สำนักงานนิติธรรมทนายความและการบัญชี
เปิดเหมือนปกติ
Timeline Photos
ไม่ได้จะเชียร์อาชีพทนายนะครับ แต่ว่ามีคนมาปรึกษาหลายเคสละ เราก็งงว่า ก่อนจะมีปัญหาทำไมไม่มาปรึกษา พอมาปรึกษา มันก็ไม่ทันละสิ เพราะคดีถึงที่สุดไปแล้ว ก็เลยอยากมาบอกว่า ทำไมเราถึงไม่จ้างทนายแต่แรก จะได้ไม่มีปัญหา
.
มาดูว่า ถ้าเรามีทนาย จะส่งผลดียังไงบ้าง
.
1 ทนายความสามารถหาช่องทางด้านกฎหมายช่วยคุณได้ เพราะทนายความรู้ขั้นตอนของคดี มีอยู่หลายครั้งที่เค้านัดไกล่เกลี่ยแล้วไม่เอาทนายไป พอโดนยึดทรัพย์ก็ค่อยมาปรึกษา ถึงเวลานั้น ก้ช่วยอะไรไม่ได้แล้ว
.
2 กรณีที่คุณทำผิดจริง ทนายสามารถแนะนำคุณได้ว่า ควรจะสู้หรือจะสารภาพ มันมีประโยชน์แน่ ถ้าคุณได้รับโทษน้อยลง หรือรอลงอาญา บางคนเรียกทนายประเภทนี้ว่า ทนายโจร แต่อย่าลืมว่า ทนายดีๆ เค้าก็แนะนำให้รับสารภาพได้ ทำให้คนผิดต้องติดคุกแต่โดยดี
.
3 ถ้าคุณไม่มีทนายความแล้วคุณไม่ได้จบกฎหมาย แต่อีกฝ่ายมีทนายความ คุณไม่มีทางรู้กฎหมายมากกว่าทนายความของฝ่ายตรงข้ามแน่นอน ดังนั้น คุณจะเสียเปรียบในทางคดี
.
4 ก่อนทำสัญญาไม่ปรึกษาทนายความ พอเกิดเรื่อง ค่อยมาปรึกษา มันก็ช้าไปแล้ว เช่น กู้ยืมเงินไม่ทำสัญญาไม่มีหลักฐาน ถึงเวลาจะฟ้อง มันก็อาจจะฟ้องไม่ได้
.
5 ในคดีอาญา คำให้การกับ ตร มีผลต่อคดีมาก แล้วเค้าให้ปรึกษาทนายความได้ แต่คุณไม่ปรึกษา ทำให้เสียสิทธิอย่างแรง แถมอาจส่งผลเสียต่อรูปคดีได้ พลิกจากถูกเป็นผิดได้เลย
.
6 คำว่า ไม่ผิดไม่ติดคุก ไม่จำเป็นต้องมีทนายความ มันไม่แน่เสมอไปแล้ว เช่น คดีครูจอมทรัพย์ เป็นต้น ถึงคุณจะไม่ผิด แต่ก็ควรมีทนายความคอยให้คำแนะนำ จะมีประโยชน์ต่อคดีมาก
.
กรณีไม่มีเงินหรือยากจน เดี๋ยวนี้มีทนายฟรีเยอะ มีศูนย์ช่วยเหลือเยอะ หาในกูเกิลได้เลยนะ ก่อนที่อิสรภาพของคุณจะสูญสิ้นไป
.
เพจ สายตรงกฎหมาย ยึดมั่นความยุติธรรม
.
ขอบคุณเจ้าของภาพ ขอบคุณภาพจากยูทูป
ปลายทางไม่มีรางวัลใดๆ
ขออนุญาตแชร์กฏหมายใหม่ครับ
#กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์
หลังจากเมื่อวานได้ลอง Live สดไขข้อข้องใจกฎหมายฉบับนี้ไปแล้ว วันนี้ผมขอมาเขียนสรุปถึงประเด็นสำคัญให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันนะครับ เผื่อใครไม่มีเวลาได้ดูย้อนหลัง
......
1 กรกฎาคม 2561 กฎหมายใหม่ฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับแล้วนะครับ
ความจริงแล้ว กฎหมายเช่าซื้อใหม่นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้ว เพียงแต่ให้เวลาผู้ประกอบการในการปรับปรุงสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่นี้
โดยกฎหมายนี้ ใช้เฉพาะกับ การ #เช่าซื้อรถยนต์ หรือ #เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ระหว่าง #ผู้ประกอบการ กับ #ผู้บริโภค ที่ซื้อไปใช้ส่วนตัวเท่านั้น
...
สาระสำคัญที่เปลี่ยนไปแบบชัดเจนเลย ก็คือ การคิดอัตราดอกเบี้ย *** (มีอธิบายเพิ่มเติมด้านล่าง)
ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการใช้ #อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) แทนที่ #อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Interest Rate)
ซึ่งเจ้าดอกเบี้ยแบบแท้จริงต่อปีนี้ ก็คือ ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เหมือนที่ใช้ในการผ่อนบ้านนั่นเองครับ
แล้วต่างจากเดิมอย่างไร ?
มันต่างมากครับ เพราะเดิมอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่นั้น หากเราผ่อนไปแล้ว ต้นเงินลดลงเรื่อย ๆ แต่ดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการคิดจากเรานั้นยังใช้การคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินที่เรากู้ตอนแรก
เช่น เรากู้ 100,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยล่ะ 10 ต่อปี
หากคิดแบบ Flat Rate ก็เอา 10% คูณ 100,000 บาท แสดงว่าเราจะต้องเสียดอกเบี้ย 10,000 บาท รวมแล้วเราจะมีหนี้ 110,000 บาท
สมมติว่าเราจะผ่อน 10 เดือน
เราก็จะต้องผ่อนงวดล่ะ 11,000 บาท ครบ 10 เดือน ก็เท่ากับเราจ่ายไปทั้งหมด 110,000 บาท
ดูเหมือนจะยุติธรรมดีใช่ไหมครับ แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นลูกเล่นทางการเงิน
ที่บอกว่าเป็น 10% ต่อปีนั้น หากคิดเป็นอัตราแบบลดต้นลดดอกแล้ว ที่เราผ่อนไปนั้นจะกลายเป็นประมาณ 18% ต่อปีเลยทีเดียว
ไม่ต้องงงว่าอีก 8% มันงอกมาจากไหน
มันงอกมาจากการดอกเบี้ยที่ไม่ลดตามเงินต้นที่เราผ่อนไงครับ
จากตัวอย่างเดิม
หากเราผ่อนงวดแรก 11,000 บาท โดยเป็นเงินต้น 100,000 บาท และดอกเบี้ย 1,000 บาทแล้ว
แปลว่าต้นเงินจะเหลือเพียง 90,000 บาทเท่านั้น หากคิดดอกเบี้ย 10% เราก็ควรจะเสียดอกเบี้ยเพียง 900 จริงไหมครับ
และทุกงวดที่เราผ่อนไปนั้น เมื่อต้นลดแล้ว ดอกก็ควรจะลดด้วย
แต่ดอกเบี้ยแบบ Flat Rate ที่เราผ่อนรถมาตลอดนั้น ไม่เคยลดครับ ทำให้ดอกเบี้ยที่เราจ่ายไปนั้น แพงกว่าที่เรารับรู้มากครับ
ดังนั้น การที่กฎหมายเช่าซื้อใหม่สั่งให้ผู้ประกอบการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เราก็จะเห็นดอกเบี้ยที่แท้จริงเราจ่ายไปชัดเจนมากขึ้นครับ
แล้วหลังวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ คนที่ผ่อนรถตามสัญญาเก่าจะได้รับประโยชน์ในเรืองดอกเบี้ยจากกฎหมายใหม่นี้หรือไม่
คำตอบ คือ ไม่
เพราะกฎหมายเช่าซื้อฉบับใหม่นี้ บอกว่าสัญญาที่ทำมาก่อนหน้านี้ ให้ใช้ตามสัญญาเดิมต่อไปได้ครับ
*** [อธิบายเพิ่มเติม] ***
มีรุ่นน้องที่คณะมาอธิบายเพิ่มว่า สคบ. แค่กำหนดให้ผู้ประกอบการแสดงอัตราแบบลดต้นลดดอก (Effective rate) เท่านั้นครับ
ไม่ได้หมายความว่าต้องคิดแบบลดต้นลดดอกก็ได้
ถ้าเป็นแบบนี้ แปลว่าเราก็จะผ่อนเหมือนเดิม เพียงแต่เราจะเห็นดอกเบี้ยมันเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ (เพราะต้นลด แต่ดอกไม่ลด)
ก็งงดีเหมือนกันครับ ที่ สคบ. กำหนดแบบนี้ สุดท้ายเป็นภาระของผู้บริโภคที่จะต้องตรวจสอบเองว่าบริษัทแสดงดอกเบี้ยถูกต้องหรือไม่
ทั้งนี้ บริษัทไหนจะเปลี่ยนไปคิดแบบลดต้นลดดอก อันนี้ สคบ. ก็ไม่ได้ห้ามแต่อย่างใด
แบบนี้ ผมว่า สคบ. ทำแบบไม่สุดทาง และสร้างความสับสนให้ผู้บริโภคพอสมควรเลยครับ
...
นอกจากเรื่องดอกเบี้ยแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อมากก็คือ
การกำหนดให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ที่ต้องดำเนินการตามลำดับในการยึดรถไปขายทอดตลาด
หากผู้เช่าซื้อผิดนัด 3 งวดติดกันแล้ว ผู้ประกอบการก็สามารถยึดรถ แล้วเอาขายทอดตลาดได้เลย (หลักเดิม)
แต่กฎหมายใหม่
ผู้ประกอบการหลังจากยึดไปแล้ว ก่อนจะขายทอดตลาดจะต่องแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน
โดยให้สิทธิผู้เช่าซื้อมาชำระหนี้ส่วนที่เหลือ แล้วเอารถคืนไปได้
และหากผู้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิ ผู้ประกอบการก็จะต้องแจ้งไปยัง #ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ไม่น้อยกว่า 15 วัน
เพื่อให้ผู้ค้ำประกันตัดสินใจที่จะมาใช้สิทธิแทนผู้ซื้อได้
ถ้าผู้ค้ำประกันมาชำระหนี้ส่วนที่ผู้เช่าซื้อค้างอยู่ ผู้ค้ำประกันก็จะได้รถไปเลย
ซึ่งข้อนี้แหละครับ ผมมองว่าเป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้ค้ำประกันมาก
ทำให้ผู้ค้ำประกันมีทางเลือก ที่จะเสียเงินแล้วได้รถไปด้วย ดีกว่าต้องมาเสียเงินเปล่า ๆ โดยที่ไม่ได้อะไร
....
จริง ๆ แล้วกฎหมายฉบับนี้ยังมีหลักการอื่น ๆ อีกพอสมควร แต่ผมไม่อยากให้โพสต์นี้ยาวไปมากกว่านี้
เอาเป็นว่า เพื่อน ๆ ลองเข้าไปอ่านกฎหมายเช่าซื้อใหม่ตัวเต็มได้ที่http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/035/6.PDF
แล้วถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมยังไง ก็เข้ามาสอบถามได้ครับ
https://drpeerapat.com/2018/06/26/new_leasing_reg/
ดร.พีท พีรภัทร
25 มิ.ย. 61
บัตรเครดิตต้องใช้ให้เป็นนะครับ
ต่อไปนี้จะคุยอะไรกันในโลกออนไลก็ต้องระมัดระวังกันนะครับ ปัจจุบันข้อมูลต่างๆในโลกออนไลมีกฏหมายบังคับใช้จึงสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้แล้วนะครับ ดังเช่น เรื่องนี้.
ฎีกาที่ ๖๗๕๗/๒๕๖๐ ข้อความที่โจทก์ส่งถึงจําเลยทางเฟสบุ๊คมีใจความว่า เงินทั้งหมด ๖๗๐,๐๐๐ บาท ไม่ต้องส่งคืนให้แล้ว ยกให้หมดไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว
การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องนําพระราชบัญญัติว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๔ มาใช้บังคับ
ซึ่งตามมาตรา ๗ บัญญัติว่า ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
และมาตรา ๘ บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๙ ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การใดต้องทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว
ดังนั้นข้อความที่โจทก์ส่งถึงจําเลยทางเฟสบุ๊ค แม้จะไม่มีการลง ลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความของโจทก์ทางเฟสบุ๊คจะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วยและโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความทางเฟสบุ๊คถึงจําเลยจริง
ข้อความการสนทนาจึงรับฟังได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จําเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๔๐ แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ
โจทก์ไม่อาจยกเหตุว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะปลดหนี้ให้จําเลยแต่ทําไปเพราะความเครียดต้องการประชดประชันจําเลยขึ้นอ้างเพื่อให้เจตนาที่แสดงออกไปตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจําเลยได้รู้ถึงเจตนาที่ซ่อนอยู่ภายในของโจทก์
คดีนี้จำเลยถูกฟ้องข้อหาบุกรุกป่าสงวนแปรรูปไม้และมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยปฏิเสธข้อหาบุกรุกป่าสงวน รับสารภาพข้อหามีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองและแปรรูปไม้สัก ศาลชั้นต้นยกฟ้องข้อหาบุกรุกป่าสงวนส่วนข้อหามีไม้สักไว้ในครอบครองไม่รอลงอาญา คู่ความอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนข้อหาบุกรุก ข้อหามีไม้สักไว้ในครอบครองรอลงอาญา ใช้เวลาต่อสู้เกือบ2ปี ข้อเท็จจริงเป็นการเข้าไปอยู่ในเขตป่าสงวนก่อนที่รัฐจะประกาศเป็นเขตป่าสงวน การต่อสู้คดีจึงต้องต่อสู้เรื่องขาดเจตนา
วันนี้นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อสู้คดีมาเกือบ 2 ปี เป็นคดีที่จำเลยถูกผู้เสียหายกลั่นแกล้ง แต่ลูกความไม่คิดจะเอาคืนทนายก็อนุโมทนาด้วยครับ กรรมใดใครก่อผลกรรมนั้นย่อมกลับคืนไปหาผู้นั้น....
วันนี้คดีครอบครัวครับ ข้อเท็จจริงไม่ยากแต่ยากตรงความรู้สึกที่อาจมีผลกระทบกับตัวเด็ก
วันนี้มาศาลเยาวชนเจอข้อความดีๆขอนำมาให้คุณพ่อคุณแม่ของเยาวชนได้อ่านครับ
Timeline Photos
ลองอ่านดูครับเป็นประโยชน์มากหากตกเป็นผู้ต้องหาและทนายความก็จะช่วยได้มาก
ผู้พิพากษา เขียนถึงสื่อมวลชน กรณีครูจอมทรัพย์ 'คนไทยชอบดราม่า นักกฏหมายอึดอัดนะ...' นายไพรัช เกิดศิริ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก มีผู้กดไลค์และแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก กรณี กรณีนางจอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร อดีตครูโรงเรียนบ้านม่วงไข่ประชาราษฎร์สงเคราะห์ ต.ด่านม่วงคำ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ถูกศาลตัดสินถึงที่สุดคดีขับรถชนคนตาย กระทั่งพ้นโทษ และ...
มาต่อที่เชียงใหม่ครับ
วันนี้ขอให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเมื่อได้รับหมายศาลควรทำอย่างไร
คนทั่วไปเมื่อได้รับหมายศาลมักจะตกใจกลัวลนลานจนทำอะไรไม่ถูก เพราะเมื่อมีหมายศาลมาถึงตัวมักจะคิดถึงเรื่องการถูกฟ้องร้องไว้ก่อน ทั้งที่จริงๆ แล้วหมายศาลมีหลายชนิดซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นหมายศาลที่ถูกฟ้องร้องเสมอไป อาจเป็นหมายศาลในเรื่องอื่นๆ ก็ได้
ก่อนอื่นจะต้องตั้งสติให้ดีเมื่อได้รับหมายศาล ดูให้รอบคอบว่าเป็นหมายอะไร ส่งมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไร และได้รับหมายในฐานะอะไร เนื่องจากหมายศาลมีหลายประเภท ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจในเบื้องต้นไว้บ้าง ดังนี้
หมายศาลในคดีแพ่งที่สำคัญ ๆ ได้แก่
1. หมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หรือหมายเรียกคดีแพ่งสามัญ
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นหมายในคดีแพ่ง หากได้รับหมายนี้แสดงว่าผู้มีชื่อในหมายได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว หากได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว มีหน้าที่ต้องทำคำให้การยื่นต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายหรือถือว่าได้รับหมาย การที่จะถือว่าได้รับหมาย เช่นการปิดหมาย ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ถูกฟ้องไม่ยอมรับหมายเรียก จึงต้องทำการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ ภูมิลำเนาของผู้ถูกฟ้อง แต่วิธีการปิดหมายจะมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันปิดหมายได้ล่วงพ้นไปแล้ว ดังนั้น ผู้ที่ถูกฟ้องยังมีเวลาที่จะยื่นคำให้การแก้คดีได้รวมแล้ว 30 วัน นับถัดจากวันปิดหมาย เพื่อให้การต่อสู้คดี มิฉะนั้นจะหมดสิทธิ์ในการต่อสู้คดี ทำให้ต้องแพ้คดีและต้องรับผิดตามฟ้อง ดังนั้น เมื่อได้รับหมายต้องรีบติดต่อทนายความทันทีเพื่อปรึกษาและดำเนินการในการต่อสู้คดี
2. หมายเรียกคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ,หมายเรียกคดีมโนสาเร่
คดีมโนสาเร่ คือ คดีที่ฟ้องร้องกันโดยมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท หรือคดีฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 30,000 บาท จำเลยต้องมาศาลตามวันนัดพิจารณาในหมายเพื่อการไกล่เกลี่ย และต้องให้การแก้คดีและสืบพยาน จำเลยจะยื่นคำให้การแก้คดีก่อนวันนัดก็ได้ แต่อย่างช้าต้องไม่เกินวันนัดนั้น ถ้าจำเลยไม่ได้ให้การในวันนัด ศาลจะพิจารณาคดีต่อไปโดยถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และถ้าจำเลยไม่ได้มาศาลในวันนัดดังกล่าวโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลจะสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาด้วย และศาลจะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก คือ คดีสามัญที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินจำนวนที่แน่นอนตามตั๋วเงิน (ตั๋วสัญญาใช้เงิน ,ตั๋วแลกเงิน ,เช็ค) หรือฟ้องตามสัญญาที่เป็นหนังสือสัญญาที่แท้จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยต้องมาศาลและให้การแก้คดีในวันนัดซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาด้วย ถ้าจำเลยไม่ได้ให้การในวันกำหนด ศาลจะพิจารณาคดีต่อไปโดยถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และถ้าจำเลยไม่ได้มาศาลในวันนัดดังกล่าวโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลจะสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา และศาลจะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว
3.หมายเรียกคดีผู้บริโภค
คดีผู้บริโภค ที่เข้าใจกันง่ายๆ คือคดีประเภทที่ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการฟ้องร้องกันเกี่ยวกับการใช้สินค้าหรือบริการ เมื่อได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้ว ผู้มีชื่อในหมายใหไปศาลตามกําหนดนัดเพื่อการไกลเกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน
4.หมายกพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ(คดีแพ่ง)
เมื่อได้รับหมายดังกล่าวแล้ว ผู้มีชื่อในหมายมีหน้าที่ต้องจัดส่งเอกสารหรือวัตถุพยานไปยังศาลตามรายการที่ระบุไว้ในหมาย หากขัดขืนอาจมีความผิดฐานขัดขืนหมายศาลซึ่งมีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้จะมีระบุไว้ในด้านหลังของหมาย
แต่หากไม่มีเอกสารหรือวัตถุพยานตามหมายเรียกอยู่ในครอบครองก็ให้ทำหนังสือชี้แจงไปยังศาลเพื่อให้ศาลและผู้ขอหมายเรียกทราบต่อไป แต่หากมีบางส่วนหรือมีแต่ไม่อาจส่งไปให้ทันตามกำหนดเวลาได้ ก็ต้องทำหนังสือแจ้งเหตุไปให้ทราบเช่นกัน
5. หมายเรียกพยานบุคคล
เมื่อได้รับหมายจะต้องไปศาลตามวันและเวลาที่กำหนดไว้ในหมาย เพื่อเบิกความเป็นพยานต่อศาล หากขัดขืนไม่ไปศาลตามกำหนดศาลอาจออกหมายจับเอาตัวกักขังได้ และอาจถูกฟ้องได้ แต่หากมีเหตุขัดข้องไม่สามารถไปศาลตามวันเวลาที่กำหนดได้ ก็สามารถทำหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลได้ และหากผู้ขอหมายยังประสงค์จะให้เบิกความเป็นพยานต่อศาลอีกก็จะต้องส่งหมายมาให้อีกครั้งหนึ่ง
6. หมายบังคับคดี
เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีแล้ว และจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ก็จะมีการออกหมายบังคับคดีส่งให้จำเลย เมื่อจำเลยได้รับหมายบังคับคดีแล้วมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา มิฉะนั้นอาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
หมายในคดีอาญาที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1. หมายนัดไต่สวนมูลฟ้อง
ในคดีอาญา ถ้าผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีเอง ตามกฎหมายศาลจะต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนว่าคดีที่โจทก์ฟ้องนั้นมีมูลหรือไม่ ถ้ามีมูลศาลก็จะประทับรับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป ถ้าศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลศาลก็จะมีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนหรือตำรวจก็ไม่ต้องทำการไต่สวนมูลฟ้อง พนักงานสอบสวนจะทำสำนวนส่งให้อัยการยื่นฟ้องได้เลย
เมื่อได้รับหมายนัดจึงต้องดูรายละเอียดว่าศาลกำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้องวันใด และหากประสงค์จะต่อสู้คดีก็ต้องรีบปรึกษาทนายความทันที เพื่อทำหนังสือแต่งตั้งทนายความเพื่อให้ทนายความไปทำการซักค้านพยานโจทก์ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องแทน โดยในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องจำเลยไม่จำเป็นต้องไปศาล
ส่วนใหญ่แล้วในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องจำเลยจึงมักจะไม่ไปศาลเพราะหากจำเลยไปศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคดีมีมูล ศาลก็จะประทับรับฟ้องไว้พิจารณา จำเลยจะถูกควบคุมตัวทันที จึงต้องเตรียมหลักทรัพย์ไปประกันตัวด้วย
2. หมายเรียกพยานบุคคล
เมื่อได้รับหมายดังกล่าวต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการที่ได้รับหมายเรียกพยานบุคคลในคดีแพ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว มิฉะนั้นก็จะมีความผิดเช่นเดียวกัน
3. หมายเรียกพยานเอกสารหรือวัตถุในคดีอาญา
หากได้รับหมายเรียกให้ส่งพยานเอกสารหรือวัตถุต่อศาล จะต้องจัดส่งเอกสารหรือวัตถุตามที่ระบุในหมายไปศาลตามวันเวลาที่ศาลกำหนด หากขัดขืนอาจมีความผิดฐานขัดขืนหมายศาลซึ่งมีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้จะมีระบุไว้ในด้านหลังของหมาย
แต่หากไม่มีเอกสารหรือวัตถุพยานตามหมายเรียกอยู่ในครอบครองก็ให้ทำหนังสือชี้แจงไปยังศาลเพื่อให้ศาลทราบต่อไป แต่หากมีบางส่วนหรือมีแต่ไม่อาจส่งไปให้ทันตามกำหนดเวลาได้ ก็ต้องทำหนังสือแจ้งเหตุไปให้ทราบเช่นกัน หรือจะไปแถลงด้วยวาจาต่อศาลตามวันที่ระบุในหมายก็ได้
4. หมายค้น หมายจับ หมายขังและหมายปล่อย
กฎหมายห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล แต่มีข้อยกเว้นถ้าพนักงานฝ่ายปกครอง (ตั้งแต่ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงมาจนถึงปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ) หรือตำรวจ (ตั้งแต่อธิบดีกรมตำรวจลงมาจนถึงหัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป) เป็นผู้ค้นในกรณีดังต่อไปนี้ คือ
1.เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยออกมาจากที่รโหฐานหรือมีพฤติการณ์ที่แสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นข้างใน
2.เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน
3.เมื่อมีคนร้ายขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่
4.เมื่อมีหลักฐานว่ามีสิ่งของผิดกฎหมายซ่อนอยู่ซึ่งหากรอหมายค้นสิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายทำลายเสียก่อน
5.เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้ที่จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้านและการจับนั้นมีหมายจับ
นอกจากนี้การค้นในที่รโหฐานต้องทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก ยกเว้น เมื่อค้นตั้งแต่เวลากลางวันแต่ยังไม่เสร็จก็สามารถค้นต่อไปถึงกลางคืนได้ หรือในกรณีมีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่งก็ค้นในเวลากลางคืนได้ เมื่อได้รับหมายดังกล่าวเหล่านี้ ต้องอ่านรายละเอียดในหมายว่าให้เข้าใจ เมื่อเห็นว่าเป็นหมายที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในหมาย แต่ถ้าเป็นหมายค้นก็ต้องยอมให้ตรวจค้นได้ แต่การตรวจค้นจะต้องทำตามวัน – เวลาและสถานที่ที่ระบุในหมายศาลเท่านั้น และต้องกระทำอย่างระวังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกค้น มิฉะนั้นผู้ถูกค้นสามารถฟ้องผู้ตรวจค้นได้
ส่วนหมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย เป็นเรื่องเฉพาะที่มีขั้นตอนที่ลึกลงไปอีกซึ่งศาลจะกำหนดไว้ในหมายว่าจะดำเนินการอย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามนั้น
การได้รับหมายศาลเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคนทั่วไป ดังนั้นเมื่อได้รับหมายศาลจะต้องตั้งสติให้ดี อย่ากลัวจนเกินเหตุ บางรายเมื่อได้รับหมายศาลแล้วเก็บไว้ไม่ยอมไปติดต่อศาลหรือปรึกษาผู้รู้กฏหมาย จนกระทั่งมีหมายบังคับคดีมาปิดที่บ้าน ถึงเวลานั้นมาแก้ไขลำบากแล้วครับ ฉะนั้นถ้าไม่แน่ใจรีบปรึกษาทนายความทันทีจะดีที่สุดครับ
จันทร์ | 08:30 - 16:30 |
อังคาร | 08:30 - 16:30 |
พุธ | 08:30 - 16:30 |
พฤหัสบดี | 08:30 - 16:30 |
ศุกร์ | 08:30 - 16:30 |
บริการเงินกู้ เงินด่วน ทันใจ ถูกกฎหมาย
ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เพิ่มความคุ้มครองให้คนที่คุณรัก