นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
มีนโยบายไม่รับโฆษณา
www.chaladsue.com www.chaladsue.com, www.ฉลาดซื้อ.com
นิตยสารออนไลน์
ฉลาดซื้อมีนโยบายไม่รับโฆษณา
เปิดเหมือนปกติ
ตำรวจเกาสง จับผู้ขับขี่สกู๊ตเตอร์บนทางเท้าได้ถึง 427 ราย ในวันเดียว
การปฏิบัติงานอย่างแข็งขันของตำรวจเริ่มขึ้นหลังนักข่าวจากโปแลนด์คนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเมืองดังกล่าวบนเกาะไต้หวัน โพสต์ข้อความออนไลน์เกี่ยวกับปัญหานี้ เขาบอกว่านอกจากสกู๊ตเตอร์พวกนี้จะขึ้นมาขับบนทางเท้าแล้ว ยังบีบแตรไล่คนที่เดินอีกด้วย
นายกเทศมนตรีเมืองเกาสงออกมาประณามพฤติกรรมดังกล่าวของผู้ขับขี่สกู๊ตเตอร์ และกำชับให้ตำรวจจัดการปัญหานี้โดยด่วน
ค่าปรับสำหรับความผิดดังกล่าวอยู่ระหว่าง 600 ถึง 1,800 เหรียญไต้หวัน
ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตำรวจจับผู้กระทำผิดได้ถึง 16,611 ราย
https://www.taiwannews.com.tw/en/news/4469660?fbclid=IwAR1oWjCHHk9_fFrTpOY0YveooGcZk5M22nYCffRTCJTKwpNopw-OnWDnyL4
ไทยแพน’ เปิดผลสุ่มตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างในส้ม พบ เกินมาตรฐานตามประกาศสาธารณสุข 57 จากทั้งหมด 60 ตัวอย่าง อึ้ง! ยังพบการตกค้างของสารคลอร์ไพริฟอส มากถึง 50% จากตัวอย่างทั้งหมด ทั้งที่ถูกยกเลิกใช้ไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2563
“ข้อสรุปจากการตรวจสอบส้มวันนี้ เครือข่ายไทยแพน ยอมรับว่า สิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือการพบสารคลอไพรีฟอส ซึ่งถูกแบนไปแล้ว อาจเป็นไปได้ ที่เกษตรกรยังมีค้างสต๊อก จึงยังถูกนำมาใช้ แต่อีกส่วนที่น่ากังวล ก็มีความเป็นไปได้สูงเช่นกันว่า อาจเป็นการลักลอบนำเข้าหรือไม่ ไทยแพนจึงเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบโดยตรง ภายใต้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ต้องควบคุมอย่างเข้มงวด และตรวจสอบ เพื่อเอาผิดตามกฎหมายให้ถึงที่สุด นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ปฏิรูปการรับรอง GAP เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง ปราศจากสารพิษตกค้างอย่างแท้จริง พร้อมทั้งขอให้รัฐสนับสนุนระบบเกษตรอินทรีย์ ให้เป็นทางเลือกการผลิตของเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย”
สำหรับสารเคมีตกค้างที่พบส่วนใหญ่ ประกอบด้วยสารกำจัดแมลง สารเคมีกำจัดโรคพืช และสารกำจัดไร แต่ที่น่ากังวล คือ พบตัวอย่างส้มที่ตรวจสอบถึง 50% ยังพบการตกค้างของสาคลอร์ไพริฟอส ทั้งที่ถูกยกเลิกการใช้ไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2563
ทัศนีย์ แน่นอุดร รอง ผอ.มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ บก.นิตยสารฉลาดซื้อ บอกว่า สำหรับผลการตรวจสอบน้ำส้มบรรจุกล่อง ที่วางขายตามห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อทั่วไป จำนวน 10 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานในน้ำส้ม 5 ตัวอย่าง ไม่พบอีก 5 ตัวอย่าง ตั้งข้อสังเกตได้ว่า อาจไม่ใช่ทุกล็อตการผลิตที่จะปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับระบบการตรวจสอบของโรงงงานผลิต และการบรรจุด้วยว่าได้ป้องกันการตกค้างของสารเคมีมากน้อยแค่ไหน
อ่านรายละเอียดข่าวต่อได้ที่ https://theactive.net/news/agriculture-20220310/?fbclid=IwAR2uiqo26QotqgMCRj0qitZc7vz1H_1M39EAGhrQ4tqJ3zqMxr7u17TMZQM
และอ่าน รายผลทดสอบส้มทั้งหมดได้ที่ https://www.chaladsue.com/article/3948
พบ "คลอร์ไพริฟอส" สารเคมีเกษตรที่ถูกแบน ในส้ม! สารพิษตกค้างอีกเพียบ | The Active 'ไทยแพน' เปิดผลสุ่มตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างในส้ม พบ เกินมาตรฐานตามประกาศสาธารณสุข 57 จากทั้งหมด 60 ตัวอย่าง อึ้....
สำรวจพบส้มที่ขายไทยมีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง
สภาองค์กรของผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทยแพน) เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสารเคมีเกษตรตกค้างในส้มและน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท แบ่งเป็นส้มจำนวน 60 ตัวอย่างและน้ำส้ม 10 ตัวอย่าง พบว่า ส้มที่มาจากการปลูกในประเทศจำนวน 41 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ทุกตัวอย่าง (100%) ส่วนส้มที่มาจากการนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง (84.21% )มีเพียง 3 ตัวอย่างที่มีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท พบ 50% ของกลุ่มตัวอย่างมีการตกค้างของสารพิษ
วันนี้ (10 มีนาคม 2565) ในงานแถลงข่าวผลการตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างในส้มและน้ำส้ม นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ส้มเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการบริโภค แต่ส้มก็เป็นผลไม้ที่มีโรคและศัตรูพืชมาก ทำให้การเพาะปลูกต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชมากชนิดตามไปด้วย ปัญหาที่ตามมาคือ ทุกครั้งที่มีการสำรวจการตกค้างของสารพิษในส้มในหลายปีที่ผ่านมา จะพบการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐานมาโดยตลอด ทั้งจากการติดตามเฝ้าระวังของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไทยแพน หรือจากผลการทดสอบของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเอง และทุกครั้งที่มีการสะท้อนสถานการณ์ปัญหาก็จะมีการเคลื่อนไหวหลายอย่างทั้งจากหน่วยงานราชการ เกษตรกร ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อจะติดตามว่า ส้มไทยปลอดภัยต่อการบริโภคมากน้อยแค่ไหน มพบ.และไทยแพน จึงได้รับการสนับสนุนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ทำการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทยอีกครั้ง
การสุ่มเก็บตัวอย่างส้ม คณะทำงานเลือกช่วงเวลาระหว่างวันที่ 3-10 มกราคม 2565 จากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ โดยครอบคลุมช่องทางจำหน่ายในปัจจุบัน ได้แก่ ตลาดค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และช่องทางออนไลน์ เป็นตัวอย่างส้ม 60 ตัวอย่าง และน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง รวมเป็น 70 ตัวอย่าง สำหรับส้ม เน้นเก็บตัวอย่างส้มให้ครอบคลุมสายพันธุ์ส้มที่จำหน่ายในช่วงเวลา ซึ่งจำแนกเป็นสายพันธุ์ทางการค้าได้ทั้งสิ้น 13 สายพันธุ์ ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง ส้มเขียวหวาน 12 ตัวอย่าง ส้มโชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มแมนดาริน 8 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มนาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มเมอร์คอท 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง ส้มกัมควอท 1 ตัวอย่าง ส้มซันคิสท์ 1 ตัวอย่าง ส้มเอินชู 1 ตัวอย่าง และส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และหากจำแนกตามแหล่งผลิตจะเป็นส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง ส้มที่ปลูกในประเทศไทย 41 ตัวอย่าง ทั้งนี้ 12 ตัวอย่างใน 41 ตัวอย่างที่ปลูกในประเทศ เป็นตัวอย่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) 11 ตัวอย่าง และ ThaiGAP 1 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง ได้แก่ Aro, Tipco, Chabaa, UFC, Malee, DoiKham, Sunfresh, Harvey Fresh, Green Garden และ Smile
ทั้ง 70 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์สารพิษตกค้างแบบ multi-residue analysis ครอบคลุมสารพิษตกค้างจำนวน 567 รายการ ที่ห้องปฏิบัติการ TÜV SÜD ITALY ประเทศอิตาลี ซึ่งได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025
จากรายงานผลการวิเคราะห์ พบ
รายละเอียดดังนี้
https://www.chaladsue.com/article/3948
#ส้ม #สารพิษในส้ม #ส้มอมพิษ #นิตยสารฉลาดซื้อ #มูลนิธิเพื่อผู้บริโ
แถลงผลการสุ่มตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างใน #ส้ม และ #น้ำส้ม
บอร์ดสปสช.เห็นชอบจัดซื้อรากฟันเทียมผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปากจำนวน 7,000 ชุด วงเงินไม่เกิน 21 ล้าน
บอร์ดสปสช.เห็นชอบจัดซื้อรากฟันเทียมผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปากจำนวน 7,000 ชุด วงเงินไม่เกิน 21 ล้า 9มี.ค.65-ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหล […]
รู้จัก ‘แผนที่’ และ ‘เข็มทิศ’ ผ่านแผนพัฒนาเมืองหลวงทั้ง 8 ฉบับ ก่อนเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
ใครเป็นคนกำหนดทิศทางเมืองหลวง
พรุ่งนี้ รู้กัน ...ผลการสุ่มตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างในส้ม 70 ตัวอย่าง
ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าว
สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) สุ่มตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างในส้ม 70 ตัวอย่าง
.
วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2565 เวลา 10.30 น.
ที่สวนชีววิถี อ.ไทรม้า จ.นนทบุรี
🔴 FB Live เพจ Thai-PAN และ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
📣📣 ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าว
สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) สุ่มตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างในส้ม 70 ตัวอย่าง
.
วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2565 เวลา 10.30 น.
ที่สวนชีววิถี อ.ไทรม้า จ.นนทบุรี แผนที่ https://g.page/GDPARK?share
🔴 FB Live เพจ Thai-PAN และ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
.
โดย
ปรกชล อู๋ทรัพย์ ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)
ทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ
.
📞 ประสานงาน : ชนิษฎา 081-3563591
สอบถามเส้นทางสวนชีววิถี โทร 02-9853838
พืชกลุ่มนี้ไม่ได้มีดีแค่ผลเท่านั้น นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังพบว่า เมล็ดสีม่วงสวยงามของผลไม้กลุ่มนี้นั้น ยังมีธาตุอาหารโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแคลเซียมในปริมาณสูง สารสกัดจากเมล็ดมะปรางมีสาร polyphenolic ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และจากการทดลองในหลอดทดลองพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเม็ดเลือดขาว เซลล์มะเร็งปอด และแบคทีเรีย 15 สายพันธุ์ ซึ่งหมายความว่ามีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคบางชนิด ได้
สายพันธุ์ไม้ผลทรงคุณค่าเหล่านี้ ได้รับการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดยเกษตรกรรายย่อย จนมีสายพันธุ์หลากหลายนับร้อยสายพันธุ์
เกษตรกรรายย่อยและสายพันธุ์พืชที่มาจากฝีมือของพวกเขา คือสิ่งที่ทำให้ระบบอาหารของเราหลากหลายและมีความมั่นคงทางอาหารอย่างแท้จริง
#มะยงชิด #มะยงห่าง #มะปราง #มะปรางหวาน #มะปริง #ความหลากหลายทางชีวภาพ #การปรับปรุงพันธุ์
หลายท่านคงทราบแล้วว่า ตำราเรื่องการทำสวนของมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) อดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งเขียนตำรา "เรื่องทำสวน" เมื่อปี 2431 ได้ระบุว่ามะปรางและมะยงชิดนั้นเป็นไม้ผลชนิดเดียวกัน แต่แยกเรียกชื่อตามรสชาติ เช่น "มะปรางหวาน" คือ มะปรางที่ไม่มีรสเปรี้ยวเลย "มะยงชิด" คือ มะปรางรสชาติหวานอมเปรี้ยว "มะยงห่าง" คือ มะปรางที่มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน และ "มะปรางเปรี้ยว" คือมะปรางที่ไม่มีรสหวานเลย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในทางพฤกษศาสตร์แล้ว มะปราง มะยงชิด และมะปริง ผลไม้ในสกุล Bouea นั้น จัดเป็นไม้ผลคนละสปีชี่ส์ หรือคนละชนิด กัน ดังนี้
1. มะปริง ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Bouea microphylla Griff. ใบมีขนาดเล็ก ผลมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยวจัด ผลดิบใช้ตำน้ำพริก แกงส้ม จิ้มน้ำปลาหวาน หรือดอง เคยมีการยุบสปีชีส์นี้ไปรวมกันกับมะยงชิด โดยจัดเป็นสายพันธุ์ (variety) หนึ่งของ Bouea oppositifolia แต่งานศึกษาโดยเปรียบเทียบลักษณะทางสันฐานวิทยาและพันธุศาสตร์เมื่อปี 2016 ของนักวิทยาศาสตร์ชาวมาเลเซียพบว่า มีความแตกต่างเกินกว่าที่จะรวมกันเป็นพืชชนิดเดียวกันได้
มะปริงพบแพร่หลายทั้งในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศ
2. มะปราง (Bouea macrophylla Griff.) ลักษณะสำคัญคือมีใบค่อนข้างใหญ่กว่าใบของมะปริงและมะยงชิด การจำแนกขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ กรมป่าไม้ รวมทั้งงานศึกษาของนักวิจัยอินโดนีเซีย และฐานข้อมูลของ The Plant List จัดให้เป็นไม้ผลอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้เอาไปรวมกับมะยงชิด (Bouea oppositifolia) ซึ่งแตกต่างกับกลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช กรมวิชาการเกษตร ที่จัดให้มะปรางและมะยงชิดอยู่ในสปีชี่ส์เดียวกัน (เช่นเดียวกันกับตำราเรื่องทำสวนของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์)
มะปรางแตกต่างจากมะยงชิด โดยส่วนใหญ่ใบจะมีขนาดเล็กกว่า และผลส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่า ผลเมื่อสุกมีสีเหลืองอ่อน มะปรางหวานบางสายพันธุ์เมื่อกินแล้วจะมีอาการระคายคอ ส่วนผลดิบจะมีรสมัน ส่วนมะปรางเปรี้ยวจะมีรสเปรี้ยวตั้งแต่แก่จนสุก
3. มะยงชิด (Bouea oppositifolia (Roxb.) Meisn.) เมื่อสุกจะมีสีเหลืองส้ม ในอินโดนีเซียพบผิวสีแดงก็มี ขนาดผลเท่าๆกับมะปรางไปจนถึงใหญ่กว่าไข่ไก่
มะยงชิดได้รับความนิยมมากกว่ามะปรางและมะปริง โดยการปลูกที่ใช้เมล็ดเป็นหลักในอดีต ทำให้เกิดความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆไปเป็นจำนวนมาก พันธุ์ไหนรสชาติถูกปากก็ตอนหรือทาบกิ่งขยายพันธุ์ไปปลูกอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ที่ลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออก ไปจนถึงภาคเหนือ และภาคใต้ คาดการณ์ว่าอีกไม่นานผลไม้นี้จะกลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญของประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการโดยกรมอนามัยพบว่า มะยงชิดมีเบต้าแคโรทีน และวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน การรับประทานผลไม้กลุ่มนี้จึงช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เจ็บป่วยง่าย เช่น โรคหวัด เป็นต้น
ในตำราสมุนไพร ใบของพืชกลุ่มนี้ยังใช้สำหรับตำพอกแก้ปวดศรีษะ รากต้มหรือฝนกับน้ำดื่ม ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ แก้ไข้ตัวร้อน ส่วนผลที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน แก้เสมหะ กัดเสมหะในคอ แก้เสลดหางวัว แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต เป็นต้น
พืชกลุ่มนี้ไม่ได้มีดีแค่ผลเท่านั้น นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังพบว่า เมล็ดสีม่วงสวยงามของผลไม้กลุ่มนี้นั้น ยังมีธาตุอาหารโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแคลเซียมในปริมาณสูง สารสกัดจากเมล็ดมะปรางมีสาร polyphenolic ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และจากการทดลองในหลอดทดลองพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเม็ดเลือดขาว เซลล์มะเร็งปอด และแบคทีเรีย 15 สายพันธุ์ ซึ่งหมายความว่ามีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคบางชนิด ได้
สายพันธุ์ไม้ผลทรงคุณค่าเหล่านี้ ได้รับการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดยเกษตรกรรายย่อย จนมีสายพันธุ์หลากหลายนับร้อยสายพันธุ์
เกษตรกรรายย่อยและสายพันธุ์พืชที่มาจากฝีมือของพวกเขา คือสิ่งที่ทำให้ระบบอาหารของเราหลากหลายและมีความมั่นคงทางอาหารอย่างแท้จริง
#มะยงชิด #มะยงห่าง #มะปราง #มะปรางหวาน #มะปริง #ความหลากหลายทางชีวภาพ #การปรับปรุงพันธุ์
+++++
อ่านการแบ่งชนิดของมะปราง-มะยงชิด จากตำราในอดีตเมื่อ 134 ปีก่อนได้ที่ https://www.facebook.com/Biodiversity.Agroecology/photos/a.100129209095579/149810604127439/
นักวิชาการฉลาดซื้อ ระบุเนยถั่วลิสงเสี่ยงเชื้อราขึ้นหลังเปิดรับประทาน แนะปิดฝาแช่ตู้เย็นป้องกันเชื้อรา
นักวิชาการฉลาดซื้อ แจงเพิ่มเติมหลังเผยผลทดสอบสารพิษอะฟลาท็อกซินในผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสง เมื่อเปิดผลิตภัณฑ์รับประทานแล้วมีโอกาสที่เชื้อราขึ้น แต่ระบุไม่ได้ว่าสร้างสารอะฟลาท็อกซินเพิ่มหรือไม่ แนะปิดฝาแช่ตู้เย็น เพื่อชะลอการขึ้นของเชื้อราและป้องกันการหืน พร้อมบอกวิธีทำเนยถั่วลิสงด้วยตัวเอง
จากการที่เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเผยผลทดสอบสารพิษอะฟลาท็อกซินในผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสง ผลปรากฏว่า 11 ตัวอย่างพบอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน และมีเพียง 1 ตัวอย่างปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานถึง 3 เท่านั้น มีผู้บริโภคให้ความสนใจผลการทดสอบเป็นจำนวนมากนั้น
วันนี้ (8 มีนาคม 2565) ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักวิชาการอิสระ กองบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเนยถั่วลิสงว่า เมื่อเปิดผลิตภัณฑ์แล้วแต่ยังรับประทานไม่หมด โอกาสที่เชื้อราชนิดต่าง ๆ ที่มีสปอร์ลอยอยู่ในอากาศสามารถขึ้นได้และถ้าสภาวะแวดล้อมเหมาะสมเชื้อราบางสายพันธุ์สามารถสร้างสารพิษลงสู่เนื้อเนยถั่วได้ซึ่งอาจเป็นอะฟลาท็อกซินหรือสารพิษชนิดอื่น จึงขอแนะนำให้ปิดฝาและแช่ตู้เย็นเพื่อให้ปลอดเชื้อรา นอกจากนี้ความเย็นในตู้เย็นช่วยลดโอกาสที่เนยถั่วลิสงหืนจนเสียสภาพ ทั้งนี้เพราะถั่วลิสงที่ใช้ทำเนยนั้นมีน้ำมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง เป็นองค์ประกอบซึ่งเสียสภาพง่ายในอุณหภูมิห้องของประเทศไทยที่ค่อนข้างร้อนตลอดปี
โดยปกติแล้วผู้ผลิตเนยถั่วลิสงต้องเลือกเมล็ดถั่วลิสงดิบที่ใหม่และแห้ง ปราศจากร่องรอยของเชื้อรามาผลิต อย่างไรก็ดีโอกาสที่จะมีสารพิษอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนบ้างนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ ถ้าปริมาณเมล็ดถั่วมีมากและสภาวะแวดล้อมของเมืองไทยที่ร้อนชื้นเหมาะแก่การขึ้นของราแทบทุกชนิด ดังนั้นผู้ผลิตอาจจำเป็นต้องหากรรมวิธีที่ทันสมัยมาช่วยในการผลิตเหมือนเช่นบางโรงงานในบางประเทศที่ผลิตเนยถั่วลิสงที่มีอะฟลาท็อกซินค่อนข้างต่ำ ประเด็นนี้นักวิชาการด้านเทคโนโลยีทางอาหารน่าจะให้ความรู้แก่ผู้ผลิตได้
เมล็ดถั่วลิสงเป็นธัญพืชที่มักพบเชื้อราขึ้นได้ง่าย เพราะฝักนั้นเกิดขึ้นในดินต่างจากถั่วชนิดอื่นที่อยู่ในฝักห้อยอยู่เหนือดิน จึงมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อราในดินน้อยกว่า นอกจากนี้การที่เชื้อราจะขึ้นหรือไม่นั้นยังขึ้นอยู่ที่กระบวนการเก็บถั่วและวิธีการปลูกเป็นหลัก จากบทความเรื่อง Effect of geocarposphere temperature on pre-harvest colonization of drought-stressed peanuts by Aspergillus flavus and subsequent aflatoxin contamination. ในวารสาร Mycopathologia ของปี 1984 ระบุว่า ถั่วลิสงที่ปลูกในแหล่งกันดารน้ำติดเชื้อราง่ายมากเนื่องจากมีเปลือกเปราะกว่า ต่างจากถั่วลิสงที่ปลูกในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ซึ่งมีเปลือกแข็งแรงเป็นเกราะป้องกันเชื้อราที่ดีจนกว่าจะกะเทาะเปลือกออก ฉะนั้นวิธีเก็บถั่วที่ปลอดภัยที่สุดคือ ล้างเปลือกให้สะอาด ทำให้แห้งแล้วนำไปเก็บในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และกะเทาะเปลือกเอาเมล็ดออกมาเฉพาะเมื่อต้องการใช้ผลิตสินค้า
ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากต้องการรับประทานเนยถั่วลิสงที่มีอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนต่ำ วิธีที่ดีที่สุดคือ ทำเองเพื่อกินเพียง 1-2 มื้อ ซึ่งไม่ยากนัก ไม่ต้องผสมสารกันหืน โดยบดหรือตำถั่วลิสงอบใหม่ในปริมาณที่ต้องการให้ละเอียดแล้วเติมเนย น้ำตาลทรายไม่ฟอกสีพอประมาณพร้อมเกลือแกงเล็กน้อยเพื่อแต่งรส ถ้าชอบให้มีกลิ่นนมก็สามารถเพิ่มนมผงได้เป็นทางเลือก สิ่งที่ต้องพยายามทำคือ คลุกเคล้าให้ส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้เนยถั่วลิสงที่มีรสชาติตามต้องการและสะอาดปลอดภัย ซึ่งถ้ารับประทานไม่หมดสามารถแบ่งใส่ขวดเล็ก ๆ เก็บในตู้เย็นได้ ในกรณีที่ซื้อผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสงมารับประทานและไม่ต้องการให้เกิดความเสี่ยงที่เนยจะมีรสชาติเปลี่ยนไปแม้ว่าได้แช่ตู้เย็นแล้ว ควรซื้อขวดเล็กรับประทาน หรือ ซื้อขวดใหญ่แบ่งใส่ขวดเล็กไว้ตักรับประทาน นำขวดใหญ่ไปเก็บในตู้เย็นส่วนที่เย็นกว่าส่วนอื่นๆ เช่น ช่องแช่ผักด้านล่างหรือบริเวณใกล้กับช่องแช่ผัก เป็นต้น
นอกจากนี้ยังแนะวิธีทำเนยถั่วลิสงด้วยตัวเอง เนื่องจากเนยถั่วลิสงที่ทำเองจะปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินต่ำ และทำได้ไม่ยาก
อ่านต่อได้ที่ : https://consumerthai.org/.../4695-ffc-peanut-butter...
#มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค #นิตยสารฉลาดซื้อ #ผลการทดสอบ #เนยถั่ว #ถั่วลิสง #เชื้อรา
LINE ID: @chaladsue.online
www.chaladsue.com
นิตยสารออนไลน์
ฉลาดซื้อมีนโยบายไม่รับโฆษณา www.ฉลาดซื้อ.com
จันทร์ | 10:00 - 17:00 |
อังคาร | 10:00 - 17:00 |
พุธ | 10:00 - 17:00 |
พฤหัสบดี | 10:00 - 17:00 |
ศุกร์ | 10:00 - 17:00 |
Nip-Sip provide both drink and food for all events and parties for all theme and able to create signature drinks. Also bar consulting.
ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเข็มขัด, หัวเข็มขัด,สายผ้าทอ,อุปกรณ์ประดับ (รับผลิตตามแบบของลูกค้า)
Defining Exotic Taiwanese Tea Bar ชานม ชงสดแก้วต่อแก้ว ให้กลิ่นและรสจากใบชาคุณภาพพรีเมี่ยม
โอโซนสปา สปาโอโซน ร้านอาหาร ร้านอาบน้ำสัตว์เลี้ยง น้ำโอโซน ล้างผัก อาบน้ำโอโซน โอโซน
welding machine and hardware for sale จำหน่ายตู้ชื้อมไฟฟ้าและฮาร์ดแวร์ก่อสร้าง ราคาถูก
ถ้าเรื่องมือถือ ให้เราดูแล www.aobmobile.net ร้านตั้งอยู่ห้าง MBK Center ชั้น4 โซนA Soi.B ห้อง 4A-220
จำหน่ายอุปกรณ์ อะไหล่กระเป๋า เข็มขัด รองเท้า ห่วงพวงกุญแจ
ขายของมือสอง ราคาสมเหตุสมผล เน้นใช้งานได้จริง ถ่ายรูปให้ดูทุกรายละเอียด