จ่าแดง

จ่าแดง

ไขปัญหากับจ่าแดง

16/06/2018

คำพิพากษา (สิ่งดีๆมาฝากครับ..)

ในเมืองนิวยอร์ค เมื่อปี ค.ศ. 1935 มีการพิพากษาคดีหนึ่งในยามหัวค่ำอันหนาวเหน็บของเดือนมกราคม หญิงชราคนหนึ่งตกเป็นผู้ต้องหาคดีลักขโมยขนมปังหนึ่งก้อน

หญิงชรามีท่าทีเศร้าหมอง และภายใต้ความเศร้านั้นก็มีความละอายแก่ใจอยู่ด้วย คืนนั้น ฟิโอเรลโล ลากวาเดีย ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กในขณะนั้นเป็นผู้พิพากษา

ฟิโอเรลโล ถามหญิงชรา “คุณขโมยขนมปังไปจริงหรือ?”

หญิงชราก้มหัวตอบอย่างหดหู่ “ฉันขโมยขนมปังจริงๆ ค่ะท่าน”

ผู้พิพากษาถามต่อว่า “เพราะเหตุใดคุณจึงต้องขโมยขนมปัง คุณไม่มีอะไรจะกินหรือ?”

หญิงชราเงยหน้าขึ้นบอกผู้พิพากษา “ใช่ค่ะ ฉันหิวมาก แต่ฉันไม่ได้ขโมยขนมปังไปเพื่อกินเอง ลูกเขยของฉันทิ้งครอบครัวไป ลูกสาวของฉันล้มป่วย หลานสองคนของฉันไม่ได้กินอะไรมาหลายวัน ฉันไม่อาจทนเห็นหลานตัวเล็กๆ ทนหิวได้”

ห้องพิจารณาคดีเงียบกริบหลังได้ฟังคำอธิบายของหญิงชรา

ผู้พิพากษากล่าวกับหญิงชราว่า “ทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย สำหรับข้อหาขโมยขนมปังคุณเลือกเอาว่าจะจ่ายค่าปรับ 10 เหรียญ หรือติดคุกเป็นเวลา 10 วัน”

หญิงชราตอบ “ท่านผู้พิพากษา ฉันยอมรับโทษในทุกสิ่งที่ฉันทำ หากฉันมีเงิน 10 เหรียญ ฉันจะไม่ขโมยขนมปังหรอก ดังนั้นโปรดจำคุกฉันเถิด แต่สิ่งเดียวที่ฉันห่วงคือใครจะดูแลลูกสาวและหลานของฉันในช่วงเวลาที่ฉันติดคุก”

ผู้พิพากษาหยุดคิดพักหนึ่ง แล้วเขาก็ล้วงกระเป๋าหยิบธนบัตรสิบเหรียญขึ้นมาถือในมือ แล้วกล่าวว่า “ผมจะจ่ายค่าปรับให้คุณสิบเหรียญ คุณกลับบ้านไปได้”

ผู้พิพากษาหันไปพูดกับคนที่มาฟังการพิจารณาคดีในที่นั้นว่า “นอกจากนั้น ผมขอปรับทุกคนในห้องนี้คนละ 50 เซนต์ โทษฐานที่พวกคุณเมินเฉยและไร้น้ำใจในสังคม หญิงชราคนนี้ไม่ควรจะต้องขโมยขนมปังเพื่อประทังชีวิตหลานและคนในครอบครัวหากพวกคุณให้การช่วยเหลือเธอ คุณไบลีฟ โปรดเก็บเงินจากทุกคน คนละ 50 เซนต์ แล้วมอบเงินนั้นให้ผู้ต้องหา”

ทุกคนในที่นั้นรวมไปถึงเจ้าของร้านขนมปังที่ฟ้องร้องนำหญิงชรามาขึ้นศาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้มาฟังการตัดสินรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการจ่ายค่าปรับคนละ 50 เซนต์ พวกเขายอมรับและยืนขึ้นปรบมือชื่นชมผลการตัดสิน

วันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ลงข่าวการมอบเงินค่าปรับจำนวน 47.5 เหรียญ ให้กับหญิงชราผู้น่าสงสารเพื่อนำไปซื้ออาหารให้ครอบครัว

🥖 🍞 🥖 🍞 🥖 🍞

ผลการตัดสินคดีของผู้พิพากษากระตุ้นให้ผู้คนในสังคมได้เห็นว่า ทุกคนมีส่วนร่วมในทุกข์สุขของกันและกัน และหากมีอาชญากรรมเนื่องด้วยเรื่องของปากท้องเช่นนี้เกิดขึ้นในชุมชน นั่นก็หมายถึงเราทุกคนมีส่วนเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด

เราทุกคนต่างเกี่ยวเนื่องกัน หากคนหนึ่งทุกข์ คนอื่นๆ ก็จะทุกข์ตาม เราจะต้องคอยเป็นหูเป็นตาให้กัน เพื่อมิให้มีใครคนใดคนหนึ่งถูกลืมไปจากสังคม

คำพิพากษา เรียบเรียงมาจากเรื่องเล่าส่วนหนึ่งในชีวิตจริงของ ฟิโอเรลโล ลากวาเดีย อดีตนายกเทศมนตรีผู้มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับแห่งมหานครนิวยอร์ก ขอบคุณฎีกาดีๆครับ

07/04/2018

❤❤❤ใครมีร้านขายเบียร์ โปรดอ่านทางนี้
ยินยอมให้ติดแผ่นป้ายไวนิลมีข้อความว่า “เบียร์เป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้” ที่ชายคาหน้าร้าน อาจเป็นเหตุให้เจ้าของร้านติดคุกได้
(เกร็ดกฎหมาย 26) : คดีนี้เจ้าของร้านขายของเบ็ดเตล็ดและขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดนครพนม ติดป้ายไวนิลสีเขียวเข้ม ขนาดกว้างประมาณ 80 เซนติเมตร ยาวประมาณ 120 เซนติเมตร จำนวน 3 ผืน ผูกแขวนอยู่หน้าร้าน ทุกป้ายมีข้อความว่า “เบียร์เป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้” ตรงกลางมีคำว่า “ช้าง” ด้านล่างมีสัญลักษณ์รูปช้างสองเชือกสีขาวยืนหันหน้าเข้าหากันภายใต้น้ำพุ และอักษรภาษาอังกฤษว่า “Chang” และ “BEER” ผู้อ่านคงทราบแล้วนะครับว่าเป็นสัญลักษณ์ของเบียร์ยี่ห้ออะไร บางคนดื่มบ่อยด้วย
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องเจ้าของร้านเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัด ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 3 ,32 ,43 ปรากฎว่าศาลจังหวัดยกฟ้อง พนักงานอัยการอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลจังหวัดว่า เจ้าของร้านมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ,43 วรรคหนึ่ง พิพากษาจำคุก 2 เดือน ปรับ 5,000 บาท ให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 1 ปี เจ้าของร้านฎีกา ปรากฎว่า ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ด้านล่างของป้ายมีสัญลักษณ์รูปช้างสองเชือกสีขาวยืนหันหน้าเข้าหากันภายใต้น้ำพุ และอักษรภาษาอังกฤษว่า “Chang” และ “BEER” เป็นรูปเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทเบียร์ช้างจำกัด ส่อให้เห็นหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเภทเบียร์ ยี่ห้อช้าง อันเป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเภทเบียร์ที่มีชื่อการค้าว่า “Chang” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเห็นและทราบข้อความดังกล่าว เมื่อเจ้าของร้านยินยอมให้ปิดแผ่นป้ายโฆษณาดังกล่าวที่หน้าร้าน ประกอบกับเป็นร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเภทเบียร์ ยี่ห้อช้าง ร้านตั้งอยู่ริมถนนที่ผู้คนสัญจรไปมาสามารถมองเห็นได้ง่าย การปิดแผ่นป้ายดังกล่าวจึงเป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้าและการสื่อสารการตลาด เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง และมาตรา 43 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ดี ศาลฎีกาเห็นว่า การที่เจ้าของร้านเพียงแต่ยินยอมให้พนักงานของบริษัทผู้จำหน่ายนำป้ายไวนิลดังกล่าวไปติดตั้งที่บริเวณชายคาหน้าร้านนั้น เป็นพฤติการณ์ที่ไม่ร้ายแรงนัก เมื่อเจ้าของร้านไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน สมควรให้โอกาสเจ้าของร้านกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นไม่ลงโทษจำคุกและไม่ปรับ แต่ให้รอการกำหนดโทษไว้มีกำหนด 2 ปี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2560)

ข้อสังเกตหรืออุทธาหรณ์เตือนใจ บางครั้งการไม่รู้กฎหมายอย่างเจ้าของร้านในคดีนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาแก่ตนเองและครอบครัวได้ เพียงแค่ยินยอมให้พนักงานของบริษัทจำหน่ายเบียร์ติดป้ายไวนิลที่ชายคาหน้าร้าน เกือบถูกจำคุกซะแล้ว เพราะเท่ากับว่าเป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้าและการสื่อสารการตลาด ตามนิยามความหมายของคำว่า “โฆษณา” ของพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 3 ซึ่งเป็นความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง และมาตรา 43 วรรคหนึ่ง โชคดีที่ศาลฎีกาในคดีนี้เมตตาเจ้าของร้าน จึงพิพากษาไม่ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ แต่ให้รอการกำหนดโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ซึ่งหมายความว่า ภายใน 2 ปีนั้น เจ้าของร้านต้องไม่กระทำความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ในทำนองเดียวกับคดีนี้อีก มิฉะนั้น จะถูกศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดไว้ในคดีนี้บวกเข้ากับโทษในคดีหลัง
“วรวุฒิ เทพทอง”
19 มีค. 61
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
มาตรา 3 “ในพระราชบัญญัตินี้...
“โฆษณา” หมายความว่า การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการสื่อสารการตลาด”
มาตรา 32 วรรคหนึ่ง “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม”
มาตรา 43 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”....ขอบคุณข้อมุลดีๆ ❤❤❤

21/01/2018

....การดื่มสุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่น หรือเสพยาเสพติด จนไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ และได้ไปกระทำความผิดกฎหมายอาญาขึ้น ผู้นั้นจะยกว่าตนเมาไม่ได้สติแก้ตัวไม่ให้ถูกลงโทษไม่ได้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๖...

22/08/2017

🙇🙇คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 7471/2556 จำเลยเป็นห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภค ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่น ๆ หรือไม่แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 8(9),34 บัญญัติให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร แต่จำเลยยังต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั่งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง การที่จำเลยเคยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่เข้ามาในห้างซึ่งเป็นวิธีการที่ข่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่าน กรณีจะนำรถออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของจำเลย แต่ขณะเกิดเหตุกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสียโดยใช้กล้องวงจรปิดแทน เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถห้างฯของจำเลยและโจรกรรมรถได้โดยง่ายยิ่งขึ่น แม้จำเลยจะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ รวมทั้งการที่ลูกค้าก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถ แต่ยังนำรถเข้ามาจอดก็ตาม ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการทำละเมิดของจำเลย ...👩👩

20/04/2017

🉑🈷...คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2559🈷🈶...
พฤติการณ์ของจำเลยที่จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ให้แก่ บ. หลังจากนั้นแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้แก่ บ. ส. ท. และ ร. คนละ 1/4 เม็ด เพื่อนำไปเสพอีก และจำเลยก็เสพในเวลาต่อเนื่องกัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะเสพด้วยจึงแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้บุคคลดังกล่าวเพื่อจะเสพพร้อมกับจำเลย กรณีไม่ใช่จำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้บุคคลดังกล่าวเพื่อให้แต่ละคนไปเสพเพียงลำพังภายหลัง จึงเป็นการมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้กระทำความผิดด้วยกัน มิใช่มีเจตนาแจกจ่ายให้แก่บุคคลดังกล่าว การกระทำของจำเลยหาได้อยู่ในความหมายของคำว่าจำหน่าย ตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

Timeline Photos 27/03/2017

คำพิพากษาศาล จว.สิงห์บุรี คดีแดง ๑๗๔๙/๕๙

การแสดงใบอนุญาตใบขับขี่..... หมายถึง ชี้แจง อธิบาย บอกข้อความให้รู้ ทำให้ปรากฏออกมา ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ของใบอนุญาตขับรถนั้น
มิใช่เพียง การถือไว้และแจ้งว่า มีใบอนุญาตขับรถ จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะมองเห็นรายละเอียดและตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่

-จำเลยเมื่อทราบคำสั่ง ต้องให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามคำสั่ง

-ส่วนจำเลยจะกระทำผิดหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องไปดำเนินการอีกส่วนหนึ่ง

เมื่อจำเลย ไม่ส่งมอบใบอนุญาตขับรถ แต่กลับขอดูบัตรตำรวจ ขณะปฏิบัติหน้าที่ในเครื่องแบบบริเวณจุดตรวจ ทั้งที่ไม่มีเหตุอันควรสงสัยหรือระแวงว่าพยานโจทก์ทั้งสาม ไม่ใช่ตำรวจ
ล้วนบ่งชี้ ถึงเจตนาของจำเลยที่ต้องการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน

ข้ออ้างของจำเลย ที่ไม่ยอมลงจากรถ ไม่ยอมส่งมอบใบขับขี่ เพราะไม่เชื่อว่า เป็นตำรวจและกลัวถูกทำร้าย
จึงไม่ถือว่าเป็นเหตุผลเพียงพอ.

เป็นความผิด ตาม ปอ.328 วรรคแรก

ทางปฏิบัติ ให้เตือนก่อนว่าการกระทำเช่นนี้เป็นความผิด หากไม่ยอมรับผิดและไม่ยอมให้ตรวจใบขับขี่ สมุดคู่มือรถ ฯลฯ หรือยอมแต่ไม่ชำระค่าปรับ ให้จับกุม บันทึกจับกุม ส่ง พนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีต่อไป

แก้กม.ได้ "บำนาญ" ขรก.ติดคุก-ทุจริต - GotoKnow 22/01/2017

แก้กม.ได้ "บำนาญ" ขรก.ติดคุก-ทุจริต - GotoKnow

.......🚶🚶ขรก.ติดคุก-ทุจริต รับบำนาญได้หรือไม่....
กรมบัญชีกลางช่วยอดีต ขรก. เสนอแก้กฎหมายให้ผู้รับบำนาญที่ถูกศาลตัดสินให้จำคุก หรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต มีสิทธิได้รับเงินบำนาญหรือบำนาญตกทอดเหมือนเดิม ชี้โทษจำคุก-ล้มละลายเพียงพอแล้ว หากตัดสิทธิจะเป็นการเพิ่มโทษเป็น 2 เท่า นาย มนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ว่ากรมบัญชีกลางได้เสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 เกี่ยวกับการเสียสิทธิการรับบำนาญ โดยแก้ไขให้ผู้รับบำนาญที่ถูกตัดสินให้จำคุก หรือศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ยังคงมีสิทธิได้รับบำนาญหรือบำเหน็จตกทอดเหมือนเดิม ขณะที่กฎหมายในปัจจุบันเมื่อผู้รับบำนาญถูกตัดสินให้จำคุกหรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต จะถูกตัดสิทธิการรับบำนาญหรือบำเหน็จตกทอดทันที โดยขณะนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวอยู่ระหว่างการนำเสนอ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป นายมนัสกล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายในเรื่องนี้ ก็เนื่องมาจากเห็นว่า บำนาญเป็นเงินที่ทางราชการให้ เพื่อตอบแทนการทำงานที่ผ่านมาแก่ข้าราชการ กรณีที่ผู้รับบำนาญกระทำความผิดและถูกศาลตัดสินให้ถูกจำคุก หรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตนั้น ถือเป็นการลงโทษไปแล้ว เพื่อความเป็นธรรมและเสมอภาคกับบุคคลโดยทั่วไป จึงไม่ควรที่จะถูกลงโทษเพิ่มด้วยการตัดสิทธิการรับบำนาญหรือบำเหน็จตกทอดอีก "ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย ดังกล่าว ได้มีการถกเถียงกันว่า การเพิ่มสิทธินี้จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้รับบำนาญไปกระทำความผิดเพิ่มขึ้นหรือไม่ ทางกรมบัญชีกลางเห็นว่า ข้าราชการเมื่อเกษียณอายุราชการไปแล้วก็เสมือนประชาชนทั่วไป หากกระทำความผิดใด ๆ ก็ย่อมได้รับโทษตามกรณีนั้น ๆ ส่วนการให้บำนาญเป็นการตอบแทนการทำงาน และเป็นเงินยังชีพหลังออกจากราชการ เนื่องจากข้าราชการในขณะรับราชการจะไม่ได้สะสมเงินไว้ใช้ แต่หากตัดสิทธิการจ่ายเงินบำนาญอีกจะเหมือนกับถูกลงโทษ เป็น 2 เท่า" นายมนัสกล่าว นายมนัสกล่าวว่า ที่ผ่านมามีผู้รับบำนาญที่ถูกตัดสิทธิการรับบำนาญ เนื่องจากมีคำพิพากษาศาลให้จำคุก ในปี 2547 จำนวน 3 ราย ปี 2548 จำนวน 4 ราย ปี 2549 จำนวน 5 ราย ปี 2550 จำนวน 7 ราย และปี 2551 จำนวน 2 ราย สำหรับกรณีล้มละลายมีจำนวนไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องโอนเงินให้แก่กรมบังคับคดีในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่ ทั้งนี้ บุคคลล้มละลายทุจริต ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ได้กำหนดความหมายว่า บุคคลล้มละลายที่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามมาตรา 163 ถึงมาตรา 170 แห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจาก หรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดฐานยักยอก หรือฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญา หรือการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน นายมนัสยังกล่าวถึงการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการคำนวณบำเหน็จตกทอด โดยให้นำเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ มารวมกับบำนาญรายเดือน เพื่อคูณ 30 เท่า เป็นเงินบำเหน็จตกทอด และการปรับเงินบำนาญพิเศษให้ผู้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพเมื่อรวมกับเงินบำนาญปกติแล้ว ถ้าไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือน ก็ให้ได้รับบำนาญพิเศษฯ เพิ่มจนครบ 15,000 บาท ว่าได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 25 ก ลงวันที่ 31 มกราคม 2551 มติชน 9 ก.พ. 51🚶🚶
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/164609

แก้กม.ได้ "บำนาญ" ขรก.ติดคุก-ทุจริต - GotoKnow บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง CGD Library

21/12/2016

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2559
จำเลยนำเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด มาแบ่งให้ ธ. เสพ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำให้ยาเสพติดแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นโดยวิธีการให้อันเป็นการจำหน่ายตามบทนิยามคำว่า "จำหน่าย" ตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน

ฎีกานี้น่าสนใจครับ

24/09/2016

ฏีกาดีๆ มาฝาก
ฎีกา บัตร ปปส. 2558
ฎีกาที่ 10067/2558
ย่อสั้น
การที่พันตำรวจโท ก. แสดงบัตร ป.ป.ส. ต่อจำเลยก่อนทำการค้น แสดงว่าพันตำรวจโท ก. แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 และตามพฤติการณ์มีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้จำเลยจะหลบหนีไป ทั้งทรัพย์สินในบ้านเกิดเหตุซึ่งมีไว้เป็นความผิดจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม พันตำรวจโท ก. กับพวกจึงมีอำนาจเข้าไปในบ้านเกิดเหตุเพื่อตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 มาตรา 14 ประกอบมาตรา 14 ตรี
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 4, 7, 8, 15, 66, 97, 100/1, 102 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4, 7, 72 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 92 ริบเมทแอมเฟตามีนกับอาวุธปืนของกลาง และเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษมาก่อนตามฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) 66 วรรคสาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 แต่เมื่อจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำคุกได้คงเพิ่มโทษได้เฉพาะโทษปรับ เป็นปรับ 1,500,000 บาท คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุก 33 ปี 4 เดือนและปรับ 1,000,000 บาท ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 1 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน รวมจำคุก 33 ปี 12 เดือน และปรับ 1,000,000 บาท หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กรณีต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังได้เกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ริบเมทแอมเฟตามีนและอาวุธปืนของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกาเฉพาะความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 เวลาประมาณ 12 นาฬิกา เจ้าพนักงานตำรวจได้ไปที่บ้านเลขที่ 70/152 หมู่บ้านกายสิทธิ์วิลล์ หมู่ที่ 1 ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี แล้วจับกุมจำเลยพร้อมกับยึดอาวุธปืนพกขนาด 9 มม. 1 กระบอก กับกระสุนปืน 8 นัด และเมทแอมเฟตามีน (ยาไอซ์) บรรจุในถุงพลาสติกแบบปิดเปิดปากถุงได้จำนวน 10 ถุง น้ำหนักรวม 25.605 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 20.427 กรัม ตามรายงานผลการตรวจพิสูจน์เป็นของกลาง ในข้อหามีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนและกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษแล้ว ข้อหานี้เป็นอันยุติโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์คัดค้าน คงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ พิเคราะห์แล้ว แม้พันตำรวจโทกันตพัฒน์ พยานโจทก์ ซึ่งเป็นหัวหน้าชุดเฉพาะกิจตำรวจภูธรจังหวัดลพบุรี จะเข้าตรวจค้นบ้านเกิดเหตุโดยไม่มีหมายค้น ทั้งไม่ได้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ตาม แต่การที่พันตำรวจโทกันตพัฒน์แสดงบัตร ป.ป.ส. ต่อจำเลยก่อนทำการค้นในบ้านเกิดเหตุจนพบเมทแอมเฟตามีน กับอาวุธปืนของกลางย่อมเป็นการแสดงว่าพันตำรวจโทกันตพัฒน์แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 ตามคำเบิกความของพันตำรวจโทกันตพัฒน์ยังปรากฏด้วยว่า เมื่อพันตำรวจโทกันตพัฒน์กับพวกมาถึงบ้านเกิดเหตุโดยรถกระบะ 3 คัน เห็นจำเลยไม่สวมใส่เสื้อ มีรอยสักตามร่างกาย อันตรงกับตำหนิรูปพรรณที่ดาบตำรวจฉลอง เต็มแป้น พยานโจทก์อีกปากหนึ่ง ซึ่งเข้าร่วมตรวจค้นกับพันตำรวจโทกันตพัฒน์ ได้รับแจ้งมาจากสายลับ ยืนอยู่ตรงบริเวณประตูบ้าน แล้วเดินหลบเข้าไปในบ้าน จึงเป็นพฤติการณ์ให้พันตำรวจโทกันตพัฒน์มีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ จำเลยจะหลบหนีไป ทั้งทรัพย์สินในบ้านเกิดเหตุซึ่งมีไว้เป็นความผิดจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม พันตำรวจโทกันตพัฒน์กับพวกจึงมีอำนาจเข้าไปในบ้านเกิดเหตุเพื่อตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 มาตรา 14 ประกอบมาตรา 14 ตรี และเมื่อเป็นการเข้าค้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอันเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงไม่ต้องทำการค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นการทั่วไป เมื่อข้อนำสืบของจำเลยไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำเบิกความของพันตำรวจโทกันตพัฒน์และดาบตำรวจฉลองว่านอกจากจะพบอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางอยู่ใต้หมอนในห้องของจำเลยแล้ว ยังพบเมทแอมเฟตามีนของกลางบนฟูกที่นอนด้วย แม้จำเลยให้การรับสารภาพเพียงความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองก็ตาม แต่ก็เป็นพฤติการณ์ที่บ่งบอกแล้วว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยดังคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสอง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Timeline Photos 04/12/2015

คพพิพากษา สำหรับ คอหวย คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๔๓/๒๕๔๙ จำเลยทั้งสองกับพวกและผู้เสียหายได้ให้หมอไสยศาสตร์ทำพิธีปลุกเสกเหรียญรัชการที่ ๕ เพื่อให้ได้สลากกินรวบจนปรากฏเป็นเลข ๒ ตัว ซึ่งอ้างว่าเป็นเลขท้าย ๒ ตัวของสลากกินแบ่งรัฐบาล ต่อมาจำเลยทั้งสองกับพวกขับรถยนต์กระบะมารับผู้เสียหายไปซื้อหวยใต้ดิน (สลากกินรวบ) ที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เพราะเจ้ามือหวยใต้ดินในอำเภอดังกล่าวกำลังดวงไม่ดี เมื่อเดินทางถึงหลังโรงพยาบาลชุมพร ผู้เสียหายมอบเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ให้จำเลยที่ ๒ ไปซื้อหวยใต้ดินตามที่หมอไสยศาสตร์บอก หลังจากนั้นจำเลยที่ ๒ กับพวกก็หลบหนีไป พฤติการณ์ของผู้เสียหายดังกล่าวเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนัน สลากกินรวบอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายมีโทษทางอาญา ผู้เสียหายในคดีนี้จึงไม่ใช่ ผู้เสียหายโดยนิตินัย ที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้ และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดดังกล่าว หมายเหตุท้ายฎีกา
คดีนี้ พนักงานอัยการจังหวัดชุมพรฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ ประกอบมาตรา ๘๓ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามฟ้องจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ ๖ เดือน และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ พิพากษายืน จำเลยทั้งสองฎีกาโดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง $$$ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้อง$$$

Photos from จ่าแดง's post 23/11/2015

ฝากประชาสัมพันธ์ครับ. สำหรับพวกช๊อตปลา. กฎหมายออกมาใหม่. มีโทษปรับ สองแสนถึงหนึ่งล้าน. เริ่มใช้แต่วันที่ 14 พ.ย.58. พระราชกำหนดการประมง 2558. มาตรา 60,141 โทษปรับสูงมาก. สงสารชาวบ้านที่ไม่รู้กฎหมายครับ

Timeline Photos 04/11/2015

เรื่องเล่า......เช้านี้
ณ โรงพักแห่งหนึ่งในเมืองหลวงอันศิวิไลน์ ดต มณี กับ ดต นพเกล้า คู่บัดดี้สายตรวจจักรยานยนต์..... ได้รับแจ้งทางวิทยุว่า มีเหตุชิงทรัพย์ที่ร้านทอง แห่งหนึ่งในตลาด ให้เข้าจุดสกัดจับตามแผน ทั้งสองไม่รอช้า ไปยังจุดที่คิดว่าคนร้ายจะผ่านพอถึงจุดก็จอดรอสังเกตรถคนร้ายตามที่ได้รับแจ้งทาง วอ
ผ่านไป 5 นาที มีรถเก๋งคันงามขับผ่านมา พร้อมกับพูดคุยกันในรถ
ก: เห้ย! ดูดิ ตำรวจ 2คนนั้น ด่านลอยป่าวว่ะ ดักจับไรอีกละแมร่งน่าเบื่อว่ะ
ข: เออ นั่นดิ แมร่งน่าเบื่อจริงๆ ทำไมไม่ไปจับคนขายยาบ้าโน้นมาดักจับอะไรนักหนาว่ะแมร่ง
ทั้งสองพูดเชิงตำหนิพร้อมทั้งหยิบโทรศัพราคาเรือนหมื่นมาถ่ายภาพ ดต มณี กับ ดต นพเกล้า พร้อมทั้งอัพลงเฟรสบุคและตั้งสเตรตัสหรูๆว่า" วันๆไม่ทำไร คอยดักจับแต่ชาวบ้าน ด่านลอย แชร์หนักๆอย่าให้มันมีที่ยืน" ผ่านไป5 นาที มีคนมากดไล้กดแชร์แสดงความเห็นเพจต่างๆแชร์สนั่นและพร้อมใจกันด่าตำรวจทั้ง2นายในทางเสียๆหายๆ (โดยที่ไม่มีใครสนใจถามว่าที่ตำรวจทั้งสองนายไปยืนอยุ่นั่นเขายืนเพื่อทำอะไร)
เก๋งคันงามผ่านไป สักพักรถคนร้ายขับมาพอดี ตำรวจออกมาจากที่ซุ่มและกระโดดถีบรถมอไซต์คนร้ายรถคนร้ายล้มคว่ำลง บังเอิญ รถกระบะคันหรูสี่ประตูคันงามขับมาเห็นเหตุการณ์พอดี พร้อมกับเอ่ยปากชมตำรวจเบาๆในรถว่า "เห้ย! ดูดิตำรวจแมร่งเลวว่ะ ดักจับมอไซเรียกให้เขาจอดเขาไม่จอด แมร่ง
กระโดดถีบเลยอะ"
"เออ นั่นดิ ทำเกินไปป่าวว่ะ เอากล้องมาดิเดี๋ยวถ่ายประจานแมร่งเลย" ผุ้เป็นเมียกล่าวเสริม พร้อมกับถ่ายภาพ ตำรวจทั้งสองนายลงเฟรสบุ๊ค และตั้งสะเตตัสเริศๆว่า"ตำรวจ แมร่ง โค-ตะ-ระ-เหี้ย!!! ตั้ง"ด่านลอย"ว่าแย่แล้วแต่นี่แมร่ง
เรียกรถเขาไม่จอดแมร่งกระโดดถีบเลยอะ" และเพื่อนในเฟรสเห็นก็พากันด่าตำรวจต่างๆนานา
สุดท้ายตำรวจจับคนร้ายได้ คนร้ายเข้าคุกในฐานะผู้กระทำผิด
แต่ไม่มีใครมาถ่ายรูปไม่มีใครมาเอาลงสื่อกล่าวชมในสิ่งที่ได้ทำ แล้วกี่คอมเม้นด่า กี่แชร์ที่สาปแช่ง แล้วเขาผิดอะไร ตำรวจผิดอะไร?
ถ้าสมมุติว่า ตำรวจทั้งสองนายมาเห็นสิ่งที่ประชาชนด่า แล้วมีเหตุขึ้น ทั้งสองนายบอกว่า กูไม่ไปแม่งละ ไปยืนร้อนก็ร้อน เสี่ยงก็เสี่ยงยังจะมาโดนคนด่าอีก "ช่างแมร่งมัน" แล้วสังคมประเทศชาติจะเป็นยังไงไม่วุ่นวายกันไปหมดเลยหรอ แต่คงไม่มีหรอกเพราะตำรวจเขารุ้ว่าอะไรคือหน้าที่
ดังนั้น อย่าเพิ่งตัดสินใครอะไรเพียงแค่ภาพที่เห็นเพราะภาพที่เห็นไม่อาจอธิบายเหตุการณ์ได้ทั้งหมด ถ้าไม่ผิดไม่มีใครกล้าจับหรอกไม่ว่าข้อหาอะไร แต่ถ้าไม่ผิดแล้วยังจับแจ้งความกลับเลยครับ
สุดท้ายนี้ขอได้รับความขอบคุณจากใจจริงที่อ่านจนจบ../ .....

02/09/2015

กฎหมายทวงหนี้ ประกาศใช้แล้ว ( พรบ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558)
สาระสำคัญของกฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่(ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อ 6 มีนาคม 2558 จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 2 ก .ย. 2558 เป็นต้นไป) มานำเสนอ
1.คนทวงหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบหากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินห้าแสนบาท ตามมาตรา 39-มาตรา 45
2.นักรับจ้างทวงหนี้(ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้)ต้องขอจดทะเบียนต่อทางราชการ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา 39)
3.นักทวงหนี้ทวงได้เฉพาะลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเท่านั้น จะไปทวงกับบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นไม่ได้ ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา 39)
4.ทวงหนี้ได้เฉพาะสถานที่ที่ลูกหนี้ให้ไว้เท่านั้น ยกเว้นติดต่อไม่ได้ เวลาจันทร์-ศุกร์ 8.00-20.00 น. วันหยุดราชการ 8.00-18.00 น. นอกนั้นทวงไม่ได้ (มาตรา 9(2))
5. จำนวนครั้งต้องเหมาะสม ไม่ใช่ทวงทั้งวัน (มาตรา 9(3))
6.ผู้รับมอบอำนาจทวงหนี้ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจ รับชำระหนี้ต้องออกหลักฐานการชำระหนี้ตามมาตรา 9 และมาตรา 10
7. ห้ามข่มขู่ ดูหมิ่น เปิดเผย เกี่ยวกับความเป็นหนี้ ทวงโดยใช้ไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร ซองจดหมายที่มีข้อความหรือสัญลักษณ์ว่าส่งมาทวงหนี้ (มาตรา 11) ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินห้าแสนบาท (มาตรา 41)
8.ห้ามทวงหนี้ในลักษณะหลอกลวง แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น อ้างตัวเป็นทหาร ตำรวจ ทนายความ หรือขู่ว่าถ้าไม่จ่าย จะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรืออายัดเงินเดือน หรืออ้างว่าดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิตหรือรับจ้างจากบริษัทข้อมูลเครดิต (มาตรา 12)
9.ห้ามเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศ เช่น ค่าทวงหนี้ ค่าปรับ ต้องมีการกำหนดกันใหม่ หลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ (มาตรา 13)
10.ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับการทวงหนี้ ตามมาตรา 14 ฝ่าฝืนมีบทลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินห้าแสนบาท (มาตรา 42)

Mobile Uploads 30/08/2015

คำพิพากษาศาลฎีกา ปี55
เรื่อง อุบัติเหตุ ผู้ตายขับรถ จยย.ตกหลุมกลางถนน ญาติเป็นโจทก์ฟ้อง กรมทางหลวง เรื่องมีว่า สืบเนื่องจากถนนสาย โชคชัย-เดชอุดม ตรงหน้าปั๊มแก๊สสกุลรัตน์ บ้านหนองตะเคียน ตำบลหัวถนน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหลุมขนาดใหญ่ เวลากลางคืนผู้ตายขับรถจักรยานยนต์มาตกหลุม คอหักตาย ภรรยาของผู้ตายจึงมาให้ตั้งทนายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมทางหลวงให้ คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ชนะ ศาลอุทธรณ์ให้แพ้ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาท่านวินิจฉัยว่า มีข้อวินิจฉัยว่า การที่กรมทางหลวงปล่อยให้ถนนมีหลุมขนาดกว้างประมาณ ๑ เมตร ยาวประมาณ ๑ เมตร ลึก ๒๐ เซ็นติเมตร เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้ผู้ตายขับรถตกหลุมหรือไม่ เห็นว่า ถนนที่เกิดเหตุเป็นทางหลวงแผ่นดินดังนั้นจำเลยที่ ๑ จึงมีหน้าที่ดูแลและซ่อมแซมรักษาให้ถนนอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ หากเกิดหลุมก็ต้องรีบกลบ เพื่อไม่ให้รถยนต์ที่แล่นเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะต้องติดสัญญาณไฟให้ผู้ใช้ถนนได้เห็นชัดเจน การที่จำเลยที่ ๑ ไม่ซ่อมแซมถนนและไม่ติดตั้งสัญญาณไฟดังกล่าวจึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อผู้ตายขับรถตกหลุมถึงแก่ความตายและรถจักรยานยนต์เสียหายจึงเป็นความผิดของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองเต็มตามที่โจทก์ทั้งสองขอมา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๐๖๐/๒๕๕๕)
- เป็นบรรทัดฐานครับ สำหรับ จนท.ผู้รับผิดชอบ หากพบเห็น หรือได้รับแจ้ง ต้องรีบแก้ไข หากฉุกเฉิน ให้ ตำรวจทางหลวง. ท้องที่ ช่วยวางไฟ วางกรวย เวลากลางคืนให้ก่อน ทุกชีวิตมีค่าครับ

เว็บไซต์

ที่อยู่


Sisaket
Amphoe Muang Sisaket
33000