Thailand Business and Biodiversity Network Alliance: B-DNA

Thailand Business and Biodiversity Network Alliance: B-DNA

ความคิดเห็น

ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ระหว่างวันที่ 9-19 พ.ย. นี้ที่ อิมแพค เมืองทองธานี
.
มาร่วมกันขับเคลื่อนพลังวิทยาศาสตร์พลเมือง () ไปกับเครือข่ายองค์กรหลากหลายแห่งเพื่อให้เราใกล้ชิดกับธรรมชาติและหาแนวทางที่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนกันไปอีกขั้นผ่านแอพลิเคชัน
เรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.youtube.com/watch?v=cjVd3sXCVyc
.
ร่วมสนุกเก็บข้อมูลความหลากหลายผ่านตัวแอพพร้อมลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษในการร่วมทริปเรียนรู้ธรรมชาติที่จังหวัดระยอง Voucher ส่วนลดทริปเรียนรู้ธรรมชาติ และของที่ระลึกน่ารักอีกมากมาย

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่เลย! https://www.facebook.com/sosearth.co/posts/602013584578127

===

Check out the National Science and Technology Fair from 9-19 November at Impact Muang Thong Thani, and be a part of the 'citizen science' movement to get closer to nature and find sustainable solutions through the application.
Learn more about the app: https://www.youtube.com/watch?v=cjVd3sXCVyc

Be a part of this nature exploration and win amazing prizes!
Learn more at: https://www.facebook.com/sosearth.co/posts/602013584578127

ขอบคุณ/Special thanks to Thailand Business and Biodiversity Network Alliance: B-DNA Bird Conservation Society of Thailand (BCST) Biofin Thailand FEED Thailand GYBN Thailand IUCN Asia Love Wildlife Foundation Nature Plearn Club NSTDA - สวทช. RECOFTCThailand - ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า ประเทศไทย SOS EARTH เถื่อนChannel มูลนิธิโลกสีเขียว สกสว. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
วิทยาศาสตร์พลเมือง (Citizen Science) มีบทบาทสำคัญอย่างไรในงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ? 🍂,🍃
.
กลุ่มเยาวชนไทย Global Youth Biodiversity Network (GYBN) ร่วมกับพี่ๆ ใจดีจากหลายหน่วนงานในการโปรโมท มาทำความรู้จักบทบาทของเครื่องมือนี้ในการพัฒนางานด้านความหลากหลายทางชีวภาพและหนทางเชิงนโยบายไปพร้อมกัน

👉ลงทะเบียนเข้าร่วมได้เลยที่ http://shorturl.at/stOPR

⏱️วันจันทร์ที่ 4 ต.ค. นี้ เวลา 13.15-15.00 น. ผ่านทางออนไลน์และติดตาม LIVE ผ่านทางเพจ UNDP Thailand ได้เลย

===

What is the role of towards the development biodiversity? 🍂,🍃

Thai youth from Global Youth Biodiversity Network (GYBN) Thailand partners up with various agencies to promote . Let’s get to know the application and how it drives biodiversity at the policy level.

👉Register now: http://shorturl.at/stOPR

⏱️ Monday, 4th October 2021 at 13.15-15.00 online and

Follow LIVE on our UNDP Thailand page!

United Nations Thailand สหประชาชาติ ประเทศไทย UNDP in Asia and the Pacific Biofin Thailand IUCN Asia Thailand Business and Biodiversity Network Alliance: B-DNA Dow Bangkok Tribune News SEA-Junction WCS Thailand เถื่อนChannel ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกบางปู - Bangpu Nature Education Center

The Thailand Bio-Diversity Network Alliance (B-DNA) is the country’s first and only national Business and Biodiversity platform.

28/06/2022

📸 please share widely

EXTENDED SUBMISSION DATE ‼ 2022 International Photo Competition📸 Win up to a total of $1,200 (USD) worth of prizes⭐🎉
.
The National Science Museum, Thailand (NSM Thailand) in collaboration with the Asia Pacific Network of Science & Technology Centres (ASPAC), International Union for Conservation of Nature (IUCN Thailand), Commission for Environmental Cooperation (CEC), and Thailand Biodiversity Network Alliance (B-DNA Thailand) have launched the 2022 International Photo Competition titled, “Flow of Beauty: Interconnecting Folks and Living Creatures.”
.
We would like to invite you to participate in the 2022 International Photo Competition to portray the beautiful relationships between river, ocean and human life through photography.
.
📸Join the competition and get a chance to win a total of $1,200 cash prizes and trophies! 💵🎉
.
Deadline for submission: July 15, 2022 (5 pm, UTC+7)
📍via this link: https://forms.gle/fwQNvG5AycASFE6y5
.
Winners will be announced on July 25, 2022 (5 pm, UTC+7)
📍via Facebook NSM Thailand
.
More detail:
🔗Please check this link: https://bit.ly/3QJmTGq
☎Tel: +662 577 9999 ext. 1493 (Panida and Warunyupa)
📱Emai: [email protected] and [email protected]
.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ the Asia Pacific Network of Science & Technology Centres (ASPAC), International Union for Conservation of Nature (IUCN Thailand), Commission for Environmental Cooperation (CEC), และ Thailand Biodiversity Network Alliance (B-DNA Thailand)
จัดการ #ประกวด ภาพถ่ายนานาชาติ ประจำปี 2565
หัวข้อ ธาราวิจิตร : ร้อยชีวิตและผู้คน
เชิญชวนผู้สนใจร่วมส่งผลงาน
ภายใน 15 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.00 น.
ลิงก์ https://forms.gle/fwQNvG5AycASFE6y5
(ประกาศผล 25 กรกฎาคม 2565)
ข้อมูลเพิ่มเติม https://bit.ly/3QJmTGq
สอบถาม โทร. 0 2577 9999 ต่อ 1493 (พนิดา และวรุณยุพา)
Email: [email protected] หรือ [email protected]
.

#ดินแดนแห่งการค้นพบความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์
#องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
#อพวช

สื่อประชาสัมพันธ์สัตว์ทะเลหายาก - สื่อประชาสัมพันธ์ 06/04/2022

สื่อประชาสัมพันธ์สัตว์ทะเลหายาก - สื่อประชาสัมพันธ์

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

สื่อประชาสัมพันธ์สัตว์ทะเลหายาก - สื่อประชาสัมพันธ์ สื่อประชาสัมพันธ์

Business for Nature on LinkedIn: #NaturePositive #Post2020 #ForNature 31/03/2022

Business for Nature on LinkedIn: #NaturePositive #Post2020 #ForNature

ขณะนี้ ภาคธุรกิจในระดับโลกสร้างแรงกระเพื่อมด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างกระตือรือร้น วันนี้เราลองมาดูหัวข้อสนทนาที่น่าสนใจจากเวที UN Biodiversity OEWG-3 สรุปโดย Business for Nature กันค่ะ มีคอนเซ็ปต์ใหม่มาท้าทายความสามารถในการสร้างความเปลี่ยนแปลงกันอีกแล้ว "Nature Positive by 2030" คืออะไรกันนะ?

https://www.linkedin.com/posts/business-for-nature_naturepositive-post2020-fornature-activity-6913119394353041408-maC-?utm_source=linkedin_share&utm_medium=android_app

Business for Nature on LinkedIn: #NaturePositive #Post2020 #ForNature 🎉 Another inspiring panel discussion at UN Biodiversity OEWG-3, landing on the strong message of why Parties should adopt a " by 2030" ...

14/03/2022

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมการอบรมแบบออนไลน์สำหรับภาคธุรกิจในประเทศไทย ของโครงการ The Economics of Ecosystems and Biodiversity (TEEB) สำหรับธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environmental Programme) ซึ่งการอบรมดังกล่าวดำเนินการโดยองค์กร Capitals Coalition ร่วมกับมูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสทีแนนซ์ และได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ทั้งนี้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย และองค์กรโกลบอลฟู๊ดพาร์ทเนอร์ส ได้ร่วมสนับสนุนการจัดการอบรมครั้งนี้

การอบรมฯ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการวัดผล และประเมินค่าผลกระทบ และการพึ่งพาธรรมชาติ และมนุษย์ จากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการระบุความเสี่ยง และโอกาส เมื่อการดำเนินธุรกิจมีปฏิสัมพันธ์กับกับทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม และทุนมนุษย์ รวมถึงการนำเอาวิธีการพิจารณาดังกล่าวไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์องค์กร เพื่อช่วยให้บริษัทเปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรม สร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และท้ายสุด เพื่อปูทางไปสู่การบรรลุเป้าหมายวาระการพัฒนา 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

การอบรมฯ แบ่งออกเป็น 6 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 15:00 น. ถึง 17:00 น. ตามเวลากรุงเทพ มหานครฯ โดยการอบรมฯ จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอบรมฯ สามารถดูได้ที่ http://bitly.ws/oJrP

👉 ลงทะเบียนได้ที่ http://bitly.ws/oJrB

======

We are delighted to invite you to participate in The Economics of Ecosystems and Biodiversity (TEEB) AgriFood for Business training program in Thailand, led by UN Environmental Programme TEEB with support from the European Union. The training will be conducted by the Capitals Coalition in collaboration with Scholars of Sustenance Thailand. UNDP Thailand, the Global Compact Network Thailand, and Global Food partners support the TEEBAgriFood for Business training program in Thailand.

The training program will give an opportunity for participants to learn and hone skills to measure and value your business’ impacts and dependencies on nature and people to inform decision-making. The program will also arm participants with the knowledge to identify the risks and opportunities associated with your business’ interaction with natural capital and social & human capitals and apply these considerations into your business strategy. This will help business in the transition towards a more equitable, nature positive and net-zero emission, thereby paving the way for the achievement of 2030 agenda for sustainable development.

The training program is split into six consecutive sessions of two hours from 15:00 to 17:00 Bangkok time from the end of March to August 2022.

You will find more information in the training brochure at http://bitly.ws/oJrP

👉 Register at http://bitly.ws/oJrB



UN Environment Programme UN Environment Programme in Asia Pacific European Union in Thailand United Nations Thailand สหประชาชาติ ประเทศไทย UNDP in Asia and the Pacific Scholars of Sustenance Thailand - SOS Thailand Global Compact Network Thailand

Photos from องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก - องค์การมหาชน's post 29/01/2022

Photos from องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก - องค์การมหาชน's post

24/01/2022

กำลังวิเคราะห์ข้อมูลจากเกาะหมากอย่างดุเดือด คิดไปคิดมา เป็นไปได้ไหมที่เมืองไทยจะมี จึงลองนำมาเล่าให้เพื่อนธรณ์ฟังฮะ 😁

net zero ในที่นี้หมายถึงสถานที่แห่งนั้นต้องปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกเท่ากันเป็นอย่างน้อย

คำว่า net zero ใช้กันเพียบ แต่ความเป็นไปได้ไม่ง่ายเลยครับ

เพราะการซื้อเครดิตจากที่อื่นมาหักลบ มันไม่ใช่เน็ตซีโร่ของจริง นั่นเป็นแค่ carbon neutral

ตัวแปรเน็ตซีโร่มี 2 ข้อ ปล่อยแค่ไหน ดูด/กักเก็บแค่ไหน หักลบให้หมดในพื้นที่ ง่ายๆ เท่านี้เอง

แต่ที่ยากคือทำไงเราถึงจะลดการปล่อยเพิ่มการดูดให้เท่ากันให้ได้

มันจึงขึ้นกับพื้นที่เป้าหมายว่าเป็นไปได้ไหม เช่น ภูเก็ตเน็ตซีโร่ พัทยาเน็ตซีโร่ อันนั้นคงเป็นไปไม่ได้ใน 20-30 ปี

เพราะพื้นที่เป้าหมายคนเพียบ กิจกรรมเพียบ แถมในพื้นที่ยังมีระบบนิเวศไม่พอ จะให้ปลูกป่าซ้อนกัน 5 ชั้นในเมืองพัทยา ก็ยังไม่พอดูดคาร์บอนที่ปล่อยไป

พื้นที่แบบนั้นต้องพยายามกันต่อไป และอาจใช้คำว่า toward low carbon tourism ไปก่อน เพื่อแสดงว่าเรากำลังพยายามนะ

แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดเล็กหน่อย เราทำได้ไหม ?

พื้นที่ในที่นี้ต้องเป็นชุมชน เป็นหมู่บ้านหรือตำบล มิใช่อุทยานหรือแหล่งท่องเที่ยวแบบจำเพาะเจาะจง

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์กระจายไปและทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

จากกรอบแนวคิดแบบนั้น ผมลองดูหลายเกาะในทะเลไทย พบว่ามีความเป็นไปได้ครับ

ตัวอย่างง่ายๆ คือตำบลเกาะหมาก มีชาวบ้าน 500 คน หากดูค่าเฉลี่ยนคนไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปี ล่าสุดอยู่ที่ 4.43 ตัน

ด้วยตัวเลขนี้ ทั้งปีคนเกาะหมากปล่อยคาร์บอน 2,215 ตัน

หากพิจารณารายงานพื้นที่หญ้าทะเลเกาะหมาก/เกาะกระดาดของกรมทะเลล่าสุด มีพื้นที่มากกว่า 1,400 ไร่

มีความเป็นไปได้สูงที่หญ้าพวกนี้จะดูดและกักเก็บคาร์บอนที่ปล่อยออกมาต่อปีจนหมด

ยังไม่ต้องนับป่าหรือสวนยางที่เอาไม้ไปทำเฟอร์นิเจอร์

ขอเพียงวิจัยให้ได้ว่าแหล่งหญ้าทะเลเกาะหมากเก็บคาร์บอนปีละแค่ไหน เท่านั้นก็ได้เกาะเน็ตซีโร่แล้วครับ

แต่ที่ต้องไปอีกขั้นคือก๊าซเรือนกระจกจากนักท่องเที่ยว ทั้งการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร กิจกรรมอื่นๆ

UN เพิ่งทำคู่มือ A Guide to Decarbonise Travel&Tourism ที่ต้องลองไปดูและประยุกต์ใช้

โชคดีที่เกาะหมากเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว อพท.ทำงานเรื่องนี้เพื่อผลักดันเกาะหมากให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ

คนเกาะหมากจึงมีความรู้พื้นฐาน พยายามหาทางผลักดันตัวเองมาตลอด

ทั้งการพึ่งพาอาหารท้องถิ่นลดการขนส่ง การใช้จักรยาน การขนส่งที่ไปพร้อมกันเป็นกลุ่ม ที่พักแบบโลว์คอนบอร์นง่ายๆ อยู่กับธรรมชาติ ฯลฯ

ยังรวมถึงเรือพลังงานแสงอาทิตย์ที่เคยมีและอาจจะมีใหม่ในไม่ช้า รถไฟฟ้าที่ใช้ตามท่าเรือ ฯลฯ

มันยังไม่เวิร์ค 100% แต่พูดถึงศักยภาพ พูดถึงความเข้าใจและความตั้งใจ ผมคิดว่าเกาะหมากมีพร้อมที่สุดแห่งหนึ่งในทะเลไทย

นั่นคือเหตุผลที่ผมเลือกเกาะหมากเป็นพื้นที่ทำงานร่วมกับ

แน่นอนว่าผมคงทำไม่ได้ทุกอย่าง เป้าหมายของผมอยู่ที่แหล่งหญ้าทะเลและระบบนิเวศในการกักเก็บ

ขณะที่การลดจะต้องช่วยกันทั้งอพท. อบต. กลุ่มอนุรักษ์ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามีเป้าหมายตรงกัน จะทำทางไหนก็ไปสู่ net zero destinaion มันย่อมไปได้ดี

มันไม่มีทางสำเร็จในปีนี้ ปีหน้า หรือปีต่อไป

แต่ถ้ามันได้แล้วจะยอดเยี่ยม จะเป็นการโปรโมตแบบที่คนอื่นทำไม่ได้ จะช่วยยกระดับการท่องเที่ยวคุณภาพสูง/รายได้สูง

เข้าเป้าเป๊ะกับกลุ่มนักท่องเที่ยวบนเกาะ ชาวยุโรปและชาวไทยที่รักสิ่งแวดล้อมและวิถีท้องถิ่น

ขออาจารย์ธรณ์กลับไปทำงานต่อก่อน ยังมีอีกเยอะเลยครับ

ต้องรีบทำด้วย เพราะเกาะหมากไม่ใช่เป้าหมายเดียวในปีนี้ ยังมีเกาะอื่นๆ

Net Zero Destination ความเป็นไปได้ใหม่ในยุคโลกนิวนอร์มัล เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ

เป็นเป้าหมายที่ท้าทายและอยากทำในช่วงปีท้ายๆ ของชีวิตการทำงานครับ

🥰 🏝

23/01/2022

สัมมนาออนไลน์ (webinar) หัวข้อ "Finance for Nature"

#การเงินเพื่อธรรมชาติ #การเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม

Photos from Forest Restoration Research Unit's post 23/01/2022

Photos from Forest Restoration Research Unit's post

22/01/2022

🔹ทุกอย่างต้องใช้เงิน งานดูแลสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติก็เช่นกัน!🔹

GYBN Thailand และ Nature Plearn Club
ชวนเพื่อนๆมาทำความรู้จัก "การเงินเพื่อธรรมชาติ"
สิ่งนี้คืออะไร?!
แล้วโอกาสหรือความท้าทายด้านการเงินเพื่อธรรมชาติในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้างตอนนี้?

มาทำความรู้จัก และพูดคุยกันถึงกลไกที่จะทำให้งานดูแลธรรมชาติไปไกลกว่าที่เคยเป็น!

ในงาน “Finance Webinar”
🔻 วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2565 เวลา 13.00-16.00 น.
ทาง Zoom และ Facebook Live
ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังได้เลยจ้าา
🔻>> https://forms.gle/yWThzR6iGhHnAvcG7
🔻ถ้าอยากร่วมวงแลกเปลี่ยนเข้ามาจอยด้วยกันได้เลยที่
Join Zoom Meeting
https://us02web.zoom.us/j/84333684069?pwd=WlREa0tpWVp3NHBLSldGNjkxWndVUT09
Meeting ID: 843 3368 4069
Passcode: 056594Join Zoom Meeting
.
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนสังคมในงาน “Connect Fest 2022: Social Movement Week for All” วันที่ 19-23 มกราคม 2565

Guidance on Biodiversity Target-setting – United Nations Environment – Finance Initiative 17/01/2022

Guidance on Biodiversity Target-setting – United Nations Environment – Finance Initiative

https://www.unepfi.org/publications/guidance-on-biodiversity-target-setting/

Guidance on Biodiversity Target-setting – United Nations Environment – Finance Initiative Guidance on Biodiversity Target-setting Published June 2021 New | The Guidance on Biodiversity Target-setting is designed for Principles for Responsible Banking (PRB) signatories, allowing banks to take a systematic approach to setting and achieving biodiversity targets. The guidance presents four r...

Timeline photos 13/01/2022

Timeline photos

Blue Carbon: แหล่งกักเก็บคาร์บอนประสิทธิภาพสูงที่กำลังได้รับความสนใจ เพื่อมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

ผู้นำจากทั่วโลกได้แสดงความมุ่งมั่นเกี่ยวกับการหยุดทำลายป่าไม้ในปี ค.ศ. 2030 ณ COP26 อย่างไรก็ตามมีเพียง 43 ประเทศ จาก 113 ประเทศ เท่านั้น ที่รวมระบบนิเวศบลูคาร์บอนเข้าเป็นส่วนหนี่งในมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจก อันเป็นเหตุให้นักรณรงค์และนักอนุรักษ์ทางทะเลระบุว่าแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพสูงในมหาสมุทรกำลังถูกมองข้าม

ระบบนิเวศชายฝั่ง อันประกอบด้วย ป่าชายเลน ที่ราบน้ำท่วมถึง และหญ้าทะเล ซึ่งถือเป็น บลูคาร์บอน เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพ ระบบนิเวศนี้กักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ไว้ในรากและตะกอนดินซึ่งคาร์บอนเหล่านี้จะถูกกักเก็บได้นานนับพันปีในกรณีที่ไม่ถูกรบกวน ขณะที่กรีนคาร์บอน เช่น ป่าฝน กักเก็บคาร์บอนไว้ในชีวมวลและปล่อยกลับออกมาเมื่อต้นไม้ตาย ด้วยเหตุนี้ บลูคาร์บอนจึงมีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนสูงกว่าป่าไม้ถึงเกือบ 10 เท่า

หลักฐานยืนยันสำหรับประสิทธิภาพของบลูคาร์บอนถูกเปิดเผยเพิ่มเติม เมื่อมีการค้นพบว่า ที่ราบน้ำท่วมถึง Steart ในประเทศอังกฤษสามารถดูดซับคาร์บอนได้ 19 ตัน ต่อเฮกตาร์ ในทุกๆ ปี หรือ 18,000 ตัน ใน 4 ปี ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับการกำจัดก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยโดยรถยนต์ 32,900 คัน อันเป็นการสนับสนุนว่าบลูคาร์บอนมีประสิทธิภาพสูงว่าป่าไม้ที่มีขนาดเท่ากัน อีกทั้ง ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนโดยหญ้าทะเลจากการสังเคราะห์ด้วยแสงและกักเก็บไว้ในโคลนตะกอนมีความไวกว่าป่าฝนถึง 35 เท่า

อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศชายฝั่งถือเป็นหนึ่งในระบบนิเวศของโลกที่ถูกคุกคามมากที่สุดจากการพัฒนาชายฝั่ง การทำฟาร์ม การทำประมงไม่ถูกวิธี และมลพิษ เกิดการสูญเสียป่าชายเลนประมาณ 50% ของชายฝั่งแถบคาริเบียนในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาจากการทำปศุสัตว์ การสร้างถนน และการท่องเที่ยว หญ้าทะเลกว่า 92% ของสหราชอาณาจักรสูญเสียในช่วง 2 ศตวรรษที่ผ่านมา โดยกว่า 39% สูญหายไปตั่งแต่ปี ค.ศ. 1980 เท่านั้น พื้นที่ของหญ้าทะเลซึ่งครอบคลุมเพียงประมาณ 0.1% ของมหาสมุทรทั่วโลกแต่กลับสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ถึง 18% กำลังลดปริมาณลง 7% ในทุกปี สำหรับประเทศไทยนั้น มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 2,500 ตารางกิโลเมตร และเพิ่มขั้นเล็กน้อยในปีที่ผ่านมาซึ่งถือว่ายังไม่เพียงพอสำหรับการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกขของประเทศ

ไม่เพียงเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น ระบบนิเวศชายฝั่งถือเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญ อีกทั้งยังช่วยปกป้องพื้นที่ชายฝั่งจากคลื่นพายุ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่จะให้ความสำคัญกับบลูคาร์บอน กลยุทธ์ต่างๆ สำหรับปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของโลกเรา

ที่มา / แหล่งข้อมูล
1. https://bit.ly/3Ffu56e
2. https://bit.ly/3FonLcZ
3. https://bit.ly/3F9NLsf
4. https://bit.ly/3q8FD7a
5. https://bit.ly/3K7eUzU

จัดทำโดย สำนักพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่องค์ความรู้
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

SDGs Academy 12/01/2022

SDGs Academy

Check out by Global Compact Network Thailand https://globalcompact-th.com/SDGsAcademy

SDGs Academy แนะนำเครื่องมือ SDG ACTION MANAGER เพื่อเข้าสู่ Decade of Action: ทศวรรษแห่งการทำจริง

Photos from Plant Science 's post 08/01/2022

🎉

Photos from สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย - TEI's post 06/01/2022

Photos from สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย - TEI's post

25/12/2021

📚 รอยเท้าความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Footprint)

ปัจจุบัน สถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ในขั้นวิกฤติ ในปี ค.ศ. 2016 มีสิ่งมีชีวิตลดจำนวนลงถึงร้อยละ 68 จากที่มีอยู่เดิมในปีฐาน (ค.ศ. 1970) โดยมีอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจากกิจกรรมของมนุษย์ซึ่งสูงกว่าสาเหตุทางธรรมชาติ 1,000 ถึง 10,000 เท่า ด้วยเหตุนี้ ความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจจำเป็นที่จะต้องพึ่งพิงทรัพยากรชีวภาพ โดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นสาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Coversion) การแบ่งแยกถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต (Habitat Fragmentation) การเก็บเกี่ยวที่ไม่ยั่งยืน (Unsustainable Harvest) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และมลภาวะ (Pollution) ซึ่งปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้สาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้น คือ การเพิ่มจำนวนของประชากรตลอดจนความต้องการใช้ทรัพยากรและพลังงานมากขึ้น แม้การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพจะกระทำได้ยากแต่ก็เป็นเรื่องที่ควรดำเนินการ เพราะเป็นการแสดงถึงความตระหนักในการดำเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมอีก ทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนอีกด้วย

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. มีภารกิจหลักในการสนับสนุนให้ภาคเอกชนคำนึงถึงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนากลไกการใช้ประโยชน์ควรคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมให้มีการนำเครื่องมือที่ใช้หลักการของการวิเคราะห์รอยเท้าความหลากหลายของชีวภาพไปปรับใช้ เพื่อยกระดับการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดในการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจให้สอดคล้องตามเป้าหมายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 (Post - 2020 Global Biodiversity Framework) ที่องค์การสหประชาชาติกำหนดไว้ อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ และแสดงภาพลักษณ์ที่ดีแก่สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

💢 อ่านต่อได้ที่ Biodiversity Digital Library : http://bedolib.bedo.or.th/book/185

Timeline photos 20/12/2021

Timeline photos

📌🌳ความแตกต่างระหว่าง carbon neutrality กับ net zero emission

17/12/2021
16/12/2021

A recently published article in 'Frontiers in Ecology and the Environment' of the Ecological Society of America offers a thorough recap of the salient features of the 'Dasgupta Review' and provides a three tier strategy for global biodiversity conservation and management.

https://esajournals.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/fee.2451

If biodiversity is assumed to be a “living house”, then individuals constitute the “foundation” (Tier 1), national governments and policies form the “pillars” (Tier 2), and international organizations and policies serve as the “roof” (Tier 3). Although the three components of the “house” differ operationally, integration of all three parts is essential for maintaining the structure’s overall stability. Instilling ethics and values for transformative change at all levels is crucial in the successful management of biodiversity, and for the well-being of both people and nature

15/12/2021

สผ. ให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการข้อมูลให้มีคุณภาพ และได้นำข้อมูลที่สำคัญของ สผ. เผยแพร่ในลักษณะข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) จำนวน 25 ข้อมูล ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดและดาวน์โหลดข้อมูลดังกล่าวได้ที่ ระบบศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (https://data.go.th/organization/office_of_natural_resources_and_environmental_policy_and_planning)

12/12/2021

[HIGHLIGHT] Art Discusses Anthropocene EP 3: ‘Throw-Away Culture' | 171121

Thank you WarinLab for this wonderful collaboration to raise awareness on such an inportant topic

09/12/2021

ประชาสัมพันธ์เชิญสมาชิก B-DNA และเครือข่ายที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา Combatting Illegal Wildlife Trade Forum 2021 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 8.30-16.30 ในรูปแบบ Hybrid forum สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ได้ที่ https://forms.gle/pnVoDkrKTrEvwRCBA
---------------------------------
การสัมมนาการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ประจำปี 2564
(Combatting Illegal Wildlife Trade Forum 2021)
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ขอเชิญร่วมงานสัมมนา “การต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ประจำปี 2564 (Combatting Illegal Wildlife Trade Forum 2021)” ในวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 8.30-16.30 น. ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบออนไลน์ (โปรแกรม Zoom) โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) สัตว์ป่าโลกสากล-ประเทศไทย (WWF) World Animal Protection (WAP) และองค์กรภาคีกว่า 15 องค์กร ภายในงานสัมมนามีหัวข้อที่น่าสนในดังนี้
• สถานการณ์การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในภูมิภาคเอเชียในสถานการณ์โควิด-19
โดย เมทินีย์ ภัสสราอุดมศักดิ์ นักวิจัย TRAFFIC Southeast Asia
• เทคโนโลยีและนวัตกรรมในงานต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายของประเทศไทย
โดย พลวีย์ บูชาเกียรติ หัวหน้าฝ่ายฐานข้อมูลอาชญากรรมสัตว์ป่า
• การยุติการค้างาช้างและฟาร์มเสือโคร่งผิดกฎหมาย
โดย เจษฎา ทวีกาญจน์ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย
• การควบคุมการผสมพันธุ์สัตว์ป่าในกรงเลี้ยง
โดย ปัญจเดช สิงห์โท World Animal Protection (WAP)
• ผลการสำรวจแนวทางการลดความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ป่า
โดย ดารารัตน์ วีระพงษ์ องค์กร TRAFFIC
• การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความต้องการสัตว์ป่าผิดกฎหมาย
โดย Eleanora De Guzman องค์กร USAID Wildlife Asia
• INATURALIST เครื่องมือในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย
โดย นายอุเทน ภุมรินทร์ Nature Plearn Club
• มาตรการทางการเงินอย่างยั่งยืนในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย
โดย ดร.อรพรรณ ณ บางช้าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ทั้งนี้ทางคณะผู้จัดงานได้จัดเตรียมล่ามและอุปกรณ์สำหรับแปลภาษา (ไทย-อังกฤษ) เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้เข้าร่วมด้วย

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่ : https://forms.gle/pnVoDkrKTrEvwRCBA
Join Zoom Meeting : https://us06web.zoom.us/j/83304505612?pwd=NWV2QUNIUGI3V2toREZXM25iS254UT09
(Meeting ID: 833 0450 5612 Passcode: 639417)

หมายเหตุ : เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางผู้จัดงานได้จัดเตรียมพยาบาลวิชาชีพและอุปกรณ์ชุดตรวจ ATK ไว้สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาด้วย หากท่านประสงค์จะรับการตรวจ ATK สามารถแจ้งในระบบลงทะเบียนหรือแจ้งความประสงค์ได้บริเวณหน้างานสัมมนา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : 086-0939976 (ประทีป)

---------------------------------
Combatting Illegal Wildlife Trade Forum 2021
IUCN-Thailand Programme in collaboration with the Department of National Parks Wildlife and Plant Conservation, the United Nations Development Programme, World Wildlife Fund-Thailand, World Animal Protection and partners in Thailand will organize the “Combatting Illegal Wildlife Trade Forum 2021” on 13 December 2021, from 8:30-16:30 hrs. at Rama Garden Hotel Bangkok. Simultaneously, the forum will be organized online via Zoom application for hybrid joining.
Key topic ;
• Illegal Wildlife Trade situation analysis in Asia and COVID-19
• Innovation and technology to combat illegal wildlife trade in Thailand
• INATURALIST application, tool for combatting illegal wildlife trade
• Why we stop illegal ivory and tiger farm?
• New act and measure to control captive breeding
• Wild meat reduction campaign
• Sustainable financial mechanism for combatting illegal wildlife trade in Thailand

We would like to extend an invitation to you to attend the forum on the date and time mentioned above.
• Registration form : https://forms.gle/pnVoDkrKTrEvwRCBA)
• Zoom link : https://us06web.zoom.us/j/83304505612?pwd=NWV2QUNIUGI3V2toREZXM25iS254UT09
(Meeting ID: 833 0450 5612 Passcode: 639417)

The meeting will be held in TH-ENG with interpretation.

We look forward to seeing you at the coming forum.

08/12/2021

เป็นกราฟที่ทำนายอนาคตของโลกได้ดี เพราะนี่คือราคาคาร์บอน ยูโร/ตัน ที่พุ่งกระฉูดอย่างที่ไม่มีใครคาดมาก่อน

ก่อน COP26 ราคาอยู่ที่ 60 ยูโร/ตัน ผ่านไปไม่ถึงเดือน ราคา 89 ยูโร/ตัน (เงินไทย 3,425 บาท)

นักวิเคราะห์เคยคาดว่า ก่อนปี 2030 คงเห็นราคา 100 ยูโร/ตัน แต่ในวันนี้ การคาดการณ์เปลี่ยนไป เราอาจได้เห็น 100 ยูโร/ตัน ก่อนคริสมาสต์ปีนี้

หมายถึงเศรษฐกิจโลกกำลังขยับอย่างรุนแรง ทุนย้ายฐานจากโลกยุคเก่า เข้ามาสู่เศรษฐกิจโลว์คาร์บอน

ป่าชายเลน/หญ้าทะเล คือแหล่งดูด/กักเก็บคาร์บอนดีสุด แม้ตัวเลขต่างกันตามสถานที่ แต่ 1-3 ตัน/ไร่/ปี อาจเป็นไปได้

ระบบนิเวศที่มีมูลค่ามหาศาล ไร่ละ 7,000 บาท/ปี และมั่นใจเลยว่าอีกไม่นานถึงหมื่นแน่

ใครจะไม่เชื่อว่าโลกเปลี่ยนก็ตามสบาย รออีก 5-8 ปี ตอนที่สินค้าส่งออกไปยุโรปอเมริกาญี่ปุ่นเกาหลี ฯลฯ ต้องจ่ายเงินซื้อคาร์บอนตันละหมื่น แล้วค่อยร้องกรี๊ด

เรียนรู้ ตั้งรับ ปรับตัว เริ่มลงมือ

โลกยุคใหม่ไร้คอมฟอร์ตโซนแล้วครับ

🙈🙉🙊 = 😱

06/12/2021

Carbom neutrality

📌 ขอเชิญรับฟังเสวนาวิชาการของนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 25

ในวันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ตั้งแต่เวลา 08.30-12.00 น.

การเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom:
https://us02web.zoom.us/j/89535248488?pwd=R3REd0xSWDFYRGY5VkVIYlZvY3Rzdz09

06/12/2021

As the nexus between Biodiversity-Climate and Biodiversity-Water is being unravelled further, there’s a suite of frameworks/tools/guidance and case studies to address Biodiversity opportunities.

Agenda/Webinar Run-down
a) Unravelling recent Developments concerning Biodiversity
b) Why Financial Markets should care about Biodiversity - Mr. Peter Elwin - Director of Fixed Income | Planet Tracker
c) Biodiversity Country Plans and implications for private sector - Mr. Herve Barois – Technical Advisor | UNDP Biofin
d) Biodiversity guardrails using STAR metrics/framework – Mr. Jan-Willem Van Bochove - Senior Principal Consultant | The Biodiversity Consultancy
d) Biodiversity Protection in Action - Dr Hishmi Jamil Husain - Head of Biodiversity & Sustainable Development | Tata Steel

Date: Dec 7, 2021
Time: 10 AM CET | 5 PM China/Singapore | 6 PM Japan/South Korea | 2:30 PM India
Registration : https://tuv.zoom.us/webinar/register/4316375681405/WN_j97f56zdROWktev9GKLLCQ

04/12/2021

#พะยูนระยอง

04/12/2021

โตโยต้าเมืองสีเขียว

TOYOTA #โตโยต้าเมืองสีเขียว สร้างกระบวนการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

Photos from กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง's post 04/12/2021

Photos from กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง's post

02/12/2021

งานสัมมนาประจำปี 2564 (TBCSD Annual Event 2021) : Vision 2050

B-DNA ยินดีที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ

02/12/2021
29/11/2021

ผมได้รับมอบหมายจากคณะผู้จัด Marine Science Conferrence : UN Ocean Science Decade ให้ดูแลเสวนา “สัตว์หายาก & โลกร้อน”

เดิมทีจะเชิญผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมาเล่าให้ฟังเหมือนงานเสวนาทั้งหลาย ให้เวลาเป็นรอบ ตอบคำถามนิดหน่อย ตุ๊ง…จบ !

เป็นเซฟโซนที่ทำทุกอาทิตย์ ชีวิตอยู่ในกรอบ

แน่นอนว่าเซฟโซนดี แต่บางครั้งเราก็อยากท้าทายบ้าง โดยเฉพาะการประชุมครั้งใหญ่เพื่ออนาคตมหาสมุทร

ผมจึงไถ่ถามคณะผู้จัดอีกครั้ง ตามใจผมแน่นะ ?

ผู้ประสานงานตอบกลับว่าเชิญตามสบายค่ะอาจารย์

เพราะงั้น ได้เล้ย !

การเสวนาที่เบื่อแล้วเซฟโซนจึงเริ่มต้น อับดับแรกคือเชิญธรามาเป็นประธานร่วม 😳

พ่อลูกผูกพันในการเสวนาระดับชาติ เชื่อมต่อถึงทศวรรษมหาสมุทรของ UN

คิดแค่นี้ก็ทะลุกรอบแหกกฎสะใจวุ้ย 😈

แต่การเชิญธรามีเหตุผล เพราะคนที่ผมรู้จักและคลั่งโลกในอดีต การสูญพันธุ์ของสัตว์โบราณระดับอมาเกดอน 5 ครั้ง โลกที่อุณหภูมิเปลี่ยน 10 องศาในพริบตา

นอกจากธราแล้ว ผมคิดถึงคนอื่นไม่ออก ภาพที่ธราไปดูสัตว์ประหลาดตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่เด็กตัวกะเปี๊ยกจนโต คงพอบอกได้

ผมจึงอยากให้ธรามาเล่าเรื่องพวกนั้นให้ฟัง และมันก็ตรงกับหัวข้อเสวนาที่เขากำหนดมาให้ผมรับผิดชอบเป๊ะๆ

ผมยังเชิญดร.เพชร Petch Manopawitr มาร่วม เพราะน่าจะชอบอะไรสไตล์นี้ ยังมีความรู้เรื่องเล่าที่เกี่ยวกับองค์กรระดับโลกอีกเยอะ

สำหรับในไทย สถานการณ์ กฎหมาย โลกร้อน ทางออก ผมพอเล่าได้ ยังอาจมีคนอื่นมาแจม

จะเป็นยังไงก็ตามแต่ สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือผมไม่รู้ว่าการเสวนาจะออกมาในรูปแบบใด

ไม่รู้คือตื่นเต้น คือไม่เบื่อแล้วจ้า ธราจะเล่าเรื่องพะยูนใจโหดตบสลอธทะเลจนสูญพันธุ์ยังไงนะ ?

ผมมีเวลา 2 ชั่วโมง ตั้งแต่บ่ายโมง-บ่ายสาม วันศุกร์ที่ 3 ธค. หรือศุกร์นี้แหละ

จึงเชิญชวนเพื่อนธรณ์เข้ามาร่วมฟัง ร่วมตื่นตะลึงกับสัตว์ยักษ์ในอดีตที่สุดท้ายก็พ่ายแพ้กับโลกร้อน

ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ก่อนเราจะตายยกแก๊งค์ตามสัตว์เหล่านั้นไป

หากว่าง เมื่อถึงวันเวลาดังกล่าว ขอเชิญกดลิงค์ข้างล่างนี่ได้เลยครับ

🦕 🦖 🐋 🦈 🌏 🥰

เสวนาการอยู่รอดของสัตว์ทะเลหายาก
วันที่ 3 ธ.ค. 64 เวลา 13:00-15:00 น.

https://us02web.zoom.us/j/87091893608?pwd=Y3lwVEJwOEF6b2hkL1VycW
1jMG1Vdz09

Meeting ID: 870 9189 3608
Passcode: 325292

ประเภท

ผลิตภัณฑ์

The overall goal of the platform is to strengthen the Private Sector’s role in nature conservation in Thailand, with a focus on biodiversity and contributing to achieving the Sustainable Development Goals and Aichi Biodiversity Targets. B-DNA provides companies the opportunity to build their awareness and capacity for sustainability, and to network and collaborate on conservation projects across Thailand.

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


Bangkok
10110

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

Environmental Conservation อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
Love Wildlife Love Wildlife
77 Nakornsawan Road Wat Sommanat, Pomprap Sattruphai
Bangkok, 10100

Love Wildlife is a Thai non-profit organization dedicated to protecting southeast Asian wildlife through outreach and education. Thank you for the support!

SDplanNet-Asia & Pacific SDplanNet-Asia & Pacific
IGES Regional Centre, 604, SG Tower, 6th Floor, 161/1 Soi Mahadlek Luang 3, Rajd
Bangkok, 10330

Network for Integrated Planning and Sustainable Development Strategies in Asia&Pacific

Environmental and Social Foundation : ESF Environmental and Social Foundation : ESF
92/283 Moo 2, Soi Ekkarat 15/1, Phaholyothin 87 Road , Lak Hok
Bangkok, 12000

มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

C3Leng Recycle C3Leng Recycle
Bangkok, 10400

Sustainable Online Recycling Application ซีซาเล้ง - พัฒนาระบบรีไซเคิลไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่ ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ซอย
Bangkok, 10220

ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพจของคนรักษ์โลกรักษ์เพื่อนร่วมโลก

FREC Bangkok FREC Bangkok
77 Nakornsawan Road Wat Sommanat
Bangkok, 10100

Designed to be a shared space for the neighborhood to enjoy, Ford Resource and Engagement Center (FREC) Bangkok is home to eight non-governmental organizations that run programs fo...

Volunpsy Volunpsy
Bangkok, 10330

ฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Anurak Chula Youth Camp Anurak Chula Youth Camp
Chulalongkorn University
Bangkok, 10330

เพราะเราเชื่อว่าเยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ACE - Action for Climate Empowerment Thailand ACE - Action for Climate Empowerment Thailand
Action For Climate Empowerment Thailand, National Focal Point, 49 Rama 6 Soi 30,
Bangkok, 10400

Action for Climate Empowerment Thailand National Focal Point under UNFCCC

โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก (Chula Loves the E โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก (Chula Loves the E
Bangkok, 10330

โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก (Chula Loves the Earth) "มือถือเก่า...เรารีไซเคิลได้"

Mangroves for the Future Mangroves for the Future
63 Sukhumvit Soi 39 Wattana
Bangkok, 10110

MFF is a partnership-based regional initiative which promotes investment in coastal ecosystem conser