of professional education development non-profits in 5 countries of Asia's Great Mekong Sub-region (GMS); EDF-Thailand, EDF-Lao, EDF-Cambodia, EDF-Vietnam and EDF-Myanmar.
หางานช่างกล ช่างยนต์ ช่างเชื่อม ช่างกลึง เครื่องกล อุตสาหการ นายจ้างลูกจ้างพบปะกันโดยตรง
Siamese Heritage Protection
SEAFDEC - Southeast Asian Fisheries Development Center is an autonomous inter-governmental body esta
หางาน สมัครงาน ประกาศรับสมัครงาน ชมรมบริหารงานบุคคล รับข่าวสารงานใหม่ Update Click! myjob
ภาคีผู้บริโภคเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ช่วยเหลือผู้บริ
Tây Phương Foundation là trang Fanpage do Đ.Đ Thích Ngộ Phương hướng dẫn tu tập Pháp môn Tịnh Độ, Phước-Tuệ song tu, hoạt động thiện nguyện do Tây Phương Foundation thực hiện.