ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่
ตำแหน่งใกล้เคียง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
Phaholyothin 87 Road, Pak Chong
Semafahcram
10310
10310
Soi Ladprao
Atcha
Soi Pradiphat
Bangplad
Phayathai
10400
กรุงเทพกรีฑา
Ploen Chit Road
10110
Sukhumvit Soi 39 Wattana
ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพจของคนรักษ์โลกรักษ์เพื่อนร่วมโลก
ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยินดีต้อนรับ
ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
(Nature & Environment Conservation Club)
จัดตั้งขึ้นเมื่อภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2549 ซึ่งได้จัดขึ้นโดยความร่วมมือของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ตั้งใจจะร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นความสำคัญและร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและ

“ผมทำงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ ตรงไปตรงมาโดยชอบธรรม ผมมองว่าไม่มีสิ่งใดที่เราต้องมากังวลหรือหนักใจ วันข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ ไม่มีใครตอบได้
การดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้เป็นเรื่องที่ต้องกระทบกับผลประโยชน์ของใครบางคน หากเจ้าหน้าที่ท้อถอยถอดใจ ทรัพยากรป่าไม้ก็คงจะถูกทำลายลงในไม่ช้า ฉะนั้นในส่วนของผมและเจ้าหน้าที่ทุกนาย พวกผมพร้อมเสมอที่จะทำให้หน้าที่ตรงนี้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ”
“ผมรักป่า ผมมีแรงทำผมต้องพยายามทำให้ได้”
-วิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก-
.
“ผมคิดว่า ชีวิตผมทำดีที่สุดแล้วเท่าที่ผมมีชีวิตอยู่
ผมคิดว่า ผมได้ช่วยเหลือสังคมดีแล้ว
ผมคิดว่า ผมได้ทำตามกำลังของผมดีแล้ว
และผมพอใจ ผมภูมิใจสิ่งที่ผมทำ”
-สืบ นาคะเสถียร อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-
.
วันที่ 31 กรกฎาคมของทุกปี คือวันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก (World Ranger Day) เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีและการทำงานอันเสียสละของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก และเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
.
ขอขอบคุณและขอเป็นกำลังใจให้ผู้พิทักษ์ป่าทุกท่าน ที่ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย เสียสละเพื่อปกป้องผืนป่า และสัตว์ป่า
.
มาร่วมกันพิทักษ์ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลาย ไม่เบียดเบียนสัตว์ ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพื่อโลก เพื่อนร่วมโลก เพื่อเรา และเพื่อลูกหลานของเรา
.
https://www.seub.or.th/tag/บทเรียนข้าราชการไทย/
https://www.seub.or.th/bloging/ในป่าใหญ่/วิเชียร-ชิณวงษ์-ที่รู้จั/
https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/1197910
http://www.thairanger.com/วันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป/-1785
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1577545

Photos from Environman's post

Photos from Environman's post

#วันทะเลโลก 8 มิถุนายน
วันทะเลโลก หรือ วันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day) ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน ของทุกปี กำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (UN)ในคราวการประชุมสุดยอดระดับประเทศผู้นำว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาณ ประเทศบราซิล เมื่อปี 2535 เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล

เมื่อพูดถึงวิธีช่วยโลกง่าย ๆ เราอาจจะนึกถึง 3R Reduce Reuse Recycle แต่จริง ๆ ในปัจจุบันมีวิธีที่จะช่วยทำให้โลกอยู่กับเราได้นานขึ้นมากถึง 8R คือ Rethink, Refuse, Reuse, Reduce, Repair, Regift, Recycle, Recover
.
ทั้ง 8R เป็นวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยลดการปล่อย และเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกรวน ผ่านการลดการบริโภคตั้งแต่ต้นทางด้วยการใช้สิ่งของให้นานที่สุด คุ้มค่าที่สุด เพราะการที่เราบริโภคเกินจำเป็น จะทำให้ทรัพยากรถูกนำไปใช้ในการผลิตอยู่เรื่อย ๆ ต้องมีการสูญเสียทรัพยากรและพลังงาน เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิง และก็เพิ่มขยะ
.
ว่าแล้วก็มาดูกันดีกว่า 8R มาพร้อมกับวิธีช่วยโลกอย่างไรบ้าง เริ่มเลย!
.
1. #คิดให้ดีก่อนซื้อหรือบริโภคสินค้า ถามคำถามกับตัวเองก่อนว่า “เราต้องการหรือไม่?” “ซื้อมาแล้วจะคุ้มค่าหรือเปล่า” “จะได้ใช้จริง ๆ ไหม?” รวมถึงของกินด้วยเช่นกัน เพราะถ้าเราซื้อมากินแล้วกินไม่หมด มันก็จะกลายเป็นขยะอาหารเหลือทิ้งที่สามารถก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 6% เลยนะ!
#ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม: ลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในการผลิตสินค้าใหม่ และในการกำจัดขยะที่เหลือหลังใช้งาน
.
2. #ปฏิเสธสิ่งที่ไม่จำเป็น จะช่วยโลกใจต้องนิ่ง อะไรที่เราคิดว่าไม่จำเป็นก็สามารถปฏิเสธได้ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธไม่รับหลอด ไม่รับถุง หรือเน้นย้ำเวลาสั่งอาหารเดลิเวอรีว่าไม่เอาช้อนส้อม ไม่เอาเครื่องปรุง (ถ้าเรามีอยู่แล้ว) เพราะปี 2564 ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเผยว่า ไทยผลิตขยะมูลฝอย 24.98 ล้านตันเลยทีเดียว
#ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม: ลดขยะ และช่วยลดทรัพยากร พลังงาน ที่ใช้ในการกำจัดขยะ หรือในการผลิตใหม่
.
3. #ใช้ซ้ำให้นานที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อโลกมากที่สุด คือผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ได้นานที่สุด ดังนั้น เราควรลดพวกผลิตภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง เช่น หลอดพลาสติก ถุงพลาสติก ช้อนส้อมพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก กล่องโฟม และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้หลายครั้งแทน ถุงผ้าที่เรานำมาใช้แทนถุงพลาสติก ถ้าจะใช้ให้คุ้ม และช่วยโลกจริงก็ควรใช้ 7,000 - 20,000 ครั้งต่อใบด้วยนะ
#ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม: ลดการผลิตใหม่ ลดการใช้ทรัพยากร และพลังงานในการผลิต และก็ช่วยลดปริมาณขยะใช้แล้วทิ้ง
.
4. #ลดการใช้ที่ไม่จำเป็น เน้นใช้ของที่เราจำเป็นจริง ๆ อย่างเช่น เวลาเราซื้อของขวัญอาจจะลดการกระดาษห่อใหม่ ใช้ที่มีอยู่แล้ว หรือการ์ดงานต่าง ๆ ตอนนี้ก็ส่งแบบออนไลน์ได้ เพื่อลดการใช้กระดาษ ซึ่งลดใช้เท่าที่จำเป็นก็รวมถึงใช้พลังงานไฟฟ้า และน้ำเท่าที่จำเป็นด้วย
#ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม: ลดการผลิตใหม่ ลดการใช้ทรัพยากร พลังงาน และก็ช่วยลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นหลังการใช้งาน
.
5. #ซ่อมแซม ซ่อมแซมของที่เสียแล้ว หรือชำรุดให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง เพื่อช่วยลดการซื้อใหม่ และใช้สิ่งของนั้นให้นานขึ้น เช่น กางเกงที่ขาด เราอาจหาผ้ามาปะเพื่อไม่ต้องซื้อใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้มาอาจจะทำให้กางเกงนี้มีดีไซน์ใหม่ ไฉไลกว่าเดิม
#ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม: ลดขยะที่จะเกิดขึ้นหลังใช้งาน และลดการผลิตใหม่ที่อาจปล่อยก๊าซเรือนกระจก และใช้พลังงานเยอะ การผลิตเสื้อผ้า 1 ตัว ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 3-4 กิโลกรัมเลย
.
6. #ส่งของให้ผู้อื่นต่อ ส่งต่อของที่เราไม่ใช้แล้วแยังสภาพดีให้ผู้อื่นใช้ต่อ นอกจากช่วยโลกแล้ว ยังเป็นแบ่งปันให้ผู้ที่ต้องการของเหล่านั้นจริง ๆ ด้วย
#ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม: เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดขยะที่จะเกิดขึ้นหลังใช้งาน
.
7. #แปรรูปกลับมาใช้ใหม่ เริ่มที่แยกขยะให้ถูกต้อง และผลักดันให้เกิดการจัดการขยะที่เข้มงวด แต่ของที่รีไซเคิลได้ก็จะมีขวดพลาสติก กระดาษ กระป๋องอะลูมิเนียม และอีกมากมาย แต่อาจไม่ใช้ทั้งหมด ข้อมูลจาก World Bank ในทุก ๆ ปีมีขยะเพียง 13.5% ทั่วโลกที่ถูกนำไปรีไซคิล ดังนั้น ก่อนซื้อมาใช้ก็ต้องย้อนกลับไป Rethink, Reduce และ Reuse ด้วยนะ
#ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม: ลดขยะที่จะไปจบที่หลุมฝังกลบ ที่ใช้เวลาย่อยสลายนาน และอาจตกค้างในธรรมชาติได้ และลดการใช้พลังงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการกำจัดขยะ
.
8. #นำมาใช้ประโยชน์รูปแบบใหม่ นำเอาของที่ไม่ใช้แล้ว มา DIY ดัดแปลง แปลงร่างให้กลายเป็นของชิ้นใหม่ เช่นเอาแก้วกาแฟ หรือล้อรถยนต์มาทำเป็นกระถางต้นไม้ เผลอ ๆ ถ้าเรามีไอเดียแปรงร่างของที่แปลกใหม่ ของสิ่งนั้นอาจทำรายได้ให้กับเราในอนาคตด้วยนะ
#ข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม: เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดขยะที่จะเกิดขึ้นหลังใช้งาน
.
ใครที่กำลังพยายามทำให้ครบ 8 ข้อ หรือทำอยู่แล้ว เรามี Challenge สนุก ๆ จากเพจ #เรียนรู้รักษ์ป่าน่าน ให้ร่วมเล่นชิงรางวัลสุดคุ้มมากมาย นั่นก็คือ...
Challenge ที่จะให้เพื่อน ๆ ร่วมทำ 4 ภารกิจ ตามสไตล์ 8R ไม่ว่าจะเป็น
🍀 Rethink #กินไปอย่าให้เสีย - แชร์ไอเดียเคลียร์ตู้เย็น ทำอาหารจากของที่ใกล้หมดอายุในตู้เย็น
🍀 Reduce #ลดบิลค่าไฟกู้โลก - แชร์เทคนิคลดค่าไฟ พร้อมแชร์บิลค่าไฟที่ลดจริง
🍀 Repair #ทุกสิ่งซ่อมได้ - แชร์ไอเดียซ่อมแซมของเพื่อให้นำของกลับมาใช้ใหม่ได้
🍀 Recover #โมของเก่าใช้ประโยชน์ใหม่ - แชร์การสร้างสรรค์ แปลงร่าง สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วให้กลายเป็นสิ่งของใหม่
.
ดูกติกาการเล่นและการโพสต์เพื่อลุ้นรางวัลได้ที่ เฟสบุ๊คเพจ เรียนรู้รักษ์ป่าน่าน https://www.facebook.com/reanroorakpanan ร่วมเล่นได้ตั้งแต่วันนี้ - 12 กรกฎาคม 2565
.
▶️ ส่วนใครที่อยากเข้าใจไอเดีย ให้มากขึ้น 8R โปรโม โปรเม ได้ทำคลิปอธิบาย 8R แบบสั้น ๆ เปรียบเทียบความรักไว้แล้ว สามารถไปดูได้ที่ https://youtu.be/VrK8bADdx6E
.
#ลดภาวะโลกรวน

DAY: วันสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ Endangered Species Day จัดขึ้นตรงกับวันศุกร์ที่สามของเดือนพฤษภาคม โดยปีนี้ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม 2022 มีขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญ เรียนรู้ และลงมือปกป้องสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตต่างๆที่ใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงแหล่งอาศัยของพวกเขา
.
การสูญพันธุ์ในอดีตอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทางธรรมชาติ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยกว่าการลดลงอย่างมากของประชากรสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติในปัจจุบันนั้นเกิดจากน้ำมือมนุษย์ จนกระทั่งบางสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ทั้งการทำลายแหล่งอาศัย การใช้ทรัพยากรมหาศาล การล่า การสร้างมลพิษของเสีย และวิกฤตของโลกอย่างภาวะโลกร้อน และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ที่กำลังทำให้เราอาจจะกำลังเข้าสู่การสูญพันธุ์หมู่ (Mass Extinction) ครั้งที่ 6
.
สายพันธุ์ต่างๆที่ลดเหลือน้อยลงจนใกล้สูญพันธุ์กำลังส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆที่พึ่งพาอาศัยกัน ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบนิเวศ และส่งผลกระทบต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน
.
ข้อมูลจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (ที่ได้รับการบันทึก) 897 สปีชีส์ สูญพันธุ์ในธรรมชาติ 79 สปีชีส์ ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต 8722 สปีชีส์ และใกล้สูญพันธุ์ 15,403 สปีชีส์ อีกทั้งยังมีสัตว์ที่เผชิญความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์และถูกคุกคามอีกจำนวนมาก
.
เมื่อเราเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาที่ทำให้สายพันธุ์ต่างๆใกล้สูญพันธุ์ เราจึงต้องเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา และรับผิดชอบ ด้วยการเรียนรู้ถึงปัญหา ลงมือ ร่วมสนับสนุนการฟื้นฟูธรรมชาติ ปกป้อง และอนุรักษ์ให้ธรรมชาติอยู่กับเราไปตราบนาน
.
ทุกท่านสามารถค้นหารายชื่อ และข้อมูลสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ได้ที่ https://www.iucnredlist.org/search
.
Source
1. https://www.endangered.org/campaigns/endangered-species-day/
2. https://www.fws.gov/endangered/esday/index.html
3. https://www.daysoftheyear.com/days/endangered-species-day/
4. https://oceantoday.noaa.gov/endspeciesday/welcome.html
5.https://www.nwf.org/Our-Work/Wildlife-Conservation/Endangered-Species/Endangered-Species-Day

พบขยะถุงพลาสติกห่อแซนวิชอายุ 29 ปี สภาพยังเหมือนเดิมไม่ย่อยสลาย ในอุทยานที่สกอตแลนด์ | สะท้อนความสำคัญในการลดขยะ ทิ้งให้ถูกที่ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
.
เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา National Trust for Scotland (NTS) เผยการพบพลาสติกห่อแซนวิชที่ถูกกินเมื่อปี 1992 หรืออายุ 29 ปีในอุทยาน Cairngorms สกอตแลนด์
.
โดยทาง NTS ชี้ว่าถุงห่อนี้ยังอยู่ในสภาพปกติ และทำลายพื้นที่ธรรมชาติที่สวยงาม จากการที่มันไม่ย่อยสลาย และตกค้างในธรรมชาติเป็นเวลานาน
.
นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างขยะจากอดีตที่ถูกพบในธรรมชาติหลายๆปีจากที่มันถูกทิ้ง ก่อนหน้านี้เคยมีการพบคอนโทรเลอร์เกมริมหาดใน Lothian ที่ถูกสร้างในยุค 1960s
.
ขยะที่ตกค้างในธรรมชาติเป็นเวลานานเหล่านี้สะท้อนถึงความสำคัญของปัญหาขยะพลาสติก และการลดสร้างขยะ รวมถึงทิ้งให้ถูกที่เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม และมนุษย์
.
ที่มา
https://www.facebook.com/9043958039/posts/10158538721113040/?d=n
https://www.bbc.com/news/uk-scotland-north-east-orkney-shetland-56927418

เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีการค้นพบไมโครพลาสติกในเนื้อเยื่อปอดของมนุษย์เป็นครั้งแรก จากการตรวจสอบตัวอย่างเนื้อเยื่อปอดของผู้ป่วยทั้งหมด 13 ราย พบว่ามีไมโครพลาสติกในเนื้อเยื่อปอดถึง 11 ราย โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2565 นักวิทยาศาสร์เพิ่งตรวจพบไมโครพลาสติกในเลือดของมนุษย์เป็นครั้งแรก จากการสุ่มตรวจตัวอย่างเลือด 22 ตัวอย่าง พบไมโครพลาสติกใน 17 ตัวอย่าง และนอกจากนี้ไมโครพลาสติกยังตรวจพบได้ในอุจจาระของผู้ใหญ่ ทารก และอุจจาระแรกของเด็กแรกเกิดอีกด้วย
ด้วยขนาดของไมโครพลาสติกที่เล็กมาก ตั้งแต่มองเห็นด้วยตาเปล่า (5 มม.) ไปจนถึงมองไม่เห็นด้วยขนาด 1 ไมครอน (0.001 มม.) ทำให้สามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้ผ่านทางการหายใจและทางปาก โดยเข้าสู่ระบบปอด ระบบย่อยอาหาร และปล่อยสารประกอบทางเคมีเข้าสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อได้ โดยปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์อย่างเป็นทางการ แต่มีการวิจัยพบว่าไมโครพลาสติกสามารถเข้าในทางเดินอาหารของสัตว์ทะเลจนเต็ม และทำให้สัตว์ทะเลนั้นๆ ไม่สามารถกินน้ำและอาหารอื่นๆ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการได้ จนทำให้สัตว์ทะเลขาดน้ำหรือขาดสารอาหารและเสียชีวิต รวมถึงสารเคมีในเนื้อเยื่อส่งผลให้การทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกายสัตว์ลดลง เกิดการอักเสบในเนื้อเยื่อต่างๆ
ไมโครพลาสติกเกิดขึ้นจาก 2 แหล่งที่มาหลักๆ คือ
1. จากการผลิตพลาสติกขนาดเล็กเช่นไมโครบีดส์ (Microbeads) เพื่อเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางที่ใช้ขัดทำความสะอาดผิว หรือในยาสีฟัน ซึ่งตั้งแต่การเคลื่อนไหว Microbead-Free Waters Act of 2015 ทำให้หลายประเทศงดการผลิตและห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่มีไมโครบีดส์ไปแล้ว
2. จากการแตก สลาย หรือย่อยสลายของพลาสติกชิ้นใหญ่ที่ถูกใช้อยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะขวดน้ำดื่ม ถุงพลาสติก เมื่อถูกความร้อน ถูกแรงกระแทก พลาสติกจะแตกออกเป็นไมโครพลาสติก ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบพลาสติกนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นในแม่น้ำ มหาสมุทร หลุมฝังกลบขยะ หรือในอากาศ
ไมโครพลาสติกไม่ได้แตกออกมาหรือเกิดจากขยะพลาสติกเท่านั้น แม้แต่พลาสติกรอบๆ ตัวเราที่ฉีกขาด โดนความร้อน ก็สามารถแตกสลายกลายเป็นไมโครพลาสติกและเข้าสู่ร่างกายได้ จากการศึกษาพบว่า แม้เพียงการเปิดฝาขวดน้ำที่ทำให้ฝาขวดขาดออกจากห่วงพลาสติกที่ติดอยู่ที่คอขวด การตัดหรือฉีกถุงพลาสติกใส่ขนมหรือกล่องบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ทำให้เกิดไมโครพลาสติกขึ้นได้ (ปริมาณขึ้นอยู่กับประเภทพลาสติก ความยืดหยุ่น และขนาดของชิ้นพลาสติกที่ถูกทำให้แตกออก) ไมโครพลาสติกสามารถพบได้ในการชงชาจากถุงชาที่มีส่วนประกอบของพลาสติกที่ถุงชาหรือที่กาว การซักผ้าที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์อย่างโพลีเอสเตอร์หรือไนลอน ก็เป็นการปล่อยไมโครพลาสติกลงสู่ระบบน้ำเสียซึ่งสุดท้ายจะไหลลงสู่แม่น้ำและทะเลในที่สุด
ตัวอย่างสิ่งที่เราสามารถทำได้เบื้องต้น เพื่อลดปริมาณไมโครพลาสติกรอบๆ ตัวเรา และในสิ่งแวดล้อม
1. ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว เช่นถุงพลาสติก หลอด แก้วใส่เครื่องดื่ม และขวดน้ำดื่มพลาสติก
2. ตระหนักในส่วนประกอบของวัสดุรอบๆ ตัวและที่ต้องการเลือกซื้อ ว่ามีส่วนผสมของพลาสติกหรือไม่ เพื่อระวังการสลายตัวของพลาสติก และเพื่อเลือกใช้วัสดุอื่นทดแทน
3. ดูส่วนประกอบในเครื่องสำอางโดยเฉพาะที่ใช้ล้างหน้า ทำความสะอาดผิว และครีมบำรุงผิว ว่าไม่มีไมโครบีดส์หรือพลาสติก (ในชื่อต่างๆ เช่น Polyethylene, Acrylates Copolymer, carbomer, Cyclopentasiloxane เป็นต้น)
4. เลือกชงชาจากใบชา (loose leaf) แทนจากซองจุ่ม
5. เลือกใช้เสื้อผ้าที่ใช้เส้นใยธรรมชาติ ลดการใช้เส้นใยสังเคราะห์
ด้วยอัตราการผลิตและการใช้พลาสติกในปัจจุบัน ทำให้พบไมโครพลาสติกจำนวนมหาศาลในมหาสมุทร ทั้งในแพลงตอนไปจนถึงในปลาวาฬ และพบได้ใกล้ตัวเราตั้งแต่ในสิ่งที่เราขับถ่ายออกจากร่างกาย ไปจนถึงในเนื้อเยื่ออวัยวะภายในของเรา และคาดว่าปริมาณการผลิตพลาสติกและจำนวนขยะพลาสติกจะเพิ่มมากขึ้นอีกเรื่อยๆ ทุกวันนี้ยังไม่มีวิธีการแยกไมโครพลาสติกออกจากสิ่งแวดล้อมหรือออกจากร่างกายสิ่งมีชีวิต และยังไม่มีชุดความรู้ที่แน่ชัดเกี่ยวกับผลกระทบของไมโครพลาสติกที่มีต่อร่างกายมนุษย์ สิ่งที่เราช่วยกันทำได้ในขณะนี้ที่ยั่งยืนที่สุดคือการลดการใช้พลาสติกที่ไม่จำเป็นในแบบของคุณเอง
อ่านบทความได้ที่ https://taejai.com/th/news/197/
#ไมโครพลาสติก #เทใจชวนอ่าน

ATK Test ที่ใช้แล้วไม่ต้องแยกทิ้ง
สามารถส่งมาให้เราได้เลย ‼
ทุกคนรู้หรือไม่ว่าในประเทศไทยเราสร้างขยะพลาสติกกว่า 20,000 ตันจากการทดสอบ COVID? ลองนึกภาพว่าทุกประเทศทั่วโลกจะผลิตขยะพลาสติกออกมามากเพียงใดเพื่อทดสอบโรคระบาดนี้!
เรายินดีที่จะประกาศว่าทาง PPB จะเริ่มรับการทดสอบ ATK ที่ใช้แล้ว (**ผลตรวจที่เป็นลบหรือแสดงผลขีดเดียวเท่านั้น!) 🎉🎉
เพื่อที่เราจะนำเจ้าพลาสติกเหล่านี้มาแปลงร่างให้เป็นผลิตภัณฑ์พิเศษ ซึ่งจะทำการฆ่าเชื้ออีกครั้งก่อนหลอมละลาย
♻วิธีการก่อนส่งมาหาเราก็คืออออ
ขั้นตอนที่ 1 งอชุดตรวจเล็กน้อย
ขั้นตอนที่ 2 แงะขอบออกจากกันให้เป็น2ชิ้น
ขั้นตอนที่ 3 นำแถบทดสอบออก
ขั้นตอนที่ 4 นำไปล้างทำความสะอาด ตากให้แห้ง และรวบรวมส่งให้เราได้เลยครับ
📦ที่อยู่สำหรับการจัดส่ง
Precious Plastic [email protected] Bangkok
77 ถ.นครสวรรค์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงวัดโสมนัส กรุงเทพฯ 10100
เบอร์ติดต่อ 0612615640
ขอบคุณทุกคนที่ช่วยเราในภารกิจที่พยายามจะรีไซเคิลพลาสติกให้ได้มากยิ่งขึ้นนะคะ

#รู้จัก....สัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวก สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 12 ชนิด ตามบัญชีแนบท้ายของกฎกระทรวง
"สัตว์ป่าคุ้มครอง" คือ สัตว์ป่าตามที่กระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีแนบท้ายของกฎกระทรวง ประกอบด้วยสัตว์ป่าประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด นก 952 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด แมลง 20 ชนิด ปลา 14 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ 12 ชนิด
โดยสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 หมายถึง สัตว์ป่าที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ หรือจำนวนประชากร ของสัตว์ป่าชนิดนั้นมีแนวโน้มลดลงอันอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ
แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร อันได้แก่ สัตว์, พืช, สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว, ฟังไจ และ แบคทีเรีย แต่อาณาจักรที่เราจะพูดถึงต่อจากนี้คืออาณาจักรสัตว์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นกลุ่มที่มีวิวัฒนาการสูงสุด หรือบางคนเรียกว่าสัตว์ชั้นสูง เพราะในตัวของสัตว์กลุ่มนี้จะมีกระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นแกนกลางให้ร่างกายและมีการทำงานที่ซับซ้อนของอวัยวะอื่นในร่างกาย เช่น ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นต้น
ส่วนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สามารถพบได้ทุกแห่งหน ตั้งแต่มหาสมุทรที่มนุษย์คิดว่าเป็นแหล่งให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตที่แรก ไปจนถึงพื้นที่ที่มีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ตลอดเวลา และเขตร้อนจัดอย่างทะเลทราย หรือพื้นที่อับชื้นไร้แสงแดดอย่างถ้ำ
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมี 33 ไฟลัม แต่ละไฟลัมจะมีลักษณะเฉพาะตัวของมันเอง โดยไฟลัมที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อย มี 8 ไฟลัม ดังนี้
ไฟลัม เอ็คไคโนเดอมาตา ได้แก่พวก ปลาดาว ปลิงทะเล และหอยเม่น เป็นต้น
ไฟลัม โพลิเฟอรา ได้แก่พวก ฟองน้ำ เป็นต้น
ไฟลัม เนมาโทดา ได้แก่พวก หนอนตัวกลม หรือไส้เดือนฝอย เป็นต้น
ไฟลัม มอลลัสกา ได้แก่พวก หอย เพรียง หมึก เป็นต้น
ไฟลัม แพลททีเฮลมินทิส ได้แก่พวก หนอนตัวแบน เป็นต้น
ไฟลัม ไนดาเรีย ได้แก่พวก แมงกะพรุน ไฮดรา กัลปังหา ดอกไม้ทะเลและปะการัง เป็นต้น
ไฟลัม แอนนิลิดา ได้แก่พวก หนอนตัวกลม เช่น ไส้เดือน และทาก เป็นต้น
ไฟลัม อาร์โทรโพดา ได้แก่พวก แมงป่อง เห็บ ไร แมงมุม กิ้งกือ แมลง กุ้ง และปู เป็นต้น
สำหรับ สัตว์ป่าคุ้มครองประเภท สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีทั้งหมด 12 ชนิด ได้แก่
1 กัลปังหาทุกชนิดในอันดับ (Order) Gorgonacea
2 กัลปังหาดำทุกชนิดในอันดับ (Order) Antipatharia
3 ดอกไม้ทะเลทุกชนิดในอันดับ (Order) Actinaria
4 ปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ (Order) Scleractinia และในอันดับ (Order) Stylasterina
5 ปะการังไฟทุกชนิดในสกุล (Genus) Milleporina
6 ปะการังสีฟ้าทุกชนิดในอันดับ (Order) Helioporacea
7 ปะการังอ่อนทุกชนิดในอันดับ (Order) Alcyonacea
8 ปูเจ้าฟ้า (Phricotelphusa sirindhorn)
9 ปูทูลกระหม่อม หรือ ปูแป้ง (Thaipotamon chulabhorn)
10 ปูราชินี (Demanietta sirikit)
11 หอยมือเสือทุกชนิดในวงศ์ (Family) Tridacnidae
12 หอยสังข์แตร (Charonia tritonis)
ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/071/T_0104.PDF , ความรู้เรื่องสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังhttps://www.dnp.go.th/fca16/file/3z5ta896q8glavw.pdf
ที่มา : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืช 🌱🍃🌿
สามารถ Download File ได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1EFPHqOUFwRJphNfqwMaOxAoofeziwtSC
ที่มา สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
https://www.facebook.com/profile.php?id=100064921080583

#รู้หรือไม่: เรารู้ว่าป่าที่มีต้นไม้หนาแน่น อุดมสมบูรณ์ สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ แต่รู้ไหมว่า มหาสมุทรและระบบนิเวศชายฝั่งก็กักเก็บได้เช่นกัน และกักเก็บได้นานกว่า เพราะดึงไปเก็บทับถมอยู่ในชั้นดิน
.
กระบวนการการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์นี้มีชื่อเรียกว่า “Blue Carbon” มันเป็นการที่ธรรมชาติดูดซับก๊าซเหล่านี้ไว้เองในพื้นที่ชุ่มน้ำทางทะเลและชายฝั่ง (Marine and Coastal Wetlands) โดยพื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้มีความหมายครอบคลุมแนวปะการังชายฝั่ง แหล่งหญ้าทะเล ที่ราบน้ำขึ้นถึง แหล่งน้ำกร่อย หาดโคลน หาดเลน ป่าชายเลน
.
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้มานั้นจะถูกกักไว้ในเลนตะกอนใต้ดิน 50-99% และลึกประมาณ 6 เมตร ที่นี่คาร์บอนจะถูกกักเก็บไว้ได้นานกว่าพันปีเลย
.
แต่ถ้าวันใดที่ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งถูกทำลาย พื้นที่ถูกเปลี่ยนไปใช้ทำอย่างอื่น และคาร์บอนใต้ดินถูกปล่อยออกมา เมื่อนั้นคาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้อาจถูกปล่อยออกมาได้ ซึ่งการทำลายมีทั้งจากภัยธรรมชาติ และจากพฤติกรรมมนุษย์
.
อย่างเช่นของ #หญ้าทะเล ที่เป็นแหล่งอาหารของพะยูน และเต่า แต่มันถูกทำลายทั้งจากการสร้างเขื่อน ท่าเรือ รีสอร์ท การพัฒนาพื้นที่ตามแนวชายฝั่ง รวมทั้งการทำประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือจากอุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นที่ทำให้การกระจายตัวของหญ้าทะเลเปลี่ยนแปลง แต่หารู้ไม่ แหล่งหญ้าทะเล คือ ระบบนิเวศที่ดูดซับคาร์บอนได้ดีที่สุด มีพื้นที่น้อยกว่า 0.2 % ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด แต่กักเก็บคาร์บอนไว้ได้ถึงปีละ 10 %
.
#ที่ราบน้ำขึ้นถึง สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 6 – 8 ตันต่อปี หรือดีกว่า 2 - 4 เท่าของพื้นที่ป่าเขตร้อนทั่วไป นอกจากนี้ยังช่วยลดการกัดเซาะของดิน ป้องกันพายุและน้ำท่วมได้ แต่มันกลับถูกทำลายจากการปล่อยน้ำเสีย การถางพื้นที่ทำเกษตร และจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นของโลก
.
#ป่าชายเลน เป็นที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำหลายชนิด กักเก็บคาร์บอนเร็วกว่าพื้นที่ป่าเขตร้อนทั่วไปประมาณ 2 – 4 เท่า แต่ป่าชายเลนลดลงอย่างต่อเนื่องจาการขยายตัวของกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การขยายตัวของแหล่งชุมชน การสร้างท่าเทียบเรือ และอื่น ๆ อุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นก็ส่งผลต่อระบบนิเวศในป่าชายเลนด้วย
.
ซึ่งตรงนี้เหมือนกับป่าบก เพราะถ้าต้นไม้ตาย หรือโดนตัดจากการทำลาย การเผา ทุกอย่างที่ต้นไม้กักเก็บจะกลับไปอยู่ในชั้นบรรยากาศ เราเลยจะได้ยินคำว่าป่าบางแห่งที่ถูกทำลายตอนนี้ปล่อยก๊าซมากกว่าเก็บแล้ว
.
สรุปก็คือ ป่าบกก็สำคัญเราควรอนุรักษ์ รณรงค์ไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่า เช่นเดียวกับระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่ง หรือ Blue Carbon นี้ ที่ทุกคนมองข้าม แต่จริง ๆ มีความสำคัญที่จะช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นตัวการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกได้ดีมาก และตอนนี้สถานการณ์ก็ไม่สู้ดี จากรายงานของสหภาพยุโรปยังพบว่า ระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งทั่วโลกได้ลดจำนวนอย่างรวดเร็วในช่วง 50 ปีหลัง ส่งผลให้ความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนในแต่ละปีลดลงตามไปด้วยถึง 2-7 %
ที่มา
https://www.bluecarbonsociety.org/th/blue-carbon-facts
https://www.thebluecarboninitiative.org/about-blue-carbon
https://km.dmcr.go.th/c_11/d_1266
http://chm-thai.onep.go.th/?page_id=427

#รู้จัก....สัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวก สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 12 ชนิด ตามบัญชีแนบท้ายของกฎกระทรวง
"สัตว์ป่าคุ้มครอง" คือ สัตว์ป่าตามที่กระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีแนบท้ายของกฎกระทรวง ประกอบด้วยสัตว์ป่าประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด นก 952 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด แมลง 20 ชนิด ปลา 14 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ 12 ชนิด
โดยสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 หมายถึง สัตว์ป่าที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ หรือจำนวนประชากร ของสัตว์ป่าชนิดนั้นมีแนวโน้มลดลงอันอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ
แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร อันได้แก่ สัตว์, พืช, สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว, ฟังไจ และ แบคทีเรีย แต่อาณาจักรที่เราจะพูดถึงต่อจากนี้คืออาณาจักรสัตว์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นกลุ่มที่มีวิวัฒนาการสูงสุด หรือบางคนเรียกว่าสัตว์ชั้นสูง เพราะในตัวของสัตว์กลุ่มนี้จะมีกระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นแกนกลางให้ร่างกายและมีการทำงานที่ซับซ้อนของอวัยวะอื่นในร่างกาย เช่น ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นต้น
ส่วนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สามารถพบได้ทุกแห่งหน ตั้งแต่มหาสมุทรที่มนุษย์คิดว่าเป็นแหล่งให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตที่แรก ไปจนถึงพื้นที่ที่มีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ตลอดเวลา และเขตร้อนจัดอย่างทะเลทราย หรือพื้นที่อับชื้นไร้แสงแดดอย่างถ้ำ
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมี 33 ไฟลัม แต่ละไฟลัมจะมีลักษณะเฉพาะตัวของมันเอง โดยไฟลัมที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อย มี 8 ไฟลัม ดังนี้
ไฟลัม เอ็คไคโนเดอมาตา ได้แก่พวก ปลาดาว ปลิงทะเล และหอยเม่น เป็นต้น
ไฟลัม โพลิเฟอรา ได้แก่พวก ฟองน้ำ เป็นต้น
ไฟลัม เนมาโทดา ได้แก่พวก หนอนตัวกลม หรือไส้เดือนฝอย เป็นต้น
ไฟลัม มอลลัสกา ได้แก่พวก หอย เพรียง หมึก เป็นต้น
ไฟลัม แพลททีเฮลมินทิส ได้แก่พวก หนอนตัวแบน เป็นต้น
ไฟลัม ไนดาเรีย ได้แก่พวก แมงกะพรุน ไฮดรา กัลปังหา ดอกไม้ทะเลและปะการัง เป็นต้น
ไฟลัม แอนนิลิดา ได้แก่พวก หนอนตัวกลม เช่น ไส้เดือน และทาก เป็นต้น
ไฟลัม อาร์โทรโพดา ได้แก่พวก แมงป่อง เห็บ ไร แมงมุม กิ้งกือ แมลง กุ้ง และปู เป็นต้น
สำหรับ สัตว์ป่าคุ้มครองประเภท สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีทั้งหมด 12 ชนิด ได้แก่
1 กัลปังหาทุกชนิดในอันดับ (Order) Gorgonacea
2 กัลปังหาดำทุกชนิดในอันดับ (Order) Antipatharia
3 ดอกไม้ทะเลทุกชนิดในอันดับ (Order) Actinaria
4 ปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ (Order) Scleractinia และในอันดับ (Order) Stylasterina
5 ปะการังไฟทุกชนิดในสกุล (Genus) Milleporina
6 ปะการังสีฟ้าทุกชนิดในอันดับ (Order) Helioporacea
7 ปะการังอ่อนทุกชนิดในอันดับ (Order) Alcyonacea
8 ปูเจ้าฟ้า (Phricotelphusa sirindhorn)
9 ปูทูลกระหม่อม หรือ ปูแป้ง (Thaipotamon chulabhorn)
10 ปูราชินี (Demanietta sirikit)
11 หอยมือเสือทุกชนิดในวงศ์ (Family) Tridacnidae
12 หอยสังข์แตร (Charonia tritonis)
ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/071/T_0104.PDF , ความรู้เรื่องสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังhttps://www.dnp.go.th/fca16/file/3z5ta896q8glavw.pdf
ที่มา : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand

29 มีนาคม 2565
#วันเล็งเห็นคุณค่าแมนนาที (Manatee Appreciation Day)
.
แมนนาที มีลักษณะคล้ายพะยูน บางที่เรียก พะยูนหางกลม หรือ วัวทะเล เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยในน้ำขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง โดยคำว่า "แมนนาที" (manatí) มาจากภาษาตีโน ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในแถบแคริบเบียน หมายถึง "เต้านม" ปัจจุบันแมนนาที โดยเฉพาะแมนนาทีอินเดียตะวันตกเป็นหนึ่งในกลุ่มสัตว์ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
.
แมนนาทีเป็นสัตว์กินพืช ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาอาหารกินในเขตน้ำตื้น รวมถึงอาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำจืดที่ไกลจากทะเล 300 กิโลเมตรได้ด้วย โดยเขตอาศัยของพะยูนแมนนาที ได้แก่ พื้นที่หนองน้ำตื้นแถบชายฝั่งของอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และทะเลแคริบเบียน
.
ในปีที่ผ่านมาแมนนาทีมีประชากรจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากสาหร่ายเป็นพิษและแพลงตอนสะพรั่ง ส่งผลกระทบต่อหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งอาหารของแมนนาทีทำให้ขาดสารอาหาร ซึ่งเป็นผลมาจากมลพิษปุ๋ยและน้ำเสียของมนุษย์ นอกจากนี้การถูกเรือชนก็เป็นภัยคุยคามใหญ่เพราะแมนนาทีเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าและอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้น ดังนั้นจึงควรเล็งเห็นคุณค่าแมนนาที จึงเป็นวาระที่ดีที่จะได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแสนน่ารักชนิดนี้ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์แบบบูรณาการ
.
#แมนนาที #พะยูนหางกลม #วันสำคัญ #สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม #มูลนิธิปันปัญญา
_____________________________________
มูลนิธิปันปัญญา : ปันปัญญา เพื่อเด็กไทย
💬 ฝากติดตาม "มูลนิธิปันปัญญา " ทุกช่องทางได้ที่
Website: www.panpanya.or.th
[email protected] : https://line.me/R/ti/p/%40bvi6535j
Facebook: https://www.facebook.com/panpanya.or/
Instagram: www.instagram.com/panpanya.or
Twitter: www.twitter.com/PanpanyaOr

Photos from National Geographic Thailand's post

🌳 21 มีนาคม วันป่าไม้โลก (World forestry day)
.
วันที่ 21 มีนาคมของทุกปี เป็น "วันป่าไม้โลก" เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ ตามมติของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2012
cr. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
----------------------
🎯Website : www.prd.go.th
🎯Facebook/Twitter : กรมประชาสัมพันธ์
🎯YouTube : PRD กรมประชาสัมพันธ์
ขอบคุณข้อมูลและภาพ: กรมประชาสัมพันธ์

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน วันที่ 2 มีนาคม 2565 กลางวันพื้นที่ประเทศไทยตอนบนร้อนสูงสุด 35 องศาขึ้นไป คาดสิ้นสุดกลางพฤษภาคม 2565
.
"ประเทศไทยจะสิ้นสุดฤดูหนาวและเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูร้อน ในวันที่ 2 มี.ค. พ.ศ.2565 โดยในตอนกลางวันพื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่ 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป
.
ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้หรือลมฝ้ายใต้พัดปกคลุมแทน ซึ่งเป็นการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย
.
อย่างไรก็ตาม ลักษณะอากาศในช่วงต้นฤดูร้อนนี้จะแปรปรวนและมีฝนตกเป็นระยะๆ นอกจากนี้บริเวณชภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเข้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง และคาดว่าฤดูร้อนจะ สิ้นสุดประมาณกลางเดือนพ.ค. พ.ศ. 2565"
ที่มา
https://www.facebook.com/139223596102079/posts/5253854331305621/?d=n

วันเสาร์ที่สามของเดือนกุมภาพันธ์ วันลิ่นโลก (World Pangolin Day) สัตว์ป่าที่ถูกลอบฆ่า-ค้ามากที่สุด ขาว
.
ลิ่น หรือตัวนิ่ม มีลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นชิ้นๆๆทำหน้าที่เหมือนชุดเกราะ เป็นสัตว์ไม่มีฟัน กินมดหรือปลวกเป็นอาหาร เมื่อถูกคุกคามจะขดตัวเป็นก้อน มันมีเล็กแหลมยาวขุดพื้นขุดโพรงอยู่อาศัย และปีนต้นไม้ พบได้ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย
พวกเขาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองใกล้สูญพันธุ์ หนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตกเป็นเครื่องมือทางการค้า ถูกลักลอบฆ่าโดยมนุษย์มากที่สุด สนองความเชื่อในการรักษาโรค บำรุงสมรรถภาพทางเพศ
.
จากตัวนิ่มทั้งหมด 8 สายพันธุ์ โดยล่าสุดตัวนิ่มสายพันธุ์แอฟริกัน 2 สายพันธุ์ คือ ลิ่นต้นไม้ท้องดำ (Phataginus tricuspis) และลิ่นยักษ์ (Smutsia gigantea) ถูกปรับสถานะจาก “สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์” เป็น “สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์” และในสายพันธุ์เอเชีย ลิ่นฟิลิปปินส์ (Manis culionensis) ถูกปรับจาก “สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์” เป็น “สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์” ขณะเดียวกัน ไม่มีสายพันธุ์ไหนที่ถูกประเมินให้อยู่ในสถานะที่ดีขึ้น
.
World Pangolin Day มีเพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความเป็นเอกลักษณ์ของตัวนิ่มนี้ ซึ่งมันจะจัดขึ้นทุกๆเสาร์ของสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์
.
เนื่องในวันนี้เป็นวันของตัวนิ่ม จึงขอให้ทุกท่านร่วมตระหนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่เบียดเบียนสัตว์ เพื่อให้พวกเขาได้อยู่บนโลกนี้เป็นเพื่อนร่วมโลกของเราต่อไป
ที่มา
https://news.thaipbs.or.th/content/260295
https://www.seub.or.th/bloging/สถานการณ์/สิ่งแวดล้อม-ต่างประเทศ/ตัวนิ่ม-3-สายพันธุ์/?fbclid=IwAR3wwabrf81AZMfYS9E5J-0RchPDqLd6PGUWEjfp8XIdMc4TSAcg8hTe1yc
https://www.unenvironment.org/.../pangolin-news-roundup...
https://www.nationalgeographic.com/.../facts/pangolins
https://www.occrp.org/.../12235-un-pangolin-is-the-world...
https://www.bbc.com/news/av/world-africa-37449919
https://edition.cnn.com/.../sutter-change-the-list.../
https://www.worldanimalprotection.or.th/.../kaarlaatawnim...
https://wildfor.life/world-pangolin-day
https://www.pangolins.org

ตามรายงานของกรมควบคุมมลพิษฯ 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีขยะพลาสติกเกิดขึ้น ร้อยละ 12 ของปริมาณขยะทั้งหมด หรือคิดเป็น 2 ล้านตัน นำกลับมาใช้ประโยชน์เฉลี่ยประมาณปีละ 0.5 ล้านตันเท่านั้นเอง ส่วนที่ไม่ได้นำกลับมาใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกใช้ครั้งเดียว (Single-use plastic) อาทิ ถุงร้อน ถุงเย็น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหาร และถูกทิ้งแบบไม่ได้คัดแยกขยะ กลายเป็นขยะมูลฝอยและไปสู่หลุมฝังกลบในที่สุด ขยะเหล่านี้จะใช้พื้นที่ในการกลบมากกว่านี้ขยะประเภทอื่น ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่และงบประมาณในการจัดการอย่างมาก หรืออย่างแย่ก็ไม่ได้ถูกทิ้งให้ถูกต้อง กระจัดกระจายไปตามท่อน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง และไปสู่ทะเล
หลายคนคงทราบแล้วว่ารัฐบาลได้มีแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) ต้นปี 2563 เริ่มมีการแบนถุงพลาสติก แล้วก็พลาสติก Single-use บ้างแล้ว โดยมีหลักการว่าเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
จากรายงานพบว่าการใช้พลาสติกเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มีปริมาณมากที่สุด 2.32 ล้านตัน หรือร้อยละ 38.02 ซึ่งบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastic) ปัญหาที่ว่าก็เลยเป็นที่มาของการเริ่มแบนการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ซึ่งแผนการก็เริ่มมาตั้งแต่ปี 63 จนถึงปีนี้ 2565
สิ่งที่เราเห็นชัดก็คือ
-แบนถุงหูหิ้วแบบบางที่ได้จากห้าง, ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ
-ห้ามนำเข้า ขายหรือผลิต สินค้าที่มีไมโครบีดส์จากพลาสติก
-เลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำ ดื่ม (Cap Seal)
ในส่วนของแผน แต่ยังเห็นว่ายังใช้เกลื่อนก็มี
-ลด เลิกใช้ กล่องโฟมบรรจุอาหาร (ยังเห็นใช้กันเกลื่อน)
-ลด เลิกใช้ แก้วพลาสติกใช้ครั้งเดียวแบบบาง, หลอดพลาสติก (ยังเห็นใช้กันทั่วไป)
1 ในแผนของกรมควบคุมฯก็คือ สร้างความรู้ความเข้าใจกับทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไข โดยเฉพาะลด เลิก พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) รวมถึงกระตุ้นให้เกิด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (Infographic) การลดขยะพลาสติกจากการบริการส่งอาหาร (Food Delivery) และสินค้าออนไลน์ เพื่อเผยแพร่เป็นแนวปฏิบัติให้กับประชาชน ผู้บริโภค ทางสื่อต่างๆ อาทิ เฟสบุ๊ค ไลน์ เว็บไซต์
แต่เพื่อนๆว่ามั้ยว่าหลายคนยังไม่รู้เลย..
เพื่อนๆสามารถเข้าไปอ่านแผนการทั้งหมดได้ที่นี่https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/10/pcdnew-2021-10-19_08-59-05_998653.pdf
แอดจะสรุปทิ้งท้ายว่า ตามแผนปฏิบัติการ ระยะที่ 1 2563-2565 นั้น ภายในปี 2565 มีเป้าหมายว่าจะลด เลิกใช้พลาสติกตามรายการเหล่านี้ ให้ได้ 100%
1. ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง (หนาน้อยกว่า 34 ไมครอน)
2. กล่องโฟมบรรจุอาหาร
3. แก้วพลาสติกแบบบาง (หนาน้อยกว่า 100 ไมครอน)
4. หลอดพลาสติก
มาดูกันว่าจะทำได้หรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็เป็นความรับผิดชอบของผู้บริโภคทุกคนที่ต้องให้ความร่วมมือกันด้วย ร้านค้าบางร้านอาจจะไม่รู้ก็บอกเล่ากันด้วยนะ
Food delivery นี่ยังใช้กันอยู่เพียบเลยล่ะ
ที่มา:https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/10/pcdnew-2021-10-19_08-59-05_998653.pdf
https://www.pcd.go.th/publication/15038/
ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
(Nature & Environment Conservation Club)
จัดตั้งขึ้นเมื่อภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2549 ซึ่งได้จัดขึ้นโดยความร่วมมือของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ตั้งใจจะร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นความสำคัญและร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติ ทั้งภายในสถาบันการศึกษาและเพื่อส่วนรวมโดยเฉพาะประเทศชาติ เพราะในปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติของประเทศได้ถูกทำลายไปอย่างรวดเร็วซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา เช่น น้ำท่วม ภูเขาถล่ม พายุ แผ่นดินไหว ฯลฯ เหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติที่เราอาจหลีกเลี่ยงมิได้แต่เราสามารถช่วยกันพัฒนาและบรรเทาการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินได้ และได้มีการเรียนรู้ มีประสบการณ์ ในการร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ มีความรักสามัคคี และสามารถทำงานเป็นหมู่คณะ ดังนั้นในการก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ ทางชมรมจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนานักศึกษาในการทำกิจกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม ตลอดจนการเสริมสร้างบทบาทของนักศึกษาที่มีต่อสังคม ซึ่งที่ผ่านมาทางชมรมได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาสถาบันการศึกษา และเพื่อส่วนร่วม ซึ่งได้จัดโครงการต่างๆและทางชมรมยังจะดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ทางสถาบัน ประชาชน ต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เว็บไซต์
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ซอย
Bangkok
10220
77 Nakornsawan Road Wat Sommanat, Pomprap Sattruphai
Bangkok, 10100
Love Wildlife is a Thai non-profit organization dedicated to protecting southeast Asian wildlife through outreach and education. Thank you for the support!
IGES Regional Centre, 604, SG Tower, 6th Floor, 161/1 Soi Mahadlek Luang 3, Rajd
Bangkok, 10330
Network for Integrated Planning and Sustainable Development Strategies in Asia&Pacific
92/283 Moo 2, Soi Ekkarat 15/1, Phaholyothin 87 Road , Lak Hok
Bangkok, 12000
มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
Bangkok, 10400
Sustainable Online Recycling Application ซีซาเล้ง - พัฒนาระบบรีไซเคิลไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
Bangkok, 10110
The Thailand Bio-Diversity Network Alliance (B-DNA) is the country’s first and only national Business and Biodiversity platform.
Bangkok
Hi! We are Nice & Johnny: Dive and Climb Instructors in Krabi Thailand :) We will take you above a
77 Nakornsawan Road Wat Sommanat
Bangkok, 10100
Designed to be a shared space for the neighborhood to enjoy, Ford Resource and Engagement Center (FREC) Bangkok is home to seven non-governmental organizations that run programs fo...
Action For Climate Empowerment Thailand, National Focal Point, 49 Rama 6 Soi 30,
Bangkok, 10400
Action for Climate Empowerment Thailand National Focal Point under UNFCCC