ACE - Action for Climate Empowerment Thailand

Action for Climate Empowerment Thailand National Focal Point under UNFCCC

18/11/2022
16/11/2022

คำกล่าวโดย นายวราวุธ ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในช่วงการประชุมระดับสูงของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP27)

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์

Photos from ACE - Action for Climate Empowerment Thailand's post 15/11/2022

การประชุมฯ COP27 วันที่ 15 พ.ย. 2565
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) และภาพบรรยากาศใน Thailand Pavilion ภายในงาน COP27 ได้ทางระบบ Zoom Meeting ดังนี้
1. Session 1 : การเสวนาหัวข้อ “Role of Private Sector in Contributing to the Thailand Climate Action” ติดตามรับชมได้ตั้งแต่เวลา 9.00 น.
ตามเวลาประเทศอียิปต์ หรือ 14.00 น. ตามเวลาประเทศไทย
2. Session 2 : การเสวนาหัวข้อ “Business Leaders to Share Vision and Experiences on Net-Zero Transformation” ติดตามรับชมได้ตั้งแต่เวลา 10.30 น. ตามเวลาประเทศอียิปต์ หรือ 15.30 น. ตามเวลาประเทศไทย
3. Session 3 : การเสวนาหัวข้อ “From Ambition to Action Thailand Together to Net Zero” ติดตามรับชมได้ตั้งแต่เวลา 13.00 น.
ตามเวลาประเทศอียิปต์ หรือ 17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย
4. Session 4 : การเสวนาหัวข้อ “Thailand Chapter Net Zero Cement and Concrete Roadmap” ติดตามรับชมได้ตั้งแต่เวลา 14.30 น.
ตามเวลาประเทศอียิปต์ หรือ 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย
และ 5. Session 5 : การเสวนาหัวข้อ “Towards Urban Resilience Developing Global South Cities for Climate Adaptation” ติดตามรับชมได้ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ตามเวลาประเทศอียิปต์ หรือ 21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

15/11/2022

รมว. ทส. เยี่ยมชม Thailand Pavilion สัมภาษณ์ข่าว 3 มิติ และร่วมให้ข้อเสนอแนะเวทีผู้นำเยาวชน พร้อมหารือทวิภาคีไทย – เนเธอร์แลนด์ ในงานประชุมฯ COP27 🌍

13/11/2022

ทส. เปิดเวทีวันสุดท้ายของสัปดาห์ ในงาน COP27 🌍

Photos from ACE - Action for Climate Empowerment Thailand's post 11/11/2022

11 พ.ย. 2565 กับการประชุมฯ COP27 จากประเทศอียิปต์
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) และภาพบรรยากาศใน Thailand Pavilion ภายในงาน COP27 ในวันศุกรที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ได้ทางระบบ Zoom Meeting ดังนี้

- Session 1 : การเสวนาหัวข้อ “Community and Carbon Credit a Synergy between Nature Conservation and Community Empowerment” ติดตามรับชมได้ตั้งแต่เวลา 10.30 น. ตามเวลาประเทศอียิปต์ หรือ 15.30 น. ตามเวลาประเทศไทย

- Session 2 : การเสวนาหัวข้อ “Climate Awareness Climate Education on Environmental Hazards” ติดตามรับชมได้ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ตามเวลาประเทศอียิปต์ หรือ 17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

- Session 3 : การเสวนาหัวข้อ “Climate Justice for Global South” ติดตามรับชมได้ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ตามเวลาประเทศอียิปต์ หรือ 20.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

- Session 4 : การเสวนาหัวข้อ “Egat’s Climate Action Road to Carbon Neutrality” ติดตามรับชมได้ตั้งแต่เวลา 16.30 น. ตามเวลาประเทศอียิปต์ หรือ 21.30 น. ตามเวลาประเทศไทย

Photos from ACE - Action for Climate Empowerment Thailand's post 09/11/2022

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนของการประชุมฯ COP27
พร้อมชมภาพบรรยากาศใน Thailand Pavilion และกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ที่น่าสนใจได้ทาง page
อีกทั้งสามารถเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ภายในงาน COP27 ได้ทางระบบ Zoom Meeting ดังนี้

08/11/2022

Thailand pavilion COP 27 🌏🇪🇬

07/11/2022

การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) สมัยที่ 27” จะเริ่มขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองชาร์ม-เอล-เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์

อ่านต่อได้ที่ : https://actionforclimate.deqp.go.th/news/4653/

24/08/2022

“รางวัลหน่วยงานต้นแบบฯ ระดับแพลทินัม
เกิดจากการมีส่วนร่วมและมุ่งมั่นในการจัดการของทุกภาคส่วน
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขอขอบคุณบุคลากร และทุกๆ ท่าน
ที่มีส่วนร่วมในการผลักดัน ที่เป็นต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอย และสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม”
.
้ชีวิตอย่างชาญฉลาดคืนธรรมชาติสู่สมดุล

23/08/2022

ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อรู้เท่าทันภาวะโลกร้อน
.
ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันยังคงทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ผู้คนทั่วโลกที่กำลังตื่นตัวขณะนี้ต่างหันมา
ให้ความสำคัญ ทั้งเรื่องการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้พลังงานทดแทน เทคโนโลยี อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
.
การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค อุปโภคสินค้าและบริการ การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนการผลิต การคมนาคม การขนส่งและภาคการเกษตร มากไปกว่านั้นการบุกรุกพื้นที่ทางธรรมชาติ การตัดไม้ทำลายป่าล้วนเป็นการลดแหล่งดูดซับคาร์บอนที่สำคัญที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
.
การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถกระทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
.
ทางตรง คือ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมโดยตรง เช่น การคมนาคมและการขนส่ง ซึ่งต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โดยน้ำมัน 1 ลิตร จะปล่อย CO2 2.3 กก.
เลยทีเดียว ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ดูดซับความร้อนในชั้นบรรยากาศที่เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน นอกจากนี้แล้วในการคมนาคมและขนส่งยังได้ปลดปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและอนามัยของประชาชน
ทางอ้อม คือ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมที่เราไม่ได้เป็นคนปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง
แต่การกระทำ หรือ พฤติกรรมในกิจกรรมนั้น ๆ ได้ส่งผลทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้ไฟฟ้า เนื่องจากขณะที่เรากำลังใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อให้มีพลังงานไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการใช้งานของเรา ต้องมี
การผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในกระบวนการผลิตไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้วยังคงต้องใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจำพวก น้ำมัน ถ่านหิน และ ก๊าซธรรมชาติ เป็นหลัก นอกจากนี้การบริโภคและอุปโภคสินค้าในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง จำพวกถุงพลาสติก โฟม หลอดเครื่องดื่ม รวมถึงการรับประทานอาหารเหลือทิ้ง เพราะสินค้าและพฤติกรรมในการบริโภคในลักษณะนี้ ล้วนต้องใช้พลังงานและทรัพยากรในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง การจัดจำหน่าย และการนำไปกำจัดหลังการใช้งาน ดังนั้นหากมีการใช้ไฟฟ้า สินค้าและบริการ รวมถึงการมีพฤติกรรมการบริโภคในลักษณะดังกล่าว ล้วนเป็น
ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น
.
การวัดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เรียกการประเมินนี้ว่า “คาร์บอนฟรุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)” โดยทั่วไปแล้วมีการคำนวณออกมาเป็นปริมาณน้ำหนักคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
(หน่วยน้ำหนัก CO2eq) ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้นล้วนอาจมีส่วนทำให้เกิด Carbon Footprint โดยข้อมูลจากคู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม แสดงดังรูปที่ 1 ได้ให้รายละเอียดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
.

หากมีการปรับพฤติกรรมจากเดิมไปบ้างเพียงเล็กน้อย เช่น การเปลี่ยนจากการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลมาเป็นการเดินทางโดยรถไฟฟ้าจะสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 0.0600 CO2eq/ก.ม./คน
.
สุดท้ายนี้ เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราได้
ผ่านการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเหล่านี้ เพื่อชะลอและ/หรือมีส่วนร่วมในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และผลกระทบจาก Climate Change เพื่ออนาคตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
ทุกชีวิตบนโลก
.
.
HiddenChess เขียน

--------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อม ศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565, จาก https://actionforclimate.deqp.go.th/
downloads/2517/

22/08/2022

พลังความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานเพื่อลดโลกร้อน

เป็นเวลากว่าหลายศตวรรษตั้งแต่โลกได้มีวิกฤตสิ่งแวดล้อม (Environmental Crisis) เกิดเป็นปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ และดิน ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทรัพยากรทางธรรมชาติ ความมั่นคงทางอาหารและระบบการผลิต สาเหตุหลักมาจากการพัฒนาทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และกิจกรรม
ต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ไม่มีการป้องกันและควบคุม ขยายเป็นปัญหาให้เกิดการต่อสู้ ขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องให้เกิดการปกป้องและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
.
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้ผู้นำจากนานาประเทศทั่วโลกรวมทั้งผู้ที่มีความห่วงใยสิ่งแวดล้อม
ต่างออกมารวมตัวกันจนเกิดเป็น “การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UN Conference on the Human Environment)” ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน
ค.ศ. 1972
.
ความสำคัญของการประชุมดังกล่าว คือ การที่ผู้นำแต่ละประเทศออกมาร่วมพูดคุย หารือ แสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางร่วมกันในระดับสากล ที่ผู้นำแต่ละประเทศจะต้องนำไปยึดถือปฏิบัติ ออกประกาศแนวทาง กฎหมายและมาตรการในประเทศของตน
.
ภายหลังจากการประชุมดังกล่าวทำให้เกิดความร่วมมือและพัฒนาทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติมาตลอดระยะเวลาหลายปี มีการรายงานผลการปฏิบัติและการติดตามเป็นประจำทุกปี หากประเทศใดที่ได้เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกภาคีแต่ไม่อาจดำเนินการได้เนื่องด้วยข้อจำกัดของต้นทุนและงบประมาณ จะได้รับ
การสนับสนุนจากประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่ร่ำรวยกว่า เพื่อลงทุนหรือดำเนินการทางด้านสิ่งแวดล้อม
.
ตัวอย่างของการสนับสนุนฯ โดยได้รับข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (British Embassy Bangkok) (2564) ดังนี้
นายไบรอัน เดวิดสัน เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยกล่าวว่า
“เราทุกคนต้องลงมือทันทีเพื่อปกป้องโลกไว้ให้คนรุ่นหลัง สหราชอาณาจักรทราบว่าประเทศไทยต้องการ
การสนับสนุนเพิ่มเติมจากนานาชาติในประเด็นนี้ และเราก็ยินดีสนับสนุนเส้นทางของไทยอย่างเต็มที่ ที่ผ่านมาสหราชอาณาจักรได้สนับสนุนเงินทุนแก่โครงการ Thai Rice NAMA เพื่อการปลูกข้าวอย่างยั่งยืนที่รัฐมนตรีวราวุธได้กล่าวถึงในการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหรัฐฯ นอกจากนี้เรายังสนับสนุนประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านมาใช้พลังงานสะอาดและระบบการเงินสีเขียวผ่านโครงการ ASEAN Low Carbon Energy Programme และการสนับสนุนนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าในไทย”

นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยกล่าวว่า
“สหรัฐอเมริกาได้ช่วยเหลือประเทศไทยในการพัฒนาพาวเวอร์กริดและการบูรณาการพลังงานทางเลือกและยานยนต์ไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้นมาตลอด เรายังช่วยประเทศไทยในการพัฒนาเครื่องมือในการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ ภัยแล้งและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ สหรัฐอเมริกาพร้อมที่จะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมาย
ทางสภาพภูมิอากาศ”
.
ความร่วมมือและสนับสนุนนี้เป็นประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมในการลดโลกร้อนเป็นอย่างมาก Thai Rice NAMA เป็นการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งจะช่วยลดการเกิดก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ดูดซับความร้อนในบรรยากาศ ทางด้านยานยนต์ไฟฟ้า นับเป็นพลังงานทางเลือกที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล และลดปัญหามลพิษทางอากาศได้อีกด้วย
.
นอกจากนี้ หากประเทศสมาชิกไม่สามารถปฏิบัติได้ตามเป้าหมายหรือข้อกำหนดร่วมกันกับประเทศสมาชิกอื่นที่ได้ให้คำมั่นไว้แล้ว อาจได้รับผลกระทบตามมาจากการถูกกีดกันทางการค้าหรือขาดการสนับสนุนด้านอื่น ๆ จากประเทศต่าง ๆ ได้
.
ในปัจจุบัน พลังความร่วมมือสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ใช่เพียงในระดับนานาชาติ แต่ยังสามารถร่วมมือกันได้ภายในครัวเรือน ชุมชน อำเภอ จังหวัด ภูมิภาค หน่วยงานต่าง ๆ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ในปัจจุบันมีผู้ห่วงใยและ
ให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงผู้นำเยาวชนที่กำลังขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ACE Youth Camp 2020 และ 2022 โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ค่าย Blue-Net Camp #1 และ #2 โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่กำลังพยายามดำเนินการให้ทุกภาคส่วนได้มีพื้นที่ร่วมกันแสดงความคิดเห็น สื่อสารสู่สังคม ไปสู่การลงมือปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมต่อไป
.
.
HiddenChess เขียน

---------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (British Embassy Bangkok). สหรัฐอเมริกาและสหราช
อาณาจักรยืนยันเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่ท้าทายยิ่งขึ้น พร้อมหนุนไทยให้บรรลุเป้าหมายสภาพ
ภูมิอากาศ (ออนไลน์). สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.gov.uk/government/
news/us-and-uk-stand-ready-to-partner-with-thailand-to-achieve-its-climate-objectives.th

21/08/2022

มลพิษทางน้ำ (Water pollution) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศ แหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรกและสารมลพิษต่างๆทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

21/08/2022

“ควันดำ” คือ อนุภาคของถ่าน หรือคาร์บอน เป็นผงเขม่าเล็ก ๆ ที่เหลือจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นส่วนใหญ่
“ควันขาว” เกิดจากเครื่องยนต์ที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษา เช่น รถจักรยานยนต์เก่า มักมีควันขาว เกิดจากสารไฮโดรคาร์บอนหรือน้ำมัน เชื้อเพลิงที่ยังไม่ถูกเผาไหม้ แล้วถูกปล่อยออกมาทางท่อไอเสีย สารไฮโดรคาร์บอน เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะเกิดปฏิกิริยา สร้างก๊าซโอโซนอันเป็นพิษภัยแรงขึ้น

21/08/2022

เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการช่วยลดโลกร้อน
เป็นเวลากว่าหลายศตวรรษที่มนุษย์ได้มีการคิดค้นและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมและผลักดันให้โลกเข้าสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มาปรับปรุงแก้ไขเทคนิค วิธีการ กระบวนการทำงานเพื่อพัฒนาสู่มนุษย์รุ่นถัดไปอย่างต่อเนื่องมาจวบจนถึงปัจจุบัน
.
เมื่อมีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในไม่ช้าสิ่งเหล่านี้จะถูกปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน ทันสมัย รวมทั้งมีต้นทุนที่ลดลง
.
ในปัจจุบัน “การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance : ESG)” กำลังเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยมุ่งให้เกิดผลกระทบทางบวกใน 3 ประเด็นดังกล่าว ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจลงได้
.
Climate tech start-ups หรือเทคโนโลยีที่จะควบคุมหรือลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังเป็นสิ่งที่ผู้คนในวงการเทคโนโลยีและองค์กรธุรกิจ อาจแบ่งได้เป็น 2 ด้าน ดังนี้
1.ด้านคมนาคมขนส่ง
• รถยนต์ไฟฟ้า นับเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ โดยใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลหรือน้ำมันเชื้อเพลิง
• โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีชั่วโมงที่แสงแดดส่องถึงอย่างยาวนานติดต่อกันหลายชั่วโมง
• นวัตกรรมด้านแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถกักเก็บแบตเตอรี่ได้ยาวนานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
2.ด้านอาหาร การเกษตร และการใช้ที่ดิน
• โปรตีนทางเลือก เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยลดกระบวนการทางด้านปศุสัตว์ ลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน (Methane : CH4)
• การทำฟาร์มแนวตั้งและในเมือง มีประโยชน์ในการเพิ่มพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและการสร้างสภาพแวดล้อมที่สวยงามภายในเมือง
.
ถัดมา จากข้อมูลของ TNN Online (2022) ได้เผยข้อมูลการคาดการณ์มูลค่าเงินลงทุนใน Climate Technology ปี 2021-2025 ดังนี้
• ยานยนต์ไฟฟ้า (Electrification) 700-1,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
• ภาคการเกษตร (Agriculture) 400-600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
• โครงข่ายไฟฟ้า (Power grid) 200-250 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
• เทคโนโลยีไฮโดรเจน (Hydrogen) 100-150 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
• การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (Carbon capture) 10-50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
.
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยลดโลกร้อนในปัจจุบันเป็นที่นิยมและใช้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีต้นทุนที่ลดลง ซึ่งประเด็นเรื่องของต้นทุนยังคงมีความสัมพันธ์ต่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทั้งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ “ถ้าหากต้นทุนมีราคาลดลง ความต้องการและการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น”
.
สำหรับในประเทศไทย การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีในการช่วยลดโลกร้อนที่มีความโดดเด่นทั้งมีต้นทุนลดลงกว่าช่วงเริ่มต้นถึงกว่า 90% อีกทั้งศักยภาพของประเทศไทยทั้งสภาพอากาศ การมีแสงแดดส่องถึงยาวนานติดต่อกันหลายชั่วโมง
.
นอกจากนี้ยังมี เทคโนโลยีและนวัตกรรมอื่น ๆ ที่มีความหลากหลาย สามารถเป็นทางเลือกให้กับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กรที่มีความห่วงใยสิ่งแวดล้อม เช่น การเกษตรแม่นยำ เทคโนโลยีลดของเสียจากอาหาร การผลิตเหล็ก, เหล็กกล้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน
.
สิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนเพื่อพัฒนาองค์กรที่คำนึงถึงส่วนรวม เมื่อทุกภาคส่วนร่วมมือ ส่งเสริม และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยลดโลกร้อนเหล่านี้อาจทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย NDC ที่ร้อยละ 40 ได้ตามเป้าหมาย ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโลกในปัจจุบัน ที่นานาประเทศทั่วโลกกำลังตื่นตัวอย่างกว้างขวาง หากเริ่มต้นช้าอาจเป็นผลเสียต่อความร่วมมือทางการค้าที่อาจมีการกีดกันทางการค้าสำหรับประเทศที่ไม่อาจผลิตสินค้าส่งออกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
.
.
HiddenChess เขียน

------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
TNN Online. เปิดเทรนด์ เทคโนโลยีลดโลกร้อน (ออนไลน์). สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2565, จาก
https://www.youtube.com/watch?v=zdr2TF8yFts

20/08/2022

8 วิธี ง่าย ๆ เปลี่ยนเป็นองค์กรสีเขียว
ในการเริ่มดำเนินธุรกิจให้องค์กรเป็นธุรกิจสีเขียวนั้น ท่านควรประชาสัมพันธ์องค์กรของท่านและสร้างกลยุทธ์การตลาดที่จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรเช่น การทำฉลากหรือสัญลักษณ์ของการรณรงค์สิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในองค์กรของท่านต่อไป และเป็นตัวอย่างที่ดีกับองค์กรอื่น

16/08/2022
10/08/2022
08/08/2022

📣📣 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เปิดรับสมัครข้าราชการ จำนวน 9 อัตรา สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม - 5กันยายน 2565 ทาง deqp.thaijobjob.com

ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรองได้ที่ https://learningportal.ocsc.go.th/accreditation/search/curriculum

Photos from ACE - Action for Climate Empowerment Thailand's post 08/08/2022

Photos from ACE - Action for Climate Empowerment Thailand's post

04/08/2022

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มี line จะบอก 🔊🔊

มีช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ของ Action for climate Empowerment Thailand (ACE Thailand) แล้วนะรู้ยัง ‼️

Add Line มาเป็นเพื่อนกันเยอะๆ นะครับ 😊🌏🌿

28/07/2022

✨ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

🙏ขอพระองค์ทรงพระเจริญ🙏

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน กองส่งเสริมความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

WORLD EXPO REVIEW (EP.3) เอกลักษณ์สะท้อนตัวตน กับไอเดียการพัฒนาที่ยั่งยืนจากทั่วโลก - DEQP 26/07/2022

WORLD EXPO REVIEW (EP.3) เอกลักษณ์สะท้อนตัวตน กับไอเดียการพัฒนาที่ยั่งยืนจากทั่วโลก - DEQP

WORLD EXPO REVIEW (EP.3) เอกลักษณ์สะท้อนตัวตน กับไอเดียการพัฒนาที่ยั่งยืนจากทั่วโลก - DEQP หากผู้อ่านได้มีโอกาสไปร่วมงาน World Expo ใน […]

22/07/2022

ไม่มีใครรู้ว่าโลกร้อนมากเพียงใดที่จะ “ปลอดภัย” แต่ที่เรารู้ก็คือ ภาวะโลกร้อนกำลังก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้คนและระบบนิเวศ ความจริงที่เราเห็นได้ก็คือ ธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย น้ำแข็งขั้วโลกสลาย ชั้นดินเยือกแข็ง (Permafrost) ที่อุ่นขึ้น ปะการังที่กำลังตาย ระดับน้ำทะเลที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ระบบนิเวศที่กำลังเปลี่ยนแปลง และคลื่นความร้อนที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้
.

สามารถอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ 👇
https://actionforclimate.deqp.go.th/news_cate/week-news/

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) "เสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่สู่การขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพ"
ภาวะโลกรวน
ACE Youth Camp 2020 @ SiKhio
ACE Youth Camp 2020 Day3
ฉลาก Carbon Footprint และประโยชน์ของการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ
การปรับพฤติกรรมลดก๊าซเรือนกระจกด้วย Green Recovery และวิถีไทย
กิจกรรม EP2 เรียนรู้ Mission 1.5 UNDP

ประเภท

เว็บไซต์

ที่อยู่


Action For Climate Empowerment Thailand, National Focal Point, 49 Rama 6 Soi 30,
Bangkok
10400

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

Environmental Conservation อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
Love Wildlife Love Wildlife
77 Nakornsawan Road Wat Sommanat, Pomprap Sattruphai
Bangkok, 10100

Love Wildlife is a Thai non-profit organization dedicated to protecting southeast Asian wildlife through outreach and education. Thank you for the support!

SDplanNet-Asia & Pacific SDplanNet-Asia & Pacific
IGES Regional Centre, 604, SG Tower, 6th Floor, 161/1 Soi Mahadlek Luang 3, Rajd
Bangkok, 10330

Network for Integrated Planning and Sustainable Development Strategies in Asia&Pacific

Environmental and Social Foundation : ESF Environmental and Social Foundation : ESF
92/283 Moo 2, Soi Ekkarat 15/1, Phaholyothin 87 Road , Lak Hok
Bangkok, 12000

มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

C3Leng Recycle C3Leng Recycle
Bangkok, 10400

Sustainable Online Recycling Application ซีซาเล้ง - พัฒนาระบบรีไซเคิลไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

Thailand Business and Biodiversity Network Alliance: B-DNA Thailand Business and Biodiversity Network Alliance: B-DNA
Bangkok, 10110

The Thailand Bio-Diversity Network Alliance (B-DNA) is the country’s first and only national Business and Biodiversity platform.

ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่ ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ซอย
Bangkok, 10220

ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพจของคนรักษ์โลกรักษ์เพื่อนร่วมโลก

FREC Bangkok FREC Bangkok
77 Nakornsawan Road Wat Sommanat
Bangkok, 10100

Designed to be a shared space for the neighborhood to enjoy, Ford Resource and Engagement Center (FREC) Bangkok is home to seven non-governmental organizations that run programs fo...

Volunpsy Volunpsy
Bangkok, 10330

ฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Anurak Chula Youth Camp Anurak Chula Youth Camp
Chulalongkorn University
Bangkok, 10330

เพราะเราเชื่อว่าเยาวชนเป็นกำลังสำ?

โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก (Chula Loves the E โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก (Chula Loves the E
Bangkok, 10330

โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก (Chula Loves the Earth) "มือถือเก่า...เรารีไซเคิลได้"

Mangroves for the Future Mangroves for the Future
63 Sukhumvit Soi 39 Wattana
Bangkok, 10110

MFF is a partnership-based regional initiative which promotes investment in coastal ecosystem conser