Tax and Biz Law
ผู้เชี่ยวชาญภาษีอสังหาริมทรัพย์ ภา

💥ระเบียบขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ปี 2565
20 กุมภาพันธ์ 2566 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยให้มีผลใช้บังคับทันที พร้อมทั้งมีผลยกเลิกระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2553
อำนาจในการยึดอายัด ขายทอดตลาดโดยหน่วยงานจัดเก็บภาษีเอง มีในกฎหมายภาษีทุกฉบับ รวมถึงกฎหมายประกันสังคม กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (โดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) โดยกฎหมายภาษีต่างๆ มักจะเขียนว่า ให้ถือว่าเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่เรียกเก็บกรณีจ่ายภาษีไม่ถูกต้องหรือเกินกำหนดเป็น “ภาษี” ก็เพื่อให้มีเจ้าพนักงานมีอำนาจยึดอายัดขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีในมูลหนี้ภาษีจากเบี้ยปรับเงินเพิ่มรวมกับตัวภาษีนั่นเอง
และนี่คืออีกหนึ่งประเด็นสำคัญสำหรับผู้เสียภาษีกลุ่มเป้าหมายของสรรพากร เช่น พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรทราบ
📥ดาวน์โหลด ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2565 https://bit.ly/416gcDP
---
วิไล วัชรชัยสิริกุล
21 กุมภาพันธ์ 2566
🌻นักบัญชีดอทคอม


♨ รอบปี 2566 - 2569 นี้ ราคาประเมินที่ดินในกรุงเทพและปริมณฑล ตลอดจนจังหวัดเศรษฐกิจ สูงขึ้นมากพอสมควร
ใครจะซื้อขายที่ดิน ลองคำนวณค่าโอน (ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ/อากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียม 2% ของราคาประเมิน) ได้ที่
http://lecs.dol.go.th/rcal/ #/
ตรวจสอบราคาประเมิน ตอนนี้เชื่อมแปลงที่ดินแล้ว ที่ https://assessprice.treasury.go.th/
หมายเหตุ เว็บไซต์ของทางราชการส่วนมาก มักขึ้นข้อความไม่ปลอดภัย รัฐน่าจะดำเนินการติดตั้งระบบให้ได้มาตรฐาน ป้องกันการถูกแฮคข้อมูลเรียกค่าไถ่

🔍ค่าชดเชย/ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาที่ไม่มีข้อตกลงไว้ในสัญญา
(ใช้สัญญาอาจารย์กู๋ ควรคิดถึงผลทางภาษีด้วย)
#รายจ่ายต้องห้าม #ประเภทเงินได้
🔰ข้อเท็จจริง บริษัทผู้ให้เช่าจ่ายเงินค่าชดเชยให้ผู้เช่าจากการเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด โดยไม่มีข้อตกลงไว้ในสัญญา
🔻ผลทางภาษี🔺
📌 รายจ่าย เป็นรายจ่ายต้องห้ามของผู้ให้เช่า (ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ) ตามมาตรา 65 ตรี (13) บริษัทไม่มีสิทธิ์นำมาลงเป็นรายจ่าย
📌ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) และเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ผู้ให้เช่าไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
📍VAT ไม่เป็นรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
↪️อ่านเพิ่มเติม : หนังสือตอบข้อหารือที่ กค 0706/6013 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2550
https://www.rd.go.th/35481.html
วิไล วัชรชัยสิริกุล
25 มกราคม 2566

🛒สัญญาเช่าคลังสินค้า ที่มีการให้บริการอื่นๆ โดยมิได้ส่งมอบการครอบครองพื้นที่แก่ผู้เช่า ไม่ใช่สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
⚖️คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13006/2558
ข้อกฎหมาย #ประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(10) #ประมวลรัษฎากรมาตรา 77/2(1) #ประมวลรัษฎากรมาตรา78/1 #ประมวลรัษฎากรมาตรา81(1) (ต)
หน้าที่ของโจทก์ ตามสัญญา
🔹จัดหาวัสดุปูพื้นคลังสินค้า
🔹จัดหาคนงานขนข้าวสารให้แก่ผู้เช่า
🔹จัดเตรียมคลังสินค้าตามสัญญาให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะเก็บข้าวสารของผู้เช่าได้ทันที
🔹จัดหายามรักษาความปลอดภัย
ศาลฎีกาพิพากษา โจทก์มิได้ส่งมอบการครอบครองพื้นที่ให้ผู้เช่าอย่างแท้จริง (ไม่ใช่สัญญาเช่าคลังสินค้า ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม)

กรณีศึกษา ❌❌รายจ่ายต้องห้ามจากการทำแผนฟื้นฟู ปรับโครงสร้างทุน แปลงหนี้เป็นทุน
🧑🎓👩🎓✅คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9144/2560
ข้อกฎหมาย #ประมวลรัษฎากรมาตรา65 #ประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(13)
>>>
1. โจทก์ซื้อหุ้นบริษัท ส. จากผู้ถือหุ้นเดิม ร้อยละ 99.99 ของหุ้นทั้งหมด ราคาหุ้นละ 75 บาท
2. สินทรัพย์ รายได้ ต้นทุน และหนี้ส่วนใหญ่ ของบริษัท ส เกิดจากรายการบัญชีกับโจทก์
3. ทั้งสองบริษัทมีกรรมการส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกัน และมีสถานประกอบการอยู่ที่เดียวกัน
4. รอบบัญชี ปี 2539-2542 บริษัท ส กู้ยืมเงินจากโจทก์ มีดอกเบี้ยค้างจ่ายจำนวนมาก
5. ปี 2542 บริษัท ส. จดทะเบียนลดทุนลง 97,000,000 บาท
ต่อมาจดทะเบียนเพิ่มทุน 97,000,000 บาท โจทก์เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนโดยแปลงหนี้ที่มีกับโจทก์เป็นทุน
6. ปี 2543 จดทะเบียนเพิ่มทุนอีก 87,000,000 บาท โจทก์เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมดด้วยการชำระเงินสด 87,000,000 บาท สองเดือนต่อมาได้จดทะเบียนลดทุน 87,000,000 บาท
7. รายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. ที่อนุมัติให้เพิ่มทุนและลดทุนเป็นจำนวนมากในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันไม่ปรากฏเหตุผลว่าบริษัท ส. มีความจำเป็นในทางการค้าหรือแผนการดำเนินงานทางธุรกิจที่จะต้องเพิ่มทุนอย่างไร
8. ภายหลังจากการเพิ่มทุนและลดทุนดังกล่าว บริษัท ส. มีผลประกอบการดีขึ้นเรื่อย ๆ
9. การเพิ่มทุนและลดทุนต่อเนื่องทำให้ต้นทุนเงินลงทุนในหุ้นสามัญ บริษัท ส ของโจทก์เพิ่มขึ้นจาก หุ้นละ 75 บาท เป็น 520.94 บาท
10. ในรอบบัญชี ปี 2546 โจทก์ขายหุ้นสามัญของบริษัท ส ให้ บริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันในราคาหุ้นละ 151 บาท ทำให้โจทก์ขาดทุนจากการขายเงินลงทุนในหุ้น 22,510,855.26 บาท และนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
>>>
🧑🎓👩🎓ศาลฎีกาพิพากษา
: การลงทุนในหุ้นสามัญ ย่อมหวังผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลในอนาคต แต่โจทก์กลับขายหุ้นดังกล่าว พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า โจทก์มีเจตนาสร้างขั้นตอนการเพิ่มทุนและลดทุนในบริษัท ส. เพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงที่จะให้ความช่วยเหลือในลักษณะเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือเพื่อให้เงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัท ส. ได้รับจากโจทก์ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินหรือรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการซึ่งบริษัท ส. ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ส่วนโจทก์ก็เลี่ยงจากการให้เงินช่วยเหลือหรือเงินให้เปล่าแก่บริษัท ส. มาเป็นการซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพื่อลดหนี้ของบริษัท ส. โดยนำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนไปชำระหนี้ที่โจทก์เคยให้บริษัท ส. กู้ยืม ส่งผลให้โจทก์ไม่ต้องมีรายได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ทั้งยังสามารถนำผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
>>>
📌ดังนั้น ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการขายเงินลงทุนในบริษัท ส. ให้บริษัท พ. จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะและเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)
#แผนฟื้นฟูกับภาษี #รายจ่ายต้องห้าม #ปรับโครงสร้างทุน #แปลงหนี้เป็นทุนกันภาษี

ความเสี่ยงของผู้เช่าช่วงที่ไม่มีสัญญากับผู้ให้เช่าเดิมโดยตรง
💢ผู้เช่าเดิมต้องรับผิดต่อความเสียหายต่อผู้เช่าช่วงหรือไม่
📌📍ความเสี่ยงของผู้เช่าช่วงที่ไม่มีสัญญากับผู้ให้เช่าเดิมโดยตรง
💢คำพิพากษาฎีกาที่ 8901/2563 (ประชุมใหญ่)
📍สัญญาเช่าพื้นที่ดำเนินการโครงการแปลงรั้วเป็นร้าน(โครงการพิเศษ) จำเลยทำสัญญาให้เช่า(ผู้ให้เช่าเดิม) กับโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 เป็นผู้เช่าช่วงจากโจทก์ที่ 1 โดยมีโจทก์ที่ 3 เป็นผู้เช่าช่วงจากโจทก์ที่ 2
👩🎓🧑🎓ศาลพิพากษาว่า โจทก์ที่ 3 มิใช่ผู้เช่าโดยตรงกับจำเลย ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้เช่าช่วงถือสิทธิใดๆ กับจำเลยผู้ให้เช่าเดิมได้ กฎหมายคงบัญญัติเฉพาะให้ผู้เช่าช่วงต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรงเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 545 ซึ่งเป็นบทยกเว้นหลักทั่วไปที่ว่า สัญญามีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาไม่อาจบังคับเอากับบุคคลนอกสัญญา กรณีไม่อาจตีความขยายความบทบัญญัติซึ่งเป็นข้อยกเว้นไปในทางกลับกันให้ผู้เช่าช่วงเรียกร้องสิทธิและหน้าที่เอาจากผู้ให้เช่าเดิมได้
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ใดๆ ที่จะพึงมีต่อกันที่ให้อำนาจผู้เช่าช่วงฟ้องบังคับเอากับผู้ให้เช่าเดิมให้รับผิดต่อผู้เช่าช่วงได้ 📍แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ให้เช่าเดิมจะเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้โจทก์ที่ 1 ผู้เช่าได้รับความเสียหาย และหากฟังว่าการเช่าช่วงของโจทก์ที่ 3 เป็นไปโดยชอบ แต่เมื่อโจทก์ที่ 3 📍 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับจำเลย โจทก์ที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดได้
#เช่าช่วง #เช่าอสังหาริมทรัพย์ #นิติสัมพันธ์การเช่า #ปพพมาตรา545 #สัญญาเช่า

💢 ลงลายมือชื่อของบุคคลอื่นในช่องผู้มอบฉันทะ(ผู้ขอรับคืนภาษี) และเอกสารประกอบเพื่อรับคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วนำไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร จนได้รับเงินคืนภาษี โดยเจ้าของลายมือชื่อยินยอม เป็นความผิดอาญาแผ่นดินฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม 💢
คำพิพากษาฎีกาที่ 1957/2563
#ปลอมเอกสาร #อย่าหาทำ
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อโจทก์ร่วมที่ 2 และประทับตราสำคัญของโจทก์ร่วมที่ 1ในช่องผู้มอบฉันทะ (ผู้ขอคืนภาษี) ในหนังสือแจ้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 72 และลงลายมือชื่อโจทก์ร่วมที่ 2 ในหนังสือมอบอำนาจ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ร่วมที่ 2 รวม 8 ชุด ซึ่งเป็นเอกสารประกอบการขอรับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม
✅ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในการลงลายมือซื่อนั้นไม่มีกฎหมายให้อำนาจลงลายมือชื่อแทนกันได้แม้เจ้าของลายมือชื่ออนุญาตหรือให้ความยินยอมก็ลงลายมือชื่อแทนไม่ได้ ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือซื่อโจทก์ร่วมที่ 2 ในเอกสารจึงเป็นการลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 264
จำเลยที่ 1 ปลอมเอกสารและนำเอกสารปลอมดังกล่าวไปแสดงต่อ อ.เจ้าหน้าที่สรรพากรผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจนกระทั่งได้รับเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 📍ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ อ. เจ้าหน้าที่สรรพากรดังกล่าวและกรมสรรพากร
✅จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 264 และ 268 📍เป็นความผิดอาญาแผ่นดินไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์และพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
✅จำเลยที่ 1 ปลอมเอกสารโดยความยินยอมของโจทก์ร่วมทั้งสอง โจทก์ร่วมทั้งสองมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) อันจะมีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ได้
🌻เพจนักบัญชีดอทคอม
26 ธันวาคม 2565

รับชมย้อนหลัง https://bit.ly/3PEKAiY
🍌🍌ภาษีที่ดิน กรุงเทพ 2566 ยังปลูกกล้วยเลี่ยงภาษีได้ไหม
เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป
ผ่านช่องทาง เพจ.นักบัญชีดอทคอม https://bit.ly/3FBAeNq
และYoutube Tax Focus : https://bit.ly/3VSyDIM
วิไล วัชรชัยสิริกุล
19 ธันวาคม 2565
#ภาษีที่ดิน #ปลูกกล้วยเลี่ยงภาษี

@ทุกคน

💢การจัดทำงบการเงินนิติบุคคลอาคารชุด หมู่บ้านจัดสรร
🔸เป็นนิติบุคคลที่เกิดขึ้นพระราชบัญญัติ อาคารชุด พ.ศ. 2522
หรือพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
🔸บัญชีมีลักษณะบางประการเป็นการเฉพาะ
เช่นการรับรู้ "รายรับ-รายจ่าย" (เหมือนบัญชีภาครัฐ) ไม่ใช่รายได้ - ค่าใช้จ่ายแบบบัญชีองค์กรที่ทำธุรกิจ
✅ดาวน์โหลดเอกสาร ที่มา สภาวิชาชีพบัญชี
การจัดทำงบการเงินนิติบุคคลอาคารชุดและนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรhttps://www.tfac.or.th/upload/9414/uwbFiO0L2C.pdf
ถามตอบ การบันทึกบัญชีนิติบุคคลอาคารชุุด
https://www.tfac.or.th/Faq/Detail/1191
#เพจนักบัญชีดอทคอม #งบการเงินนิติบุคคลอาคารชุด #งบการเงินนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

💢ลักกรรมสิทธิ์(ห้องชุด) = 💢ลักทรัพย์
️คำพิพากษาฎีกาที่ 5295/2563
โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาท 3 ห้อง โดยใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ในหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งสามห้อง เนื่องจากบริษัทหนึ่งที่โจทก์เป็นกรรมการถูกฟ้องล้มละลาย โจทก์เข้าใจว่าจะเป็นผลให้โจทก์ล้มละลายไปด้วย โดยโจทก์ให้การว่าโจทก์จบการศึกษาประถมปีที่สี่ ไม่เข้าใจกฎหมายเพียงพอ โดยโจทก์เก็บหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดเอาไว้ในตู้นิรภัย
อ่านรายละเอียดต่อในรูป
#แจ้งความหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดหายเป็นเท็จ
#แจ้งออกเอกสารใบแทนหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดเท็จ
#ใช้เอกสารสิทธิ์เท็จขายคอนโด
#ลักกรรมสิทธิ์ห้องชุด
#ลักทรัพย์ห้องชุด
---
หลักสูตรอบรมสัมมนา
⚖️หลักสูตร รู้เท่าไว้กัน รู้ทันไว้แก้ ข้อพิพาทภาษีสรรพากร
▪️ 27 ตุลาคม 2565
📥โบรชัวร์ https://bit.ly/3f9K3aX
🛒จองอบรม https://bit.ly/3qV6hA7
---
⚖️⚖️การวางแผนภาษีซื้อ ขาย ให้ ให้เช่าที่ดิน รุ่น 1-2565
▪️ 9-10 พฤศจิกายน 2565
📥โบรชัวร์ https://bit.ly/3SMC4yU
🛒จองอบรม https://bit.ly/3rrnktu

⚖️การวางแผนภาษีซื้อ ขาย ให้ ให้เช่าที่ดิน รุ่น 1-2565
---
✔️✔️***เลื่อน 5-6 ธันวาคม 2565***✔️✔️
▪️ 9-10 พฤศจิกายน 2565 (เวลา 09.00-16.30 น.) นับชม. อื่นๆ 12 ชม.
▪️ ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ กรุงเทพ
▪️ และ Online Learning ผ่านโปรแกรม Zoom
▪️ วิทยากร: อ.วิไล วัชรชัยสิริกุล และอ.ศักดิ์ชาย ศิริรักษ์
▪️ แถม❗️ หนังสือมูลค่า 250 บาท 📗พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562ฯ
---
▪️วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักกฎหมายและภาษีอากรเกี่ยวกันการซื้อขาย ให้ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน)
ซึ่งมีรายละเอียดโดยเฉพาะ และการวางแผนภาษีที่ทำได้ภายในกรอบของกฎหมาย
---
▪️ประเด็นสัมมนา
1. การวางแผนภาษีการขาย ให้ ให้เช่าที่ดิน
2. การวางแผนภาษี เมื่อซื้อที่ดินเพื่อขายต่อ
3. การวางแผนภาษีที่ดินกรรมสิทธิ์รวม
4. การวางแผนภาษีที่ดินมรดก
5. การวางแผนภาษีอสังหาริมทรัพย์สินสมรส
6. ภาษีอากรการให้ระหว่างพ่อแม่ ลูก ญาติ
7. แนวทางจัดการที่ดินกงสี
8. ควรเลือกภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หัก ณ ที่จ่าย ที่สำนักงานที่ดินเป็นภาษีสุดท้ายทุกกรณีหรือไม่
9. ภาษีการให้เช่าที่ดินระยะยาว ควรให้เช่าในนามบุคคลหรือนิติบุคคล
---
🏨จอง (Classroom Learning) โรงแรมเดอะพาลาสโซ
https://bit.ly/3rrnktu
---
💻จอง (Online Learning Zoom)
https://bit.ly/3RlMRPu
---
📥โบรชัวร์ https://bit.ly/3zfAnTp

🔻EP 19 Tax Focus 👩🎓กฎหมายและภาษี สิทธิเก็บกิน ข้อดี ข้อพิจารณา
🎤 Live 22 กันยายน 2565 เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป
โดย : อาจารย์วิไล วัชรชัยสิริกุล
บธ.บ.(การบัญชี) น.บ. น.ม.(กฎหมายภาษีอากร)
🌻ช่องทางการติดตาม
เพจ.นักบัญชีดอทคอม
FB Group: วงการบัญชี
YouTube: วงการบัญชี ,Tax focus
-------------------------------------------------
สนใจสั่งซื้อหนังสือ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 ราคา 250 บาท ได้ที่ Inbox หรือ Shopee ร้าน NBCBook https://shopee.co.th/product/316174792/7262012925/

🔻EP 18 วงการบัญชี/ความคืบหน้ากฎหมายบริษัทจำกัด คนเดียว
🎤 Live 20 กันยายน 2565 เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป
โดย : อาจารย์วิไล วัชรชัยสิริกุล
บธ.บ.(การบัญชี) น.บ. น.ม.(กฎหมายภาษีอากร)
🌻ช่องทางการติดตาม
เพจ.นักบัญชีดอทคอม
FB Group: วงการบัญชี
YouTube: วงการบัญชี ,Tax focus
------------------------------------------------------
สนใจสั่งซื้อหนังสือ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 ราคา 250 บาท ได้ที่ Inbox หรือ Shopee ร้าน NBCBook https://shopee.co.th/product/316174792/7262012925/

EP.13 ภาษีอสังหาริมทรัพย์
กฎหมายเวนคืน 2530 ต้องขอรับค่าเวนคืนภายใน 10 ปี มิฉะนั้นตกเป็นของแผ่นดิน ขัดรัฐธรรมนูญ
🎤 Live 26 สิงหาคม 2565 เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป
โดย : อาจารย์วิไล วัชรชัยสิริกุล
บธ.บ.(การบัญชี) น.บ. น.ม.(กฎหมายภาษีอากร)
🌻ช่องทางการติดตาม
เพจ.นักบัญชีดอทคอม
YouTube: Tax focus

ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การทดสอบความรู้ของผู้ขอเข้าทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ครั้งที่ 54 (3/2565)
Link: https://bit.ly/3JVondQ
#ผู้สอบภาษีอากร #สรรพากร
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เว็บไซต์
ที่อยู่
Bangkok
10150
เวลาทำการ
จันทร์ | 08:30 - 17:30 |
อังคาร | 09:00 - 17:00 |
พุธ | 08:30 - 17:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 17:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 17:30 |
เวนิส ดิ ไอริส ชอย 2/7, ท่าแร้ง, บางเขน, กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10220
ให้ความรู้ทางกฎหมาย และให้บริการให
วิภาวดี-รังสิต
Bangkok, 10210
บริการทางวิชาการ ความรู้ด้านการสอบ