Blue Carbon Society

Blue Carbon Society

ความคิดเห็น

📲แคปรูปส่งไลน์ได้โค้ดฟรี50.-
คลิกเลย https://lin.ee/bHgXmy7
วันที่ 26 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันสากลเพื่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าชายเลน (International Day For The Conservation of the Mangrove Ecosystem) หรือ วันป่าชายเลนโลก

วันนี้ ขอมาเล่าสู่กันฟัง เรื่อง กลไกการเงินเพื่อความหลากหลายทางชึวภาพว่าด้วย แผนการเงินเพื่อการจัดการป่าชายเลนอย่างยั่งยืนของจังหวัดเพชรบุรี ถือเป็น flagship project ของ BIOFIN ที่จะร่วมขับเคลิ่อนการดูแลระบบนิเวศป่าชายเลนของไทย ผ่านการนำร่องนวัตกรรมกลไกการเงิน 3 ระบบ 1.การทำงานกับท้องถิ่นผ่านกลไกการเงิน Community-based tourism ร่วมกับ BCST และชุมชนบ้านแหลม 2. การทำงานร่วมกับภาคเอกชน Blue Carbon Society ในการจัดการป่าชายเลนด้วยการทำ Master Plan ให้จังหวัดเพชรบุรีและกรม ทช พร้อมกับการจัดตั้ง CbSE จากนั้น 3. เราจะทำงานกับ Local Alike เพื่อยกระดับศักยภาพของท้องถิ่นพร้อมไปต่อกับ nature-based tourism

การทำงานผ่านการศึกษาวิจัยของ ผศ ดร ขนิษฐา แต้มบุญเลิศชัย Environmental Economist จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเสนอ Biodiversity Finance Plan on Sustainable Mangrove Management for Phetchaburi province

มาช่วยกันดูแลระบบ ที่ดูแลเรา อย่างเป็นระบบ

Blue Carbon Society กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง Biodiversity CHM Thailand Biofin Thailand UNDP Thailand Local Alike Bird Conservation Society of Thailand (BCST) The Biodiversity Finance Initiative - BIOFIN
SEEKING CARBON OFFSET RECOMMENDATIONS. Hi ocean and sustainability friends. We are a climate neutral business and we are currently calculating our greenhouse gas emissions from office, car, vessel and events and our offsets from renewable energy. Each year we offset the balance through a fund such as Carbon Positive Australia or Nakau. We seek to support the best and are receptive to recommendation for Blue Carbon and local projects for our proposed 2022 offsets. Below is last years declaration
Blue Carbon Blue Carbon Society Climate Action ClimatePositive BCORP JCU: James Cook University, Australia Queensland Environment
Hello,

I have the honor to share with you my article entitled: "The Economic Benefit of Coastal Blue Carbon Stocks in a Moroccan Lagoon Ecosystem: a Case Study at Moulay Bousselham Lagoon" for any useful purpose.

Best regards.

4 ธันวาคม #วันสิ่งแวดล้อมไทย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติขอร่วมเฉลิมฉลองวันสำคัญนี้พร้อมมุ่งมั่นพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่าง การจัดการป่าชายเลนอย่างยั่งยืนและการพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งในจังหวัดเพชรบุรี ผ่านความร่วมมือกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าชายเลนเพื่อปรับปรุงการดำรงชีวิตในท้องถิ่นและส่งเสริมการท่องเที่ยว

===

UNDP Thailand joins the commemoration of on the 4th of December and celebrate our work on environmental conservation. One such initiative is the Sustainable Mangrove Management and Coastal Ecosystem Development in Phetchaburi province in collaboration with the Department of Marine and Coastal Reources , which addresses the preservation of mangrove ecosystems to improve local livelihoods and promote tourism.



United Nations Thailand สหประชาชาติ ประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย Blue Carbon Society
“The toxic haze that blanketed the city a few months ago seems like a distant memory.”

92% of Asia and the Pacific’s population – about 4 billion people – are exposed to levels of air pollution that pose a significant risk to their health. Business can be a part of the problem or part of the solution.

What business practices might change if we view as a concern?

Read the blog of Sean Lees, UNDP Business and Human Rights Specialist, on 👉 https://bit.ly/38JEdGP



===

"การดำเนินธุรกิจอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเรามองว่า #มลพิษทางอากาศ เป็นอีกปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน" ปิดท้าย #วันสากลเพื่ออากาศสะอาด ด้วยบทความจากคุณ Sean Christopher Lees ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ประจำโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติที่จะมาเล่าถึงบทบาทสำคัญของอากาศผ่านมุมมอง #ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน 👉 https://bit.ly/38JEdGP

UNDP in Asia and the Pacific United Nations Thailand สหประชาชาติ ประเทศไทย UN Environment Programme in Asia Pacific Blue Carbon Society กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย
[English Below]

#รู้หรือไม่ ประชากร 92% ต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะทางอากาศทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 7 ล้านรายในแต่ละปี 🌬️

นอกจากนี้ มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อเด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุโดยเฉพาะการเพิ่มโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยมีข้อมูลนำเสนอว่า มลพิษทางอากาศอาจทำให้เสี่ยงต่อการเผชิญโรคร้ายต่างๆ รวมถึง #โควิด19

7 กันยายน #วันสากลเพื่อกาศสะอาดสำหรับท้องฟ้าที่สดใส มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพื้นที่ปอดสีเขียวเพื่อเพิ่ม #อากาศบริสุทธิ์ ให้โลกของเรา เริ่มได้ที่ตัวคุณ 🌱🌏

===

Join the push for this on 7 September! 🌬️🌱🌏

It is estimated that 92 per cent of the population is exposed to polluted air causing an estimated seven million premature deaths each year. Polluted air particularly impacts children, women and the elderly, with increased links to many diseases, with data suggesting that air pollution could be putting people at further risk of many diseases, including COVID-19.

UNDP in Asia and the Pacific United Nations Thailand สหประชาชาติ ประเทศไทย UN Environment Programme in Asia Pacific Blue Carbon Society SDG Move TH กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย Climate & Clean Air Coalition World Health Organization Thailand
26 กรกฎา #วันป่าชายเลนโลก 🌏🌿

ป่าชายเลนมีประโยชน์ทั้งทางด้านนิเวศวิทยาและการดำรงชีวิตของมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเป็นแหล่งสำคัญสำหรับชาวประมงป่าชายเลนใน Flag of Thailand ด้วย ร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศและป่าชายเลนจากทั่วทุกมุมโลกได้จากรายงาน "The State of World's mangroves" จัดทำโดย Global Mangrove Alliance

👉 https://www.mangrovealliance.org/mangrove-forests/

===

People in Southern Thailand 🇹🇭 have depended on mangroves, and their rich biodiversity, for centuries.

On this World Mangrove Day, let's take a closer look at "The State of World's mangroves" by Global Mangrove Alliance and learn how to restore and conserve mangroves ecosystems 🌏🌿

👉 https://www.mangrovealliance.org/mangrove-forests/
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย GYBN Thailand ป่าชายเลนเพื่ออนาคต | Mangroves for the Future Thailand Blue Carbon Society The Biodiversity Finance Initiative - BIOFIN Biofin Thailand Center for International Forestry Research (CIFOR)
[English Below]

10 พฤษภาคม #วันป่าชายเลนแห่งชาติ 🌱💦🇹🇭

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ และ Biofin Thailand ได้ให้ความสำคัญถึงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมผ่านความร่วมมือภายใต้โครงการจัดการและพัฒนาระบบนิเวศป่าชายเลนอย่างยั่งยืนจังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้การสนับสนุนการบริหารจัดการระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนเป็นแหล่งอาหาร สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือเป็นอันดีจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนความร่วมมืออย่างเข้มแข็งจากชุมชนที่เกี่ยวข้อง

🎥 คุณคิดว่า ป่าชายเลนมีความสำคัญอย่างไร มาร่วมค้นหาคำตอบได้จากคลิปสารคดีสั้นนี้ได้เลย

===
10th of May is Thailand's National Mangrove Forest Day 🌱💦

United Nations Development Program (UNDP) in partnership with the Department of Marine and Coastal Resources, Blue Carbon Society and the Biodiversity Finance Initiative (BIOFIN) Thailand established a 3-year project of “Sustainable Mangrove Management and Coastal Ecosystem Development Project in Phetchaburi Province to support mangrove forest area as a pilot area for mangrove forest restoration. This includes the development of financial mechanisms for managing mangrove forest ecosystems and improving the quality of life of communities in the mangrove forest in Phetchaburi in collaboration with the public and private sectors, as well as other UN agencies.

🎥 Watch this video to find out more the importance of mangrove and its ecosystem.
วันนี้ 2 กุมภาพันธ์ #วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก2564 🌿🌏💦

ป่าพรุคิดเป็นพื้นที่ 7.5% ของประเทศไทย แต่มีบทบาทสำคัญในการดูดซับคาร์บอนและเป็นทรัพยากรในการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่ มาร่วมทำความรู้จักพื้นที่ชุ่มน้ำและป่าพรุในประเทศไทยไปพร้อมกับ มิวกลัฟ กันเถอะ!

===

Today, 2nd of February marks ! 🌿🌏💦

covers only 7.5% of Thailand, but act as a carbon sink and provide source of livelihood for the surrounding communities. Let’s learn more about the wetlands and peat swamps with local celebrities, Mew and Gulf!

Watch full video ➡️ https://bit.ly/2YBhDuY
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Global Environment Facility Thailand Youth Biodiversity Network
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง The Ramsar Convention on Wetlands Thailand Environment Institute Foundation : TEI Blue Carbon Society Thai Wetlands Foundation Biofin Thailand ASEAN Centre for Biodiversity มิว ศุภศิษฏ์ - Mew Suppasit FC Gulf Kanawut Fc Thailand
โครงการจัดเก็บขยะและรีไซเคิลขยะพลาสติกในคลองลาดพร้าว ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง "มูลนิธิ TerraCycle Thai" และ "สมาคม Blue Carbon Society" นอกจากจะพัฒนาระบบการจัดเก็บขยะในคลองให้ดียิ่งขึ้น ใช้นวัตกรรมใหม่ๆในการรีไซเคิลขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ โครงการนี้ยังจะเป็นโครงการต้นแบบ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้คลองอื่นๆ หันมาร่วมมือกัน เพื่อคืนความใสสะอาดให้แม่น้ำลำคลองปกป้องท้องทะเล

#พารู้พารวย
ทุกวัน เสาร์-อาทิตย์ เวลา 13.00-13.30 น.

https://www.facebook.com/pharoopharuay
TerraCycle Thai Foundation
Blue Carbon Society
#บลูคาร์บอนโซไซตี้
พบกับความร่วมมือของ 2 หน่วยงานเอกชนอย่าง "มูลนิธิ TerraCycle Thai" และ "สมาคม Blue Carbon Society" จับมือกันสร้างโครงการดีๆ ในการกำจัดขยะพลาสติกในคลองลาดพร้าว เพื่อคืนความใสสะอาดให้กับแม่น้ำลำคลอง

#พารู้พารวย
ทุกวัน เสาร์-อาทิตย์ เวลา 13.00-13.30 น.

https://www.facebook.com/pharoopharuay

TerraCycle Thai Foundation
Blue Carbon Society
#บลูคาร์บอนโซไซตี้

Friends of BCS work hand in hand to conserve and restore natural habitats such as mangroves, seagrass

บลูคาร์บอนโซไซตี้ คือสมาคมที่รักษาระบบนิเวศบริเวณชายฝั่ง เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูต้นโกงกาง หญ้าทะเลและลุ่มนํ้าเค็ม ซึ่งจะปกป้องสัตว์ป่าและกักเก็บ 'บลูคาร์บอน' ได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

24/08/2023

[ ]: เพราะโลกของเรามีพื้นที่ส่วนที่เป็นน้ำมากกว่าแผ่นดิน การขยายตัวของสังคมเมืองจึงต้องการพื้นที่ที่มากขึ้นเพื่อตอบรับการอยู่อาศัย การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิต จนต้องสร้าง 'แผ่นดินเทียม' ด้วยการถมทะเล แต่รู้ไหมว่า สิ่งนี้คือจุดเริ่มต้นของวิกฤติในระบบนิเวศชายฝั่งอย่างรุนแรง

จากวารสาร Earth’s Future โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันของสหราชอาณาจักร พบว่าตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โลกของเรามีการถมทะเลให้กลายเป็นแผ่นดินชายฝั่งมากถึง 2,500 ตร.กม. เทียบได้กับขนาดของพระนครศรีอยุธยาทั้งจังหวัดเลยทีเดียว เหตุผลส่วนใหญ่ของการถมทะเลก็เพื่อการสร้างท่าเรือน้ำลึก การสร้างพื้นที่เพื่อการพัฒนาเมือง และพัฒนาด้านอุตสาหกรรม จากการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมทำให้พบว่ามีอัตราการถมที่ดินส่วนมากเกิดขึ้นที่จีน อินโดนีเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็อย่างที่ทะเลเหลืองที่ทะเลหายไปกว่าครึ่งจากการถูกถมทะเลไป รวมถึงการขยายเมืองในเมืองเศรษฐกิจอย่างดูไบ เป็นต้น

ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งถูกเซาะกร่อนไปอย่างถาวรจากการสร้างแผ่นดินเทียม และมันอาจจะไม่ได้คงอยู่อย่างถาวรดังแผ่นดินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพราะมีโอกาสที่จะจมลงจากปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลที่มีระดับสูงขึ้นทุกขณะ อันเป็นผลมาจากภาวะโลกรวน ขณะเดียวกันการถมทะเลก็เท่ากับหายนะครั้งใหญ่ สิ่งมีชีวิตขาดที่อยู่ เกิดการอพยพย้ายถิ่น ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่โยงมาจนถึงมนุษย์ที่ต้องสูญเสียทรัพยากรทางทะเลเหล่านั้นเพื่อยังชีพไปอย่างถาวร และยากที่จะเรียกคืนกลับมา

อ้างอิงข้อมูลจาก: theguardian.com, BBC

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#แผ่นดินเทียม #ถมทะเล #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

[ ]: Our planet has more water than land surface and growing cities need space for homes and economic development. But reclaimed land has brought a serious crisis for coastal ecosystems.

Researchers from the University of Southampton in the UK found that since 2000 the world has reclaimed 2,500 square kilometers of coast land, comparable to the entire province of Phra Nakhon Si Ayutthaya. Land is reclaimed to build ports and create space for urban and industrial development. Satellite images show most land reclamation is in China, Indonesia, and the United Arab Emirates. An obvious example is the Yellow Sea.

Marine and coastal ecosystems are permanently damaged by land reclamation. But the new land may sink as water levels rise. Land reclamation can be a catastrophe that leads back to us by damaging the marine resources we rely on.

Reference information from: .theguardian.com, BBC

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

22/08/2023

[ ]: ทะเลสีเขียวมัทฉะเข้มๆ ที่เรียกว่า 'แพลงก์ตอนบลูม' ดูเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจของนักท่องเที่ยวไม่น้อยในช่วงที่ผ่านมา แม้กลิ่นจะไม่น่าสูดดมเท่าไอทะเล แต่ก็ทำให้คนรู้จักปรากฏการณ์นี้มากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเลนี้ไม่ได้เกิดขึ้นประเทศไทยเพียงที่เดียวเท่านั้น แต่เกิดกับประเทศในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลก ที่กำลังเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มขึ้นเรื่อยๆ อันมีสาเหตุหลักมาจากภาวะโลกร้อน ที่ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลอุ่นขึ้นมากกว่าเดิม ปรากฏการณ์ที่ไม่ค่อยมีใครเคยเห็นจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหลายสถานที่มากขึ้น นักสมุทรศาสตร์จากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่าไฟโตแพลงก์ตอน หรือสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วในมหาสมุทรนั้น กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นย่างรวดร็ว ทำให้มีการสังเคราะห์แสงมากขึ้นจนทะเลกลายเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อคลอโรฟิลด์บนผิวน้ำมีมากขึ้นจากการสังเคราะห์แสง แดดก็ส่องลงไปยังด้านล่างไม่ได้มากนัก พืชน้ำบริเวณนั้นจะไม่มีออกซิเจนเพียงพอต่อการดำรงชีพเหมือนปกติ ขณะเดียวกัน ไฟโตแพลงก์ตอนก็แย่งใช้ออกซิเจนมากขึ้นไปด้วยแทนที่จะช่วยเพิ่มออกซิเจนย่างที่เคยเป็น

ปัจจุบันทะเลสีเขียวเริ่มขยายพื้นที่มากขึ้นไปจนเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่า อุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นมีผลทั้งการเติบโตของแพลงก์ตอน และมีผลต่อการหายไปของสิ่งมีชีวิตทางทะเลจำนวนมหาศาล น้ำสะอาดคือสิ่งสำคัญที่หล่อเลี้ยงทุกชีวิตบนโลกนี้ ไม่ว่าจะเกิดความผิดปกติกับน้ำ ณ จุดใดของโลก จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ตราบที่เรายังต้องการใช้น้ำตลอดชั่วชีวิตของเรา

อ้างอิงที่มาจาก: BBC, thaipbs

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#แพลงก์ตอนบลูม #ทะเลเปลี่ยนสี #โลกรวน #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

[ ]: Dark-green plankton blooms are becoming a frequent sight.

This change in sea water doesn’t occur only in Thailand but in tropical countries near the equator. Seas are turning darker and greener because of global warming. The new phenomenon is happening in many more places. Oceanographers from the United States and the United Kingdom found that phytoplankton, tiny creatures in the ocean, are rapidly increasing in number, causing more photosynthesis until the sea turns dark green because of chlorophyll. The sun no longer shines deep into the water. Aquatic plants don’t get enough oxygen for normal existence. Phytoplankton compete for more oxygen instead of adding oxygen as they used to.

Almost half the total ocean area is now green. Global climate change and higher water temperatures boost plankton but kill vast amounts of marine life. Clean water is essential to all life on this planet. Any water anomaly in any part of the world won’t stay far away, as long as we need to use water throughout our lives.

Reference information from: BBC, thaipbs

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

18/08/2023

[ ]: ยิ่งนานวัน จำนวนเต่าทะเลที่ขึ้นวางไข่ก็ยิ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัด

เพราะความสำคัญของประชากรเต่าทะเล มีผลอย่างมากในระบบนิเวศเพื่อรักษาสมดุลของห่วงโซ่อาหาร การลดจำนวนของการวางไข่ก็มาจากหลายสาเหตุ ซึ่งสถานที่วางไข่ก็สำคัญมาก เพราะแม่เต่าก็ล้วนต้องการพื้นที่หรือหาดที่เหมาะสมเพื่อปกป้องไข่เต่าให้เกิดและเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ให้มากที่สุดตามสัญชาตญาณนั่นเอง

สถิติการวางไข่ของเต่าทะเลนั้น แม่เต่า 1 ตัวอาจจะมีไข่ถึง 1,000 ฟอง และจะวางไข่ทุกช่วงสัปดาห์จนกว่าจะหมดท้อง ทำให้ขึ้นมาวางไข่เฉลี่ยต่อตัว 3-8 ครั้งทีเดียว แล้วจะกลับมาวางไข่อีกครั้ง ในระยะ 2-4 ปี มีเพียงเต่าหัวค้อนที่แทบไม่เคยมีบันทึกว่าพบการวางไข่ในประเทศไทยในช่วงระยะเวลาปัจจุบัน แม้ในอดีตอาจจะเคยมี แต่ก็นานมากทีเดียว ผิดกับเต่าตนุ เต่ามะเฟือง เต่ากระ และเต่าหญ้าที่ยังมีให้พบการวางไข่อยู่บ้างเป็นระยะในฝั่งอันดามัน และพบการวางไข่ของเต่ากระ และเต่าตนุในฝั่งอ่าวไทย ซึ่งเต่าทะเลที่พบวางไข่มากที่สุดคือเต่าตนุ รองลงมาเป็นเต่ากระ พวกมันเลือกวางไข่ตามชายหาดของเกาะต่างๆ

จากการรวบรวมสถิติพบว่า แหล่งที่เต่าทะเลมักไปวางไข่อยู่ 2 จังหวัดคือพังงา และภูเก็ต ส่วนทางฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ ชลบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ส่วนใหญ่แล้วแม่เต่ามักเลือกชายหาดที่เงียบสงบ ไร้การรบกวนจากกิจกรรม แสง สี เสียง มีหาดที่สะอาด ไร้ขยะมลพิษ ดังนั้นการวางไข่ของเต่าทะเลแต่ละครั้งจึงสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของหาด ได้เป็นอย่างดี ทำให้เราต้องใส่ใจในเรื่องความสะอาด และลดมลพิษทางทะเลให้ได้มากที่สุด ไม่แน่ว่า อนาคตประเทศไทยอาจจะเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเลที่สำคัญของโลกก็ได้

อ้างอิงข้อมูลจาก: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#เต่าทะเล #เต่าวางไข่ #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

[ ]: Fewer and fewer sea turtles lay eggs.

Sea turtle populations have a huge effect on ecosystems and the balance of the food chain. Spawning has fallen for many reasons. Spawning places matter a lot. Mother turtles need a suitable area or beach to protect their eggs according to their instincts.

A mother turtle can have up to 1,000 eggs and will lay eggs every week while she is pregnant. Turtles lay eggs on average 3-8 times and return in 2-4 years. Unlike green turtles, leatherback turtles, hawksbill turtles, and grass turtles still occasionally lay eggs in the Andaman Sea. Hawksbill and green turtle nests are found in the Gulf of Thailand. Green turtles lay the most eggs, followed by hawksbill turtles. They choose to spawn on the beaches of various islands.

Sea turtles usually lay their eggs in 2 provinces: Phang Nga and Phuket and on the Gulf of Thailand, Chonburi and Prachuap Khiri Khan. Turtles generally choose a quiet beach with no disturbance from activities, lights, colors, and sounds. They like clean beaches without pollution. Each nest reflects the beach so we should pay attention to cleanliness and reduce marine pollution as much as possible. Thailand may become the world's most important nesting ground for sea turtles.

Reference information from: Department of Marine and Coastal Resources

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

17/08/2023

[ ]: บทเรียนสำคัญให้กับเราเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อเราต้องสูญเสีย “น้องมาเรียม” พะยูนน้อยขวัญใจคนไทย แห่งเกาะลิบง จ.ตรัง จากการอุดตันของลำไส้เล็กด้วย “ขยะพลาสติก”

17 สิงหาคมของทุกปีจึงถูกกำหนดให้เป็น 'วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ' เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการดูแลพะยูน และเพิ่มจำนวนพะยูนในไทย ภายใต้ “มาเรียมโปรเจค” ซึ่งผลความสำเร็จสามารถเพิ่มจำนวนประชากรพะยูนในธรรมชาติจาก 250 เป็น 273 ตัวในปี 2565 ที่ผ่านมา โดยพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยพบประมาณ 31 ตัว และพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันพบประมาณ 242 ตัว และในอนาคตตั้งเป้าจะเพิ่มขึ้น 280 ตัวทั่วประเทศ

ซึ่งปัจจุบัน “พะยูน” ได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือไซเตส (CITES) พะยูนได้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ลำดับที่ 86 ของบัญชีไซเตส ซึ่งเป็นสัตว์ที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้น เพื่อการศึกษาวิจัย และเพาะพันธุ์เท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยแหล่งที่พบพะยูนมากที่สุดคือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นบ้านหลังใหญ่ของพะยูนในประเทศไทย โดยมุ่งให้สังคมตื่นตัวในการอนุรักษ์ทะเล ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลดการใช้พลาสติกเป็นวงกว้างอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#มาเรียม #พะยูน #วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

[ ]: Marine and coastal conservation hit the headlines when "Mariam", a popular little dugong from Koh Libong in Trang, died from eating plastic waste.

“National Dugong Conservation Day” is now held on 17 August to remind us to take care of dugongs. The "Mariam Project" has succeeded in increasing the population of dugongs in the wild to 273 in 2022, with about 31 in the Gulf of Thailand and coastal areas and 242 in the Andaman Islands. The project aims to have 280 nationally.

Dugongs are protected under the Wildlife Preservation and Protection Act of 2019 and the Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES). They are listed on CITES List No. 1, No. 86. so cannot be traded except for research and breeding. Thailand’s top location for dugongs is Mu Ko Libong Non-Hunting Area in Trang. This home for dugongs also helps warn society about marine conservation and plastic pollution.

Reference: Department of Marine and Coastal Resources

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

Photos from Blue Carbon Society's post 15/08/2023

สมาคมบลูคาร์บอน โซไซตี้ จัดกิจกรรม Young Blue Trip ให้กับเยาวชนในพื้นที่ชุมชนบางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ได้ไปเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านประสบการณ์จริงที่ชุมชนแหลมผักเบี้ยและชุมชนหาดเจ้าสำราญ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆ กลับไปริเริ่มโครงการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องในโครงการ “คนเล็กคิดใหญ่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยได้รับเกียรติจาก คุณไทย พุพันธุ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย และ คุณข้อดี้เยาะ พรชัย (ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและประสานงานเครือข่ายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 3 จังหวัดเพชรบุรี มาเปิดกิจกรรม และมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ จังหวัดเพชรบุรี และ ทีมงานจาก Rangers by MQDC มาให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ อีกด้วย

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ
https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

14/08/2023

[ ]: รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลมี 'คอตตอนบัดพลาสติก' ที่ถูกทิ้งแบบไร้การจัดการอย่างถูกวิธีปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละวันมีการใช้คอตตอนบัดรวมอยู่ไม่ต่ำกว่าวันละ 1.5 พันล้านชิ้นทั่วโลก!

ด้วยขนาดและรูปร่างที่เล็กเรียว จึงไม่สะดวกที่จะถูกรวบรวมไปรีไซเคิลมากนัก เมื่อหลุดรอดไปจากการกำจัด มันจึงไปสะสมเป็นขยะพลาสติกที่อาจจะไหลลงสู่แหล่งน้ำและกลายเป็นไมโครพลาสติกที่สร้างบาดแผลแก่สิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างมหันต์ ที่สำคัญคอตตอนบัด เป็นขยะมหาศาลติด 1 ใน 10 ขยะที่พบเจอบ่อยที่สุดในชายหาดอีกด้วย

ดังนั้นคอตตอนบัดแบบย่อยสลายได้ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ ก็อาจจะเป็นทางเลือกของใครหลายๆ คนที่อยากอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และต้องการมีส่วนช่วยลดจำนวนคอตตอนบัดจากขยะพลาสติกที่มีปริมาณมหาศาลได้ ไม่ว่าจะเป็นคอตตอนบัดก้านไม้ หรือคอตตอนบัดแบบซิลิโคนที่ล้างทำความสะอาดได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีนวัตกรรมใหม่ๆ ผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยลดปริมาณขยะ แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนอย่างแท้จริงได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการถูกเลือกใช้เพียงอย่างเดียว แต่กลับเป็นพฤติกรรมการใช้ของเราเป็นหลัก ที่ต้องตระหนักในการเลือกใช้และนำมาใช้อย่างรู้คุณค่า ที่สำคัญสามารถนำมากำจัดได้ย่างถูกวิธีด้วยนั่นเอง

อ้างอิงข้อมูลจาก: Marine Conservative Socitey, Environman

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety
#คอตตอนบัด #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

[ ]: Plastic cotton buds add a lot to plastic waste because they’re discarded in huge numbers. Each day, 1.5 billion cotton buds are used worldwide!

Their small size and shape make them hard to recycle. They end up instead as plastic waste that can end up in the water and become microplastics, seriously harming marine life. Cotton buds are among the 10 most common types of garbage on beaches.

Use biodegradable cotton buds if you want to conserve the environment. Washable silicone cotton buds are among new innovations to reduce waste. But conserving the environment is mainly about our behavior. We must be aware of our choices to eliminate waste.

Reference: Marine Conservative Socitey, Environman

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

11/08/2023

ทรงพระเจริญ

11/08/2023

[ ]: คุณเคยสังเกตไหมว่าหอยครางนั้นคล้ายหอยแครงมากทีเดียว แต่มันก็ไม่ใช่หอยแครง วันนี้เราเลยจะมานำเสนอเรื่องของหอยสองชนิดที่คล้ายกันอย่างกับแฝด ให้ได้รู้จักพวกมันได้มากขึ้นกัน

ปกติแล้วหอยครางนั้น เรียกอีกชื่อว่าหอยขลุ่ย รูปร่างคล้ายหอยแครง เป็นหอยเปลือกคู่เหมือนกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีลายที่เปลือกถี่ นับได้ประมาณ 40แถว สังเกตตามเปลือกจะมีขนเส้นเล็กๆ ตามร่องเปลือกหอย มีสันคมด้านบนเปลือกที่มีความคม เมื่อเอานิ้วลูบจะรู้สึกเจ็บ กินอาหารด้วยการกรองแพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ รวมถึงซากพืชและซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย พบเจอได้ตามแนวปะการังที่ค่อนข้างลึกประมาณ 5–6 เมตร ปัจจุบันยังเพาะเลี้ยงไม่ได้ พบในแถบจังหวัดตราด,เพชรบุรี, ภูเก็ต, สงขลา นิยมนำไปลวกนำเนื้อหอยมาขาย และเรียกว่าหอยแครงน้ำลึก ซึ่งมีเนื้อสัมผัสที่เหนียวกว่าหอยแครง

ส่วนหอยแครงนั้น เป็นหอยเปลือกคู่ แต่มีขนาดเล็กกว่าหอยคราง เปลือกลายห่าง นับได้ราวๆ 20 แถว อาศัยอยู่ตามดินโคลน หอยแครงจะไม่มีสันคมด้านบนเปลือก ถ้าเอานิ้วลูบจะรู้สึกว่าทู่ๆ มนๆ ที่พบส่วนมากในแถบจังหวัดชลบุรี, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, ปัตตานี เปลือกผิวเรียบและไม่มีขน รูปร่างคล้ายหัวใจ ยาวรี เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันแทบไม่เพียงพอต่อการบริโภค เนื่องจากมลพิษในน้ำที่มากขึ้น มีสารปนเปื้อนมาจากกิจกรรมต้นน้ำ ทำให้การทำฟาร์มหอยแครงได้ผลผลิตที่ลดน้อยลง และทำให้เกิดการนำหอยชนิดอื่นเข้ามาทดแทนเช่น หอยคราง ที่นำมาขายเราอย่างที่เราอาจจะเคยพบในการนำมาเป็นวัตถุดิบปรุงอาหารนั่นเอง

อ้างอิงข้อมูลจาก: postjung, wikipedia

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#หอยแครง #หอยคราง #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

[ ]: “Scapharca inaequivalvis” and “blood cockles” look almost the same but there are ways to tell these shellfish apart.

“Scapharca inaequivalvis” is larger. It has lots of stripes on its shell, about 40 rows. Small hairs grow along the shell groove. The shell has a sharp edge that can hurt your fingers. These shellfish filter phytoplankton and zooplankton plant and animal remains. They live in coral reefs that are quite deep, about 5-6 meters, in the provinces of Trat, Phetchaburi, Phuket, Songkhla. They are boiled and sold as deepwater cockle. But their flesh is tougher than that of the blood cockle.

Blood cockles have about 20 rows of stripes on their shells. They live in mud. There’s no sharp ridge on the top of the shell, which feels blunt and rounded. They’re mostly found in the provinces of Chonburi, Phetchaburi, Surat Thani, Pattani. The skin is smooth and hairless. They are farmed but water pollution has reduced their numbers sharply. Contaminants from upstream activities damage blood cockle farms, reducing output. Other types of shellfish are replacing them, such as “Scapharca inaequivalvis”.

Reference: postjung, wikipedia

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

08/08/2023

กิจกรรม Young Blue Trip กับน้องๆในพื้นที่บางตะบูน

03/08/2023

[ ]: นับเป็นข่าวร้ายรับกลางปีทีเดียว เมื่อกระแสน้ำหลักของโลกอย่าง กระแสน้ำอุ่น Gulf Stream กำลังอ่อนแรงจนถึงขั้นอาจปิดตัวลงอย่างเร็วที่สุดก็ช่วงปี 2025 ที่จะถึงนี้

ด้วยความแตกต่างด้านอุณหภูมิ และความหนาแน่นของน้ำส่งผลให้เกิดการไหลเวียนหรือการเข้าแทนที่ของกระแสน้ำตามธรรมชาติทำหน้าที่คล้ายสายพานลำเลียงน้ำอุ่นจากเขตร้อน ถ่ายเทไปเขตหนาว อันเป็นการทำงานของกระแสน้ำอุ่น Gulf Stream ที่ไหลเวียนไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งจะละลายกลายเป็นน้ำจืดที่ลดความหนาแน่นของน้ำลงไปด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร และมีอิทธิพลต่ออุณหภูมิและสภาพภูมิอากาศบนพื้นโลกอย่างมาก หากกระแสน้ำอุ่น Gulf Stream หยุดไหลเวียนเพราะน้ำที่อุณหภูมิสูงขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของสภาพอากาศอย่างรุนแรงในที่สุด

สัญญาณเตือนภัยที่กิดขึ้นเสมอๆ ในรูปแบบภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ ทำให้แม้นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่ากระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม อาจปิดตัวลงหรือล่มสลายอย่างเร็วที่สุดในปี 2025 และไม่เกินปี 2090 ที่กระแสน้ำอุ่นนี้จะหยุดไหลเวียนอย่างถาวร ซึ่งการปล่อยมลพิษลงสู่มหาสมุทร และวิกฤตโลกรวนจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แก้ไม่ตก เป็นเหมือนตัวเร่งปฏิกิริยาให้กระแสน้ำอุ่น Gulf Stream ล่มสลายเร็วขึ้นทุกขณะ

อ้างอิงข้อมูลจาก: pptvhd36

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

[ ]: There’s bad news that the world's main current, the Gulf Stream, is weakening to the point of shutting down as early as 2025.

The difference in temperature and density of the water causes natural circulation, acting like a conveyor belt of warm water from the tropics to cold regions. The Gulf Stream flows into the north Atlantic, where ice melts and turn into fresh water with lower density. Ocean currents greatly influence the temperature and climate on Earth. If the Gulf Stream stops due to rising water temperatures, extreme climate variability will result.

There are already warning signs in the form of increasingly severe natural disasters. Scientists predict the Gulf Stream could shut down or collapse as early as 2025 and no later than 2090 because of global carbon dioxide emissions.

Reference: pptvhd36

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

27/07/2023

[ ]: ภายใต้ท้องมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ ก็มีจุดที่ลึกที่สุดของโลกอยู่ด้วย นั่นคือ 'มาเรียนา เทรนช์' แต่ความลึกของสถานที่นี้ก็ไม่ได้ไกลไปกว่าการที่พบว่า 'ขยะพลาสติก' เดินทางไปถึงจุดที่ลึกที่สุดของโลกเรียบร้อยแล้ว

การพบนี้เกิดจากการสำรวจใต้น้ำเจ้าของสถิติอันดับ 1 ที่สำรวจได้ลึกถึง 10,994 เมตรเมื่อเดือน พ.ค. 2562 โดย Victor Vescovo นักสำรวจใต้ทะเลชาวอเมริกัน ด้วยยานสำรวจน้ำลึก DSV Limiting Factor ที่ออกแบบมาเพื่อให้ทนต่อแรงดันน้ำใต้สมุทรโดยเฉพาะ การสำรวจนี้ทำให้เขาพบขยะพลาสติกและพลาสติกห่อขนมในจุดที่ต่ำที่สุดของเปลือกโลก ในกลุ่มหมู่เกาะมาเรียนา มหาสมุทรแปซิฟิก

การที่พบว่าพลาสติกกลายเป็นสิ่งที่คุกคามชีวิตใต้ทะเลกว้างไกลขึ้นก็ทำให้เกิดซึ่งในต่ละปีมีการประเมินถึงสถานการณ์ขยะพลาสติกในทะเลว่าเป็นภัยคุกตามต่อระบบนิเวศที่จะวนเวียนเป็นวัฏจักร และกลับมาสร้างปัญหาแก่มนุษย์ผู้สร้างขยะเหล่านั้นในที่สุด

อ้างอิงข้อมูลจาก: BBC

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#สำรวจ #ขยะพลาสติก #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

Under the vast ocean, the deepest point in the world is the Mariana Trench, but even here’s not safe from plastic waste...

The discovery was made in May 2019 by the record-breaking expedition down to 10,994 meters by US underwater explorer Victor Vescovo. The DSV Limiting Factor deepwater explorer found plastic waste and candy wrappers at the bottom of the Pacific Ocean.

Plastic is now a threat to marine life far and wide and will come back to cause problems for the people who create it too.

Reference: BBC

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

26/07/2023

[ ]: สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่นั้นตามปกติแล้ว สมองมักอยู่ที่ 'ส่วนหัว' แทบจะ 100% แต่ก็มี ' #หมึกยักษ์' ที่มีสมองอยู่ในจุดที่ผิดแผกไปจากเพื่อนร่วมโลกโดยสิ้นเชิง

อย่างที่รู้กันว่า 'หมึกยักษ์' นั้นมีความฉลาดมาก มีความจำทั้งระยะสั้น และระยะยาว หมึกยักษ์มีเซลล์สมองประมาณ 500 ล้านเซลล์ที่เทียบเท่ากับสมองสุนัขเลยทีเดียว ขณะที่มนุษย์มีสมองอยู่ประมาณ 1,000 ล้านเซลล์ ซึ่งสมองหมึกยักษ์นั้นมีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่บริเวณส่วนหัว 30% ไปอยู่ส่วนตา และอีก 60% หรือเกินครึ่งของเซลล์สมองทั้งหมด ถูกกระจายไปอยู่ตามหนวดทั้ง 8 ของพวกมันแทนส่วนบนหัวเพียงที่เดียว จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้สมองแต่ละส่วนสามารถทำงานแยกออกจากกันได้ หนวดแต่ละหนวดมีความคิดของตัวเองและทำงานภายใต้ร่างกายเดียวกันแต่ควบคุมได้อิสระจากสมองส่วนอื่น

นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่ส่งทักษะความสามารถในการดำรงชีวิตให้แก่พวกมันอย่างน่าทึ่ง ที่ไม่แน่ว่าสัญชาติญาณการเอาตัวรอดเช่นนี้เอง ทำให้มันมีเผ่าพันธุ์ดำรงชีวิตมาได้ในท้องทะเลอย่างยาวนานกว่า 600 ล้านปีมาแล้ว

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก: BBC, The Matter

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#หมึกยักษ์ #สมองหมึกยักษ์ #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

[ ]: Almost all creatures have their brains is their heads. But the is completely different.

Octopuses are super smart. They have short- and long-term memories and about 500 million brain cells, similar to dogs. Humans have about 1 billion brain cells. But only 10% of the octopus's brain is in the head, with 30% are in the eyes and 60% in the te****les. Each part of the brain can work separately. Each te****le works within the same body but is controlled independently.

The octopus is a miracle of nature. Its amazing life skills have kept it in the seas for over 600 million years.

Based on some information from: BBC, The Matter

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

21/07/2023

[BluePollution]: เรือเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์ลำแรกของไทย หรือ Interceptor เสร็จแล้ว 95% เตรียมกำจัดขยะจากแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนไหลลงสู่ทะเล

ไม่ไกลเกินรอแล้วกับเรือดักเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Interceptor ลำแรกของไทย ที่จะนำมาใช้จริงเป็นประเทศที่ 5 ของโลก โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และ The Ocean Cleanup องค์กรสิ่งแวดล้อมด้านวิศวกรรมที่ไม่แสวงหาผลกำไรสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ที่มอบเรือลำนี้มาให้ ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ในขั้นตอนการต่อเรือ ณ อู่ต่อเรือ บริษัทเอเชียนมารีน จ.สมุทรปราการนี่เอง

เรือลำนี้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เท่านั้น กระบวนการเก็บคือจะดักเก็บขยะที่ลอยมาตามน้ำ ลำเลียงขยะขึ้นมาพักในถังบนเรือ ก็จะทิ้งลงถังที่ติดอยู่กับเรือ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะใช้เรือลากจูงมาดึงถังขยะออกจากเรือ Interceptor และนำขยะไปขึ้นฝั่งเพื่อกำจัดตามกระบวนการจัดการขยะของ กทม.ต่อไป วิธีนี้จึงช่วยเก็บขยะได้บริเวณใกล้ปากอ่าวก่อนที่จะลงสู่ทะเลอย่างได้ผล ซึ่งคาดว่าพร้อมใช้งานประมาณเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ บริเวณเชิงสะพานพระรามที่ 9 ก่อน เพราะแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณขยะไหลลงทะเลมากที่สุดของไทย โดยมีแผนทดสอบการใช้งาน 6 เดือนหลังส่งมอบ ซึ่งเรือลำนี้สามารถเก็บขยะเฉลี่ยสูงสุดถึงวันละ 50 ตัน ขึ้นอยู่กับปริมาณขยะในพื้นที่อีกด้วย

อ้างอิงจาก: ch7, thaipbs

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#เรือเก็บขยะ #พลังงานแสงอาทิตย์ #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้
[BluePollution]: Thailand's first solar-powered garbage collector or “Interceptor” is now 95% complete for cleaning the Chao Phraya River before its water flows into the sea.

Thailand will become the 5th country to use the “Interceptor” through a collaboration between the Department of Marine and Coastal Resources (DMCR) and Ocean Cleanup, a Dutch non-profit environmental engineering organization. The ship is currently under construction in a shipyard of Asian Marine Company in Samut Prakan.

The “Interceptor” is powered solely by solar energy. The ships traps garbage as it floats downstream and gathers it in a bin. Staff will use a tow boat to pull the trash ashore for disposal according to the waste management process of the Bangkok Metropolitan Administration. The ship is expected to be ready for use around August, initially near the Rama IX Bridge. The Chao Phraya has the highest amount of garbage flowing into the sea in Thailand. There is a test plan for 6 months after delivery. This boat can collect up to 50 tons of waste on average per day, also depending on trash in the water.

Reference: ch7, thaipbs

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

19/07/2023

[ ]: แม้พลาสติกส่วนใหญ่ จะผลิตออกมาให้ใช้งานและรองรับการรีไซเคิลได้มากขึ้นแล้ว แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า #หลอดพลาสติก จัดอยู่ในประเภทพลาติกรีไซเคิลหรือไม่?

หลอดมักทำจากพลาสติกประเภท 5 หรือโพลีโพรพีลีน (Polypropylene : PP) แม้จะเป็นพลาสติกประเภท 5 ที่สามารถรีไซเคิลได้แต่ปัญหาคือเครื่องรีไซเคิลส่วนใหญ่ไม่รองรับพลาสติกที่มีขนาดเล็กอย่างหลอด อีกทั้งการรีไซเคิลหลอดนั้นมีต้นทุนที่สูง จึงตอบคำถามด้านบนได้ว่า หลอดพลาสติกจึงรีไซเคิลได้ แต่ไม่นิยมรีไซเคิลนั่นเอง

ทุกครั้งที่เราใช้งานหลอดพลาสติกไม่ถึง 20 นาที แต่มันกลับใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 200 ปีทีเดียว! ขณะที่หลอดกระดาษ ที่ใช้เวลาย่อยสลายได้เร็วกว่า 1,740 เท่า หรือเพียง 2 ถึง 6 สัปดาห์เท่านั้น

มีสถิติขยะที่ได้จากการทำความสะอาดชายหาดบ่งชี้ว่า ขยะหลอดพลาสติกรวมถึงที่คนเครื่องดื่มมีจำนวนถึง 80,730 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 5.21 ของขยะทะเลที่พบ อยู่ในลำดับที่ 10 ของขยะที่พบทั้งหมด ซึ่งเมื่อหลอดพลาสติกถูกย่อยสลายจะกลายเป็นไมโครพลาสติกก็ยิ่งเป็นอันตรายที่สามารถเคลื่อนย้ายผ่านห่วงโซ่อาหารกลับมาสู่คนได้อย่างง่ายดาย

ทั้งนี้ ปัญหาขยะจากหลอดพลาสติกกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของการจัดการขยะทั่วโลก หากถูกลมและฝนพัดพาลงสู่ทะเล และแม่น้ำลำคลอง ขยะเหล่านี้ก็จะไหลลงไปกองรวมกันอยู่ในมหาสมุทร ส่งผลให้เต่า โลมา หรือสัตว์น้ำอื่นๆ กินเข้าไปจนเกิดอันตราย รวมทั้ง พลาสติกที่ปะปนอยู่ในระบบนิเวศทางทะเลจะละลายไมโครพลาสติกออกมาจนอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำและมนุษย์ที่บริโภคสัตว์น้ำนั้นได้ หากทุกคนเริ่มต้นด้วยการไม่ใช้หลอดพลาสติก และหาหลอดทดแทนที่ใช้ซ้ำได้ทีละเล็กทีละน้อย ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้คุณมีส่วนร่วมในการช่วยโลกของเราได้อย่างยั่งยืน

อ้างอิงข้อมูลจาก: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา [sciplanet.org]

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

มารู้จักเราให้มากขึ้น: www.bluecarbonsociety.org และ https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

#หลอดพลาสติก #บลูคาร์บอน #บลูคาร์บอนโซไซตี้

[ ]: Plastic will become more usable and recyclable but can straws be recycled?

Straws are usually made of type 5 plastic or polypropylene (PP). Type 5 plastic that can theoretically be recycled, but most recycling machines don’t accept small plastics like straws.

When we use a plastic straw for less than 20 minutes, we’re creating waste that will last 200 years! Paper straws decompose 1,740 times faster in only 2 to 6 weeks.

Beach cleanups have found 80,730 plastic straws, accounted for 5.21% of marine debris. Plastic straws break down into microplastics, which are even more dangerous and can easily travel through the food chain back to humans.

Plastic straws are becoming a big problem in waste management around the world. Carried to rivers and then the sea by wind and rain, they can kill turtles, dolphins, and other aquatic animals. Microplastics can also harm humans who consume them. If we stop using plastic straws and find reusable replacements, we can help our planet survive.

Reference: Department of Marine and Coastal Resources, Sciplanet

Become part of conserving marine and coastal resources with Blue Carbon Society.

More information: www.bluecarbonsociety.org and https://www.instagram.com/bluecarbonsociety

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

Our Story

Blue Carbon Society (BCS) was co-founded by Mrs. Thippaporn and Dr. Jwanwat Ahriyavraromp as a community of friends who wish to protect and conserve ‘blue carbon’ ecosystems that help counter climate change.

Friends of BCS work hand in hand to conserve and restore natural habitats such as mangroves, seagrass meadows, and salt marshes in order to grow ‘forests in the sea’ that provide a global ‘carbon sink’.

These enriched habitats will help protect wildlife as the foundation for the sustainable development of marine and coastal environments.

Vision

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

วิสาหกิจชุมชนเปลี่ยนขยะให้เป็นประโยชน์
National Mangrove Forest Day
'เคย' เป็นกุ้งใช่หรือเปล่า?
วันป่าชุมชนชายเลนไทย
แรมซาร์ไซต์ พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญระดับโลก : Ramsar Site
วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ
International Day for the Conservation of the Mangrove Ecosystem
Seagrass is the best carbon sink.
วันมหาสมุทรโลก
หาดสวยที่หม่นหมอง
ฟังเสียงจากคนในพื้นที่นาจอมเทียน "คุณเสนาะ ทัศนบรรจง"
Merry Christmas & Happy New Year 2021

เว็บไซต์

ที่อยู่


695 หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Bangkok
10540

Bangkok องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอื่นๆ (แสดงผลทั้งหมด)
The Rotary Club of Bangkok South The Rotary Club of Bangkok South
The Crowne Plaza Bangkok Lumpini Park Hotel, Lower Ground Floor, 952 Rama IV Road
Bangkok, 10500

Give a little, change a lot... With help of sponsors and donations, we have funded and installed ove

The JUMP Foundation The JUMP Foundation
1/5-1/6, Soi Ari 2, Phahonyothin Road Samsen Nai, Phayathai , กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10200

The JUMP! Foundation is a non-profit organization that believes in inspiring, empowering, and engagin

Love Wildlife Love Wildlife
77 Nakornsawan Road Wat Sommanat, Pomprap Sattruphai
Bangkok, 10100

Love Wildlife is a Thai non-profit organization dedicated to protecting southeast Asian wildlife thro

Imagine Thailand Imagine Thailand
195 Soi Udomsuk 37 Sukhumvit Road
Bangkok, 10261

We believe in the capacity of youth, university students and skilled professionals to create a new f

Guidotti Foundation Guidotti Foundation
Bangkok, 10110

Guidotti Foundation is privately funded, strives in assisting people reaching financial independence

มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์
19 ซอยกรุงเทพกรีฑา 8 แยก 16 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
Bangkok, 10240

A tree planting organization that aims to increase no. of trees in Thailand and raise green awareness

ASAswu ชมรมอาสาพัฒนา มศว ASAswu ชมรมอาสาพัฒนา มศว
114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
Bangkok, 10110

เพจประชาสัมพันธ์กิจกรรมของชมรมอาส?

ICA Church, International Christian Assembly - Bangkok ICA Church, International Christian Assembly - Bangkok
Manoonpol Building 2, 2884/1 New Petchaburi Road
Bangkok, 10310

Services 9am (Thai Translation) and 11am Sundays and online service through Facebook live at 11am and

Human Development Forum Foundation Human Development Forum Foundation
BP Place, 5 Paholyothin Soi 18, B. P. Place
Bangkok, 10900

Founded in 2007 HDFF's vision is to the address the needs of communities related to Human Security a

มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิกระจกเงา
เลขที่ 191 ซอย วิภาวดีรังสิต 62 แยก 4-7 แขวง ตลาดบางเขน เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10210

มูลนิธิกระจกเงา เราอาสาเป็นเงาสะท้อนปัญหาของสังคม

Thai - Italian Chamber of Commerce (TICC) Thai - Italian Chamber of Commerce (TICC)
Vanit Building II, 16 Flr. Suite 1601 B, 1126/2 New Petchburi Road
Bangkok, 10400

page of the Thai Italian Chamber of Commerce (TICC)