Sustainable Ocean Alliance Thailand - SOA Thailand

Sustainable Ocean Alliance Thailand - SOA Thailand

แชร์

A community of ocean lovers in Thailand, collaborating to share, discuss, and take actions against marine environmental issues. Join us to make the difference!

Photos from อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ - Mu Ko Surin National Park's post 30/10/2023
Photos from สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย's post 16/10/2023
15/10/2023
Photos from ใครไม่รัก ซีสะรัก - I Slug youuu's post 18/09/2023
Call for application: IRDR Young Scientists Programme (5th batch) 23/08/2023

Call for application: IRDR Young Scientists Programme (5th batch) IRDR Young Scientists Programme is established to promote capacity building of young professionals, and encourage them to undertake innovative and needs-based research which improves DRR research, policy and practice interaction.

23/08/2023

🪐 ‘Science Communication Festival 2023’ 🪐
ครั้งแรกของการรวมตัวคนที่ชอบ ‘สื่อสาร’ และชอบ ‘วิทยาศาสตร์’ มากที่สุดครั้งแรกของไทย
หนึ่งในเทศกาลบางกอกวิทยา ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
ในเฟสติวัลนี้ จะไม่มีกำแพงกั้นระหว่าง สายวิทย์ กับ สายศิลป์ เพราะคนเราสามารถอินได้กับทั้งสองเรื่อง ธีมงานปีนี้จึงมาในชื่อว่า ‘Science and Art’ (ศาสตร์และศิลป์) ที่รวมไว้ทั้งวิทยาศาสตร์ที่ทุกคนสงสัยและศิลปะที่ทุกคนหลงใหลมาไว้ในที่เดียว
ความสนุกและสร้างสรรค์ด้วยแรงบันดาลใจจากวิทยาศาสตร์และศิลปะ จะพาคุณไปพบกับกิจกรรมและนิทรรศการน่าตื่นตาตื่นใจ ไม่ว่าจะเป็น
📌 นิทรรศการแสดงภาพถ่ายที่มีแรงบันดาลใจจากวิทยาศาสตร์ ที่ผ่านการคัดเลือกจากตัวจี๊ดการสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่าง ‘อพวช.’ (องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ)
📌 นิทรรศการที่จะทำให้คุณได้เปิดประสาทสัมผัส ให้ใกล้ชิดกับผลงานศาสตร์และศิลป์โดยศิลปินชาวเชียงใหม่อย่าง ‘tomorrow.Lab’
📌 นิทรรศการแสดงภาพวาดทางชีววิทยา โดยอาจารย์ยอดฝีมือการวาดภาพ ที่เป็นตัวจริงด้านชีววิทยา จะมาแสดงผลงานจากตัวแทนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
📌 กิจกรรมเวิร์กช็อปที่จะพาคุณสำรวจเสียงดนตรีในมุมวิทยาศาสตร์ พับกระดาษอย่างมีหลักการ ไปจนถึงคอร์สวาดภาพและออกสำรวจสิ่งมีชีวิตด้วยตัวเอง
📌 กิจกรรมเสวนาตลอดสองวัน โดยผู้ที่คลุกคลีกับการสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่เป็นประจำ ทั้งในหัวข้อของบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ พางูมาให้รู้จักมากกว่าที่เคย หรือเลยไปถึงการชวนมองท้องฟ้าและดวงดาว
Science Communication Festival 2023 จัดขึ้นวันที่ 26 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 11.00 - 20.00 น. ณ อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ (โรงงานผลิตยาสูบ 5) สวนเบญจกิติ
งานนี้เข้าร่วมฟรี ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://forms.gle/cXXPntxNJxT5DvWu5
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าเพื่อสนับสนุนการจัดงานได้ที่
LINE OA: (มี @)
หรือคลิกที่ลิงก์นี้ https://lin.ee/jdR2JK3

20/08/2023
20/08/2023

ปลาหมอสีคางดำ เป็น alien species ผู้พบเห็นสามารถแจ้งเบาะแส และช่วยแชร์ต่อเพื่อให้หน่วยงานของรัฐเข้าควบคุม “หัวโตคางดำ” คล้ายแต่ไม่ใช่ปลานิล ❌🐟

📍“ปลาหมอสีคางดำ” ส่อระบาดหนัก ร่วมกันชี้พิกัดเพื่อเร่งแก้ ก่อนระบบนิเวศสัตว์น้ำไทยพินาศ
📌ขณะนี้มีรายงานพบปลาหมอสีคางดำ หนึ่งในสัตว์น้ำต่างถิ่นต้องห้าม หรือเอเลียนสปีชีส์ ในแหล่งน้ำภาคกลาง ใต้ และอิสานหลายพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบกับการเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้งของเกษตรกรและสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบนิเวศสัตว์น้ำของไทยเสียหายหนัก
⏰โดยนับเป็นเวลามากกว่า 10 ปี นับจากปี 2553 ที่กรมประมงได้อนุญาตให้บริษัทเอกชน นำเข้าปลาหมอสีคางดำ จากประเทศกานามาทดลองเลี้ยง แต่ต่อมาได้พบว่าปลาได้ทยอยตาย และมีการแจ้งว่าได้ทำการกำจัดไปแล้ว อย่างไรก็ตามปี 2555 ได้พบการระบาดของปลาหมอสีคางดำเป็นครั้งแรกใน อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม แม้จะมีความพยายามแก้ไขปัญหาจากผู้เกี่ยวข้อง เป็นระยะ แต่ยังไม่สามารถระงับการขยายพันธุ์ของปลาหมอสีคางดำได้ทัน เพราะปลาหมอสีคางดำสามารถวางไข่และฟักตัวได้ตลอดทั้งปี โดยแม่ปลา 1 ตัว สามารถให้ไข่ได้ประมาณ 150 – 300 ฟอง
👀 ปลาหมอสีคางดำ ส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ป่าชายเลน สามารถทนความเค็มได้สูง นอกจากนี้ยังพบปลาชนิดนี้ในพื้นที่น้ำจืด แม่น้ำ และทะเลสาบน้ำจืด ในบริเวณที่มีกระแสน้ำไม่ไหลแรง ชอบกินทั้งพืช และสัตว์น้ำวัยอ่อน รวมถึงกุ้งทะเล กุ้งกุลาดํา กุ้งขาวแวนนาไม และกุ้งแชบ๊วย กรมประมงฯ ออกประกาศห้ามเพาะสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ 13 ชนิด เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 64 ซึ่งหนึ่งในนั้นคือปลาหมอสีคางดำ
ปัจจุบัน มีประชาชนรายงานพบปลาหมอสีคางดำผ่านเครื่องมือ Inaturalist แพร่ระบาดหลายพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ระยอง ไปจนถึงภาคใต้ ภาคอิสาน และจากการรวบรวมพิกัดการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำลงในแผนที่ดิจิตอลของ ครอบครัวห้องเรียนสุดขอบฟ้า พบว่ามีผู้พบเห็นปลาหมอสีคางดำ ซึ่งเดิมระบาดในแหล่งน้ำภาคกลาง ได้เริ่มกระจายตัวอยู่บริเวณจังหวัดชุมพร และสงขลา เพิ่มขึ้น
เพื่อเป็นข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบพิกัดและเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ไทยพีบีเอส ชวนผู้สนใจ ร่วมกันสำรวจพิกัดกับ C-Site พบการระบาดปลาหมอสีคางดำในพื้นที่ของท่าน เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน
เพียงสแกน QRCODE หรือ กดลิงก์เริ่มบันทึกการสำรวจ https://shorturl.asia/y6FPf

#ปลาหมอสีคางดำ

17/08/2023

ชาวประมงรุ่นใหม่ มาเรียนรู้เรื่องสภาพอากาศต่างๆ to be a better fisherman กันได้ทาง online training นี้เลยนะคะ สมัครได้ถึง 20 ส.ค.นี้!! 🌊

[NEW ONLINE COURSE]
💻 IOC/OTGA/BMKG: Weather Field School for Fishermen
❓The Weather Field School for Fishermen is an innovative program designed to provide fishermen and partner officials with a deep understanding of weather patterns and climate dynamics. By empowering fishermen with this knowledge and extending skills using marine weather information, this training course intends to enhance the ability to anticipate and adapt to extreme weather events and associated impacts. It is designed to promote sustainable fishing practices and aquaculture implementation to secure the future of marine resources
📆 course runs from 11-30 September 2023
⏳ apply before 20 August 2023
👉https://oceanexpert.org/event/3971
UNESCO
BMKG
UN Ocean Decade

17/08/2023

Looking to learn more about octopuses and vampire squids? You can download this book. Published by the United Nations FAO Fisheries and Aquaculture Department, this 389 page volume is a treasure trove of information on the world's octopus and vampire squid biodiversity.

Click the link below:
https://www.fao.org/3/i3489e/i3489e.pdf

Photos from Environmental Justice Foundation Thailand's post 15/08/2023
Photos from สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล's post 14/08/2023
Photos from Glean Thailand's post 06/08/2023
Photos from กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง's post 03/08/2023
01/08/2023

รู้ว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เต่าที่สำคัญ แถมเคยประกาศเป็นเขตประกาศอุทยานฯสิรินาท แต่กลับล้อมรั่วลวดหนามประกาศจะสร้างโรงแรม
เครือข่ายชาวเลอันดามัน ได้มีการออกแถลงการณ์ ปกป้องหาดไม้ขาวให้เต่ามะเฟือง หลังกำลังถูกกลุ่มทุนต่างชาติสร้างโรงแรมในพื้นที่โดยเครือข่ายชาวเลอันดามัน มีข้อเสนอดังนี้

1. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เร่งทบทวนการอนุญาตให้เอกชนเช่าที่เพื่อสร้างโรงแรม เพราะจะส่งผลกระทบกับพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงพื้นที่วางไข่ของเต่ามะเฟือง และเขตพื้นที่นอนหาดตามวิถีวัฒนธรรมชาวเลผืนสุดท้าย และมีคำสั่งให้โรงแรมที่ได้เช่าพื้นที่ที่ต้องรื้อถอนเสารั้วลวดหนามออกและชะลอการดำเนินการใดๆจนกว่าการจะมีแนวทางการแก้ปัญหาเสร็จสิ้น

2. ให้กระทรวงการคลังยุติการดำเนินการอนุญาต ให้เช่าที่ดิน เพราะท่านจะถือเป็นผู้ทำลายล้างพื้นที่วางไข่ของเต่าและทำลายวิถีวัฒนธรรมชาวเลอันดามัน

3. ให้กระทรวงวัฒนธรรมเร่งประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลฯ ประเพณีนอนหาดชาวเล

4. ขอให้สื่อและสังคมร่วมจับตาติดตาม ร่วมสื่อสารช่วยเรียกร้อง ไม่ให้รัฐเอื้อที่ดินชายหาดแห่งนี้ให้ทุนข้ามชาติ ให้เกิดความเป็นธรรมทางนโยบาย กฎหมาย และหยุดการใช้อำนาจทั้งจากรัฐและนายทุนผู้มีอิทธิพล

พร้อมกันนี้ชาวเลยังจะร่วมกับเครือข่ายภาคี มุ่งมั่น สู้..!! ยืนหยัด บนหลักการสิทธิและกฎหมายที่สร้างสรรค์ สันติและเป็นธรรม เพื่อรักษาแผ่นดินชายหาดไม้ขาวให้ชาวไทย ต่างชาติได้มาพักผ่อน ให้ชาวเลได้ดำรงวิถีวัฒนธรรม ให้สัตว์และพืช โดยเฉพาะเต่าทะเลได้คงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไปด้วยศรัทธาในพลังประชาชนและความเป็นธรรม

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้มีการบุกรุกปักเสาลวดหนามแสดงการครอบครองเพื่อทำโรงแรมขนาดใหญ่ ในพื้นที่อนุรักษ์หาดไม้ขาวให้เต่าทะเลวางไข่และพื้นที่ “ประเพณีนอนหาด” พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลฯ บริเวณหาดไม้ขาว ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลชนเผ่ามอแกลน มอแกน อูรักลาโว้ย ทั้ง 30 ชุมชนในจังหวัดพังงาและภูเก็ตกว่า 9 พันคนที่ใช้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ดำรงประเพณี หากิน มาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2230 เป็นเวลามากกว่า 300 ปี

ทั้งนี้พื้นที่หาดไม้ขาว ตั้งแต่ พ.ศ.2554 พื้นที่นี้ได้ถูกกล่าวอ้างว่า เป็นเขตประกาศอุทยานฯสิรินาท ชาวเลก็มีการร่วมกับอุทยานฯและหน่วยงานทำกิจกรรมปลูกป่า คำนึงถึงการอนุรักษ์เต่าทะเลวางไข่ เนื่องจากชาวเลเพียงทำมาหากินชั่วคราวและทำพิธีกรรมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เป็นเวลา 3-5 วันของทุกปี หาดบริเวณนี้จึงเป็นหาดที่สงบ เหมาะที่เต่าทะเลจะขึ้นวางไข่

อีกทั้งยังมีมติ ครม. 1 ก.พ. 2565 ให้แก้ไขปัญหาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมและเร่งดำเนินการเรื่องพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตฯ ล่าสุด นายกรัฐมนตรีได้มีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและกะเหรี่ยง โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีการดำเนินการศึกษาข้อมูลของหน่วยงานวิชาการเพื่อเสนอให้มีนโยบายประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลฯ ใน พ.ศ. 2566

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

คลิปวิดีโอการดำน้ำครั้งแรก
SOA TH x TalayThai : หมู่บ้านมดตะนอย จังหวัดตรัง
มีนาหน้าร้อนกลับมาแล้ว วันนี้ SOA ชวนทุกคนมาดื่มด่ำกับแนวปะการังน้ำตื้นยามเช้าอันสวยงามจากหมู่เกาะอาดัง หลีเป๊ะ ปีนี้แนว...
SOA Thailand: The Next Gen Camp 2021, Biodiversity and Coastal erosion
ปูติดขวด สังเวยหมู่ หาดสวรรค์
ใต้ทะเลอุทยานแห่งชาติตะรุเตา - SOA THAILAND

ประเภท

เว็บไซต์

ที่อยู่


Bangkok