ทนายคดีเช็ค
ตำแหน่งใกล้เคียง การปฏิบัติตามกฎหมาย
ซอยลาดพร้าว 18 ถนนลาดพร้าว
ซอยลาดพร้าว 101 แยก 50 ถนนลาดพร้าว101 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
ถนนนวมินทร์
10240
วังทอง
ตรงข้ามศูน
10240
ซอยรามคำแหง 43/1 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
สถาบันแอ๊คกรุ๊ป ซอย รามคำแหง
ถนน ศรีวรา แขวงพลับพลา เขตวั
คลังสินค้า Law Note 369/1 ซอยโชคชัย 4 ซ. 13 ถ. โชคชัย
Wangtonglang
ซอยนวลจันทร์30 ถนนนวลจันทร
10310
ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท เงินทุน
10240
ถนนนวมินทร์ ซอยนวมินทร์
10310
รามคำแหง
ตำแหน่งใกล้เคียง นักบัญชี
10240
Ladprao 101 Soi Ladprao Road Klongchan Bangkapi
บริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด
บริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด 2571/1 ซอฟท์แวร์รีสอร์ท ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมา
บริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด 633 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
10240
ให้คำปรึกษากฎหมายและรับว่าความคดีเช็คทุกคดี

ออกเช็คอย่างไร ? เป็นความผิดทางอาญา
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. ๒๕๓๔
ความผิดอาญาอาญาว่าเช็คเด้งนั้นหลักเกณฑ์เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 ในมาตรา 4 ที่บัญญัติว่า"ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
(2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
(3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
(4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
(5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต
เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ"
ปรึกษากฎหมาย โทร 0959567735 หรือ คลิกไลน์ https://lin.ee/bJiT1ze

ออกเช็คเพื่อค้ำประกัน ไม่มีความผิดตาม พรบ.เช็คนะจ๊ะ

สั่งจ่ายเช็คโดยมีดอกเบี้ยผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย ไม่ผิด พรบ.เช็ค ผู้ออกเช็คไม่มีความผิดทางอาญา
การสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้เงินยืมโดยมีดอกเบี้ยผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย ต่อมาธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน ผู้รับเช็คจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย เพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย และทำให้การออกเช็คไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เรื่องนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2543
จำนวนเงินในเช็คพิพาทได้รวมดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ. 2475 มาตรา 3(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 การที่ผู้เสียหายรับเช็คพิพาทจากจำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ถือได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดเกินอัตราตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ก็จะถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้ทรงโดยชอบและเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ไม่ได้ ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ตามมาตรา 3(1) การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นไปโดยไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตามมาตรา 120,121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2545
จำเลยกู้เงินจากผู้เสียหายเพียง 50,000 บาท แต่ในสัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยกู้ไป 60,000 บาท แสดงว่าเงิน 10,000 บาท ที่เกินมาคือดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดจากจำเลย ปรากฏว่าในสัญญากำหนดเวลาใช้เงินกู้คืนภายใน 1 เดือน จึงเท่ากับเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราตามกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) การที่ผู้เสียหายรับเช็คพิพาทจากจำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายเรียกเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตรา แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวก็จะถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
แม้ผู้เสียหายที่เป็นผู้กระทำผิดจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนโดยชอบตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และ 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914 - 4915/2548
เช็คทั้งสองฉบับเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายชำระค่าผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยจากการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วมซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 กำหนดให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้มีความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การออกเช็คทั้งสองฉบับของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
ปรึกษากฎหมาย โทร 0959567735 หรือ คลิกไลน์ https://lin.ee/bJiT1ze

หากเช็คมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน และตกมาอยู่ในมือของผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ทรงจะมีสิทธิรับประโยชน์ในตั๋วเงินนั้นได้หรือไม่
คำถาม : หากเช็คมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน และตกมาอยู่ในมือของผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ทรงจะมีสิทธิรับประโยชน์ในตั๋วเงินนั้นได้หรือไม่
คำตอบ : การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์กรณี
เมื่อผู้ทรงได้จ่ายเงินจำนวนตามเช็คนั้นแล้วโดยไม่ได้เป็นฝ่ายประมาท เช็คจึงอยู่ในการครอบครองของผู้ทรง จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบตามกฎหมาย สามารถเอาประโยชน์จากเช็คนั้นได้เสมือนดังว่าไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลยและจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความตามเช็คนั้นก็ได้ ผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงตามเนื้อความแห่งเช็คนั้น
ตัวอย่าง
นาย ก. ผู้ทรงได้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ระบุในเช็คที่นาย ค. ผู้สั่งจ่าย สั่งจ่ายไปยังธนาคาร ข. จ่ายให้แก่ตน ซึ่งการแก้ไขดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่การแก้ไขนั้นเห็นไม่ประจักษ์
ดังนี้ เมื่อธนาคาร ข. ได้จ่ายเงินจำนวนตามเช็คนั้นแล้วโดยมิได้เป็นฝ่ายประมาท เช็คพิพาทจึงอยู่ในการครอบครองของธนาคาร ข. ธนาคารจึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบตามกฎหมาย สามารถเอาประโยชน์จากเช็คนั้นได้เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลยและจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วนั้นก็ได้ นาย ค. ผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดต่อธนาคารตามเนื้อความแห่งเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2524
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 3,626 บาทให้แก่ ว. ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินเป็น 903,626 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม การแก้ไขดังกล่าวหากไม่ตรวจโดยละเอียดก็ยากที่จะสังเกตได้ ดังนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์กรณี จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคสอง
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นสิทธิ) ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นข้อสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว. เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
มาตรา 1007 ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคำรับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง
แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้
ปรึกษากฎหมาย โทร 0959567735 หรือ คลิกไลน์ https://lin.ee/bJiT1ze
#ทนายความ #คดีเช็ค #คดีความ #กฎหมาย

กรณีที่มีการลงลายมือชื่อในเช็คปลอม โดยผู้สั่งจ่ายเป็นฝ่ายประมาท ธนาคารมีสิทธิที่จะฟ้องผู้สั่งจ่ายในมูลหนี้เช็คที่ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่นำเช็คมาขึ้นเงินได้หรือไม่
ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินนั้น ถ้ามีการปลอมลายมือชื่อในตั๋วเงินหรือลงลายมือชื่อโดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้ให้ความยินยอม ผู้ที่ลงลามือชื่อปลอมจะแสวงหาผลประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดหาได้ไม่ เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายถูกบังคับใช้เงินนั้น จะอยู่ในฐานผู้ต้องถูกตัดบทมิให้ยกเอาลายมือชื่อปลอมนั้นเป็นข้อต่อสู้
👉คำถาม : ธนาคารมีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อผู้สั่งจ่ายเช็ค ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายไม่ตรวจดูให้ดีก่อน ว่าเช็คนั้นมีการปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้หรือไม่
✅คำตอบ : มีสิทธิฟ้อง หากเป็นกรณีการประมาทไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจดูให้ดี ผู้สั่งจ่าย ต้องตกเป็นผู้ที่ต้องถูกตัดบทตามกฎหมาย ห้ามนำข้ออ้างดังกล่าวมาใช้ปฏิเสธต่อธนาคารผู้จ่ายเงิน
ตัวอย่าง
นาย ก. ได้มอบสมุดเช็คของบริษัท ให้กับนาย ค. เก็บไว้กับให้ นาย ค. เป็นผู้กรองข้อความในเช็คมาให้กรรมการลงนามและทุกสิ้นเดือนธนาคารจะส่งสำเนาการ์ดบัญชีให้แก่นาย ก. เพื่อตรวจสอบหาความผิดปกติวิสัยของการทำงาน
เมื่อนาย ก. ขาดความระมัดระวัง ซึ่งควรจะตรวจดูเช็คที่นาย ค.ปลอมลายมือชื่อนำมาส่งตรวจนั้นให้ดีก่อน แต่นาย ก. หาได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้น นาย ก. จึงเป็นผู้ต้องถูกตัดบทตามกฎหมาย กล่าวคือ ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินนั้น ถ้ามีการปลอมลายมือชื่อในตั๋วเงินหรือลงลายมือชื่อโดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้ให้ความยินยอม ผู้ที่ลงลามือชื่อปลอมจะแสวงหาผลประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดหาได้ไม่ เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายถูกบังคับใช้เงินนั้น จะอยู่ในฐานผู้ต้องถูกตัดบทมิให้ยกเอาลายมือชื่อปลอมนั้นเป็นข้อต่อสู้ ดังนี้ เมื่อนาย ก. มีหน้าที่ต้องตรวจดูเช็คที่นาย ค. ส่งมาให้ แต่ด้วยความประมาท จึงไม่ตรวจดูให้ดีก่อน นาย ก. ผู้สั่งจ่าย ต้องตกเป็นผู้ที่ต้องถูกตัดบทตามกฎหมาย ห้ามนำข้ออ้างดังกล่าวมาใช้ปฏิเสธต่อธนาคารผู้จ่ายเงินให้กับนาย ค. ดังนั้น นาย ก. จึงต้องรับผิดต่อธนาคาร
⭐คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2534
กรรมการของบริษัทโจทก์ได้มอบสมุดเช็คของบริษัทให้ ค. เก็บไว้กับให้ ค. เป็นผู้กรอกข้อความในเช็คมาให้กรรมการลงนามและทุกสิ้นเดือนธนาคารจำเลยจะส่งสำเนาการ์ด บัญชีให้โจทก์ตรวจสอบซึ่งหากโจทก์ใช้ความระมัดระวังตรวจดูบ้าง โจทก์ย่อมจะทราบว่ามีการปลอมลายมือชื่อกรรมการของโจทก์ลงในเช็คของโจทก์ตั้งแต่ฉบับแรกไปถอนเงิน เพราะปกติโจทก์จะไม่สั่งจ่ายเช็คเงินสดจำนวนมากโจทก์จึงเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคแรกตอนท้าย จำเลยจึงมีสิทธินำจำนวนเงินที่จ่ายตามเช็คทั้ง 8 ฉบับมาลงบัญชีของโจทก์ว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยได้
⭐คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2537
ธนาคารจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม เหตุแห่งความเสียหายในเรื่องนี้บังเกิดจากการปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเช็คและจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คปลอมฉบับนั้น แม้การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดีผู้ร้ายจะหาโอกาสลักเช็คไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ยากก็ตาม
แต่เมื่อความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่ปลอมเช็ค การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดี จึงไม่ให้ผลโดยตรงที่จะให้บังเกิดการปลอมเช็คและนำไปขึ้นเงินได้สำเร็จ โจทก์เก็บสมุดเช็คพิพาทไว้ในกระป๋องขนมปังบนโต๊ะทำงานของโจทก์ซึ่งโจทก์และพนักงานใช้เป็นที่ทำงานของห้างหุ้นส่วนมีคนเข้าออกภายในห้องหลายคน ส่วนใหญ่พนักงานทุกคนทราบว่าโจทก์เก็บเช็คไว้ในกระป๋องดังกล่าว การกระทำของโจทก์เพียงแต่ขาดความรอบคอบในการเก็บรักษาสมุดเช็คเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1008 และแม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบ เมื่อเช็คพิพาทเกิดสูญหายและมีผู้ไม่สุจริตนำไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้กระทำโดยประมาทจำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์
📍 มาตรา 1008 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้
ปรึกษากฎหมาย โทร 0959567735 หรือ คลิกไลน์ https://lin.ee/bJiT1ze
#ทนายความ #คดีเช็ค #คดีความ #กฎหมาย

คดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค สถานที่ใดที่จะถือว่าเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น และศาลใดที่มีเขตอำนาจ
ศาลใดจะมีอำนาจชำระคดีอาญาเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 ที่บัญญัติว่า
“มาตรา 22 เมื่อความผิดเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น แต่ถ้า
(1) เมื่อจำเลยมีที่อยู่ หรือถูกจับในท้องที่หนึ่งหรือเมื่อเจ้าพนักงานทำการสอบสวนในท้องที่หนึ่งนอกเขตของศาลดังกล่าวแล้ว จะชำระที่ศาลซึ่งท้องที่นั้น ๆ อยู่ในเขตอำนาจก็ได้
(2) เมื่อความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทยให้ชำระคดีนั้นที่ศาลอาญา ถ้าการสอบสวนได้กระทำลงในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขตของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้นได้ด้วย”
👉คำถาม : คดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค สถานที่ใดที่จะถือว่าเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น และศาลใดที่มีเขตอำนาจ?
✅คำตอบ : สำหรับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดขึ้น ณ สถานที่เขียนเช็คและสถานที่ตั้งธนาคารที่นำเช็คเข้าบัญชีและสถานที่ตั้งธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน เกี่ยวเนื่องกันหลายท้องที่
ศาลที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่นั้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
⭐คำพิพากษาฎีกาที่ 1229/2519 (ประชุมใหญ่)
จำเลยสั่งจ่ายเช็คธนาคารไทยพัฒนาจำกัด สาขากาญจนบุรีให้โจทก์ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีโจทก์ที่ธนาคารไทยพัฒนาจำกัด สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวเรียกเก็บเงินจากธนาคารไทยพัฒนาจำกัด สาขากาญจนบุรี ธนาคารไทยพัฒนาจำกัด สาขากาญจนบุรี ปฏิเสธการจ่ายเงิน
ดังนี้ ความผิดเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น เมื่อธนาคารซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่จังหวัดกาญจนบุรีต้องถือว่า เหตุเกิดในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี หาใช่เกิดขึ้น ณ สถานที่เขียนเช็คและสถานที่ตั้งธนาคารที่นำเช็คเข้าบัญชีและสถานที่ตั้งธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินเกี่ยวเนื่องกันหลายท้องที่ไม่
แม้ธนาคารที่นำเช็คเข้าบัญชีและธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นของเจ้าของเดียวกันก็ตาม ธนาคารที่นำเช็คเข้าบัญชีหาได้เป็นผู้จ่ายเงินตามเช็คไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินตามเช็คให้เท่านั้น เมื่อธนาคารซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินอยู่จังหวัดกาญจนบุรี เหตุจึงเกิดในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี ถือไม่ได้ว่าความผิดเกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานครด้วย
⭐คำพิพากษาฎีกาที่ 3414/2527
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น เมื่อธนาคารซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ที่ จังหวัดภูเก็ต จึงต้องถือว่าความผิดเกิดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตโจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดภูเก็ต
ปรึกษากฎหมาย โทร 0959567735 หรือ คลิกไลน์ https://lin.ee/bJiT1ze
#ทนายความ #คดีเช็ค #คดีความ #กฎหมาย #ผู้ทรงเช็ค

คดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค คำฟ้องต้องระบุสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำความผิดหรือที่เรียกว่า “สถานที่เกิดเหตุ”
องค์ประกอบของความผิดทุกข้อที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานเป็นสาระสำคัญที่โจทก์ต้องบรรยายในคําฟ้อง คําฟ้องที่ขาดองค์ประกอบของความผิดเป็นคําฟ้องที่มิได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทำผิด ซึ่งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) (ฎ.713/2539) ทั้งนี้ การที่จะพิจารณาว่าคําบรรยาย ฟ้องครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากบทกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง (ฎ.6241/2538)
👉คำถาม : คดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค คำฟ้องต้องระบุสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำความผิดหรือที่เรียกว่า “สถานที่เกิดเหตุ” หรือไม่
✅คำตอบ : คำฟ้องต้องระบุสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำความผิดหรือที่เรียกว่า “สถานที่เกิดเหตุ” มิฉะนั้น จะเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) สำหรับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏเขตที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค
⭐คำพิพากษาฎีกาที่ 3788/2527
การระบุถึงสถานที่ที่เกิดการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ไม่จำต้องระบุตำบลหรือแขวงของสถานที่เกิดเหตุเสมอไป โดยเพียงแต่กล่าวไว้พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็เป็นการเพียงพอแล้ว
ฟ้องของโจทก์ระบุว่าเหตุเกิดที่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด สาขาทรงวาด เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร อันเป็นธนาคารตามเช็ครายพิพาทของจำเลย เป็นการบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดที่สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
⭐คำพิพากษาฎีกาที่ 3967/2529
โจทก์ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเช็คที่นำมาฟ้องเป็นจำนวนหลายสิบฉบับ และได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า เช็คแต่ละฉบับนั้นเป็นของธนาคารใดพร้อมกับระบุสาขาของธนาคาร อันถือว่าเป็นสถานที่ที่เกิดการกระทำความผิดเนื่องจากธนาคารแห่งนั้นปฏิเสธการจ่ายเงินไว้ด้วย จึงหาจำเป็นที่จะต้องระบุแขวงและเขตอีกไม่การที่โจทก์นำเอาชื่อแขวงและเขตที่เกิดการกระทำความผิดไปกล่าวรวมไว้ในตอนท้ายเพื่อบอกสถานที่เกิดเหตุย่อมเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
📍มาตรา 158 ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี
(1) ชื่อศาลและวันเดือนปี
(2) คดีระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลย และฐานความผิด
(3) ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ถ้าราษฎรเป็นโจทก์ให้ใส่ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับ
(4) ชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลย
(5) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง
(6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
(7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง
ปรึกษากฎหมาย โทร 0959567735 หรือ คลิกไลน์ https://lin.ee/bJiT1ze
#ทนายความ #คดีเช็ค #คดีความ #กฎหมาย #ผู้ทรงเช็ค
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เบอร์โทรศัพท์
เว็บไซต์
ที่อยู่
45/1 ซอยลาดพร้าว 101 ซอย 38 แขวง คลอ
Bangkok
10240
เวลาทำการ
จันทร์ | 10:00 - 19:00 |
อังคาร | 10:00 - 19:00 |
พุธ | 10:00 - 19:00 |
พฤหัสบดี | 10:00 - 19:00 |
ศุกร์ | 10:00 - 19:00 |
เสาร์ | 10:00 - 19:00 |
วิภาวดี-รังสิต
Bangkok, 10210
บริการทางวิชาการ ความรู้ด้านการสอบ
Bangkok, 10900
ห้ามโกงห้ามเกรียน หากพบว่าแอดกลุ่มเกรียน ให้แจ้งแอดผู้ดูแลทันที
Bangkok
A personal blog to share knowledge about legal English, the language of the law, and legal translati