สำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ ทนายชลบุรี ทนายพัทยา ให้คำปรึกษากฏหมายและรับว่าความ ทนายความประจำจังหวัดชลบุรี ทนายความประจำจังหวัดพัทยา และรับว่าความทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ ชลบุรี ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ให้บริการ ให้คำปรึกษากฎหมายเป็นรายบุคคลและเป็นที่ปรึกษากฏหมายแก่องค์กรธุรกิจ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีแรงงาน คดีภาษีอากร ให้บริการรับรองลายมือชื่อในการจดทะเบียนต่อสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท บริการรับรองสำเนาเอกสาร รับรองลายมือชื่อบุคคล รับรองคำแปล โดยโนตารีพับลิค (Notary public) เรายินดีให้บริการท่าน ติดต่อทนายความ โทร. 098-2477807 (ais) , 087-3357764 (dtac) Lineid- tanaiekkasit , tanaipetch Email - [email protected] ติดต่อทนายความโดยตรงที่ 51/29-51/30 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี สำนักงานพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ ก่อตั้งขึ้นมานานกว่า 35 โดย นายพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ ของนายวัฒนา แจ่มแจ้ง และนายธงชัย พิมพ์สกุล อดีตทนายความชื่อดังของประเทศไทย โดยนายวัฒนาฯ เป็นอาจารย์สอนวิชาว่าความให้กับนายชวน หลีกภัย สมัยที่ยังเป็นทนายฝึกหัด และนายธงชัย พิมพ์สกุล เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดชลบุรี นายพิศิษฐ์ ศรีสังข์เป็นอดีตคณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี และดำรงตำแหน่งประธานสภาทนายความจังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ปี 2547-2556 และเป็นอดีตประธานชมรมทนายความชลบุรี 2 สมัย ปัจจุบันสำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ บริหารงานโดย นายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์ โดยมีนายพิศิษฐ์ ศรีสังข์ เป็นประธานที่ปรึกษาของสำนักงาน
เปิดเหมือนปกติ
[10/02/20]
พนักงานสอบสวนเป็นต้นธารของกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญา
พูดได้ว่าในคดีอาญาคดีจะเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายหรือไม่ พนักงานสอบสวนเป็นตัวแปรสำคัญ มากยิ่งกว่าพนักงานอัยการ ทนายความ หรือผู้พิพากษา
ทั้งนี้เพราะในคดีอาญาพนักงานสอบสวนเป็นคนรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด รวมทั้งเป็นผู้ปรับข้อกฎหมาย สอบพยานที่เกี่ยวข้องทุกปาก ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับวันเกิดเหตุ ซึ่งยากต่อการปรับแต่ง และเป็นช่วงที่พยานหลักฐานยังสดใหม่อยู่
การพิจารณาสำนวนของพนักงานอัยการ หรือการว่าความของพนักงานอัยการในศาลก็ล้วนแต่อาศัยสำนวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน
พนักงานอัยการไม่ได้เป็นคนไปรวบรวมพยานเอกสารหรือพยานวัตถุมาเอง รวมทั้งไม่ได้เป็นคนสอบพยานบุคคลด้วยตนเอง เป็นเพียงผู้ตรวจสอบสำนวนปรับข้อกฎหมายและเอาข้อเท็จจริงไปเสนอศาลเท่านั้น
ส่วนศาลเองก็จะต้องพิจารณาคดี ที่พนักงานอัยการเสนอมาซึ่งก็มีที่มาจากสำนวนสอบสวน
ในคดีที่รัฐเป็นผู้เสียหายเท่านั้นหรือคดีที่ไม่มีโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีการพิจารณาคดีของศาลจึงพูดได้ว่าแทบไม่มีข้อเท็จจริงที่อยู่นอกสำนวนการสอบสวนเลย
ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่า การทำงานของพนักงานสอบสวน มีความสำคัญและมีผลต่อคดีอาญา มากกว่าอัยการ หรือผู้พิพากษา
งานของพนักงานสอบสวน เป็นงานที่จะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ไม่น้อยกว่างานของพนักงานอัยการ ของผู้พิพากษาหรือทนายความ ซึ่งตามความเห็นของผู้เขียน งานพนักงานสอบสวนจะต้องใช้ความสามารถมากกว่าเสียอีก เพราะนอกจากมีความรู้ทางกฎหมายแล้วยังจะต้องมีความรู้ในด้านจิตวิทยาในการสอบสวน การสอบปากคำพยานและผู้ต้องหา จะต้องลงลุยไปตรวจสอบและแสวงหาพยานหลักฐาน ด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตามด้วยระบบงานของพนักงานสอบสวน ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทน สวัสดิการ ความสะดวกสบาย ลักษณะการทำงาน พนักงานสอบสวนมีความเหลื่อมล้ำ และเทียบไม่ได้เลยกับพนักงานอัยการ ผู้พิพากษา
นอกจากนี้การทำงานยังมีความเสี่ยง ที่จะถูกร้องเรียน หรือฟ้องร้อง จากคู่กรณีทั้งสองฝ่าย หากทำงานผิดพลาด และยังเป็นถูกแทรกแซงจากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ผู้มีอิทธิพลได้โดยง่าย ซึ่งอาจจะทำให้จำใจจะต้องทำสิ่งที่ผิดกฎหมายซึ่งเสี่ยงต่อตนเองจะต้องถูกคู่ความอีกฝ่ายดำเนินคดีภายหลัง
สำหรับผู้เขียนซึ่งเป็นทนายความการทำคดีความแต่ละคดี ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายคดี มีสิทธิเลือกที่จะรับทำหรือไม่รับทำก็ได้ หากห็นรูปคดีไม่น่าทำหรือได้รับค่าตอบแทนที่ไม่น่าพอใจ
แต่พนักงานสอบสวนตามหลักการแล้วไม่สามารถเลือกทำคดีได้ อีกทั้งไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นรายคดี
นอกจากนี้คนที่ทำงานอยู่ ก็ไม่ส่วนใหญ่แล้วในแต่ละโรงพักมีจำนวนคนไม่เพียงพอ บางคนมีชื่อแต่ไม่ได้ทำงานอยู่จริง เพราะไปอยู่หน้าห้องนายหรือไปช่วยราชการ ทำให้พนักงานสอบสวนที่เหลืออยู่จะต้องรับงานเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นแล้วจึงไม่อยากมีใครมาเป็นพนักงานสอบสวน คนที่มีความรู้ความสามารถถ้าพอมีเส้นสายก็จะไปวิ่งเต้นโยกย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่น
ตราบใดที่ยังไม่มีการปฏิรูปงานสอบสวน ความบิดเบี้ยวในกระบวนการยุติธรรมคดีอาญา ไม่มีทางจะหายไปจากประเทศของเรา
ที่ผ่านมามีความพยายามจะปฏิรูปงานสอบสวนมาหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ แกนนำคนที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการสอบสวนก็ล้วนแต่ประสบเหตุร้าย บางคนก็ถึงแก่ชีวิต
สาเหตุหลักๆที่การปฏิรูปงานสอบสวนไม่สำเร็จ เพราะผู้มีอำนาจไม่ต้องการแก้ไขปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงระบบงานสอบสวน เพราะต้องการให้อำนาจในการสอบสวนอยู่ในมือของตนเองต่อไป เพราะสามารถใช้อำนาจดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนเองได้ (ดูตัวอย่างคดีบอส อยู่วิทยา หรือคดีการเมืองต่างๆ ล้วนแต่อาศัยพนักงานสอบสวนเป็นเครื่องมือทั้งสิ้น)
สำหรับวิชาชีพทนายความจะต้องทำความเข้าใจถึงปัญหาตรงนี้และเรียนรู้ที่จะอยู่กับระบบที่บิดเบี้ยว
สำหรับผู้เขียนตอนเป็นทนายความใหม่ๆ จะรู้สึกโกรธมากกว่าไปแจ้งความแล้วตำรวจไม่ยอมรับแจ้งความ หรือแจ้งความแล้วงานไม่คืบหน้า
แต่เมื่อมาทำงานมาเป็นเวลานานๆมีเพื่อนฝูงเป็นพนักงานสอบสวนหลายคน จึงเข้าใจระบบและเห็นใจพนักงานสอบสวนมากกว่า
ทุกวันนี้ในคดีอาญาที่ลูกความเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิ์ฟ้องคดีเอง ผู้เขียนจึงใช้วิธียื่นฟ้องคดีต่อศาลเองโดยตรงไม่นิยมแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ยกเว้นคดีที่รูปคดีมีเหตุพิเศษจริงๆ เช่นผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง คดีที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย หรือคดีที่จำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร
ซึ่งวิธีการนี้เป็นผลดีกับทั้งสองฝ่ายการยื่นฟ้องคดีเองโดยตรงทนายความเองก็ได้ค่าจ้าง และไม่ต้องไปทะเลาะกับพนักงานสอบสวน
ส่วนคดีที่จำเป็นจะต้องให้พนักงานสอบสวนทำเราก็ให้ความช่วยเหลือประสานงานหรือเตรียมข้อมูลเพื่อความสะดวกในการทำงาน
ในการทำงานจริง เราเป็นทนายความไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบกระบวนการยุติธรรมที่บิดเบี้ยวได้ แต่เราจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจที่จะอยู่กับระบบที่บิดเบี้ยวดังกล่าว …
ปัญหาการส่งหมายนัดทางเจ้าพนักงานไปษณีย์ที่ศาลยุติธรรมต้องปรับปรุง และวิธีแก้ไขกรณีการส่งหมายศาลทางไปรณีย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ธรรมดาแล้วการส่งเอกสารต่างๆของศาล เช่นคำฟ้อง หมายนัด คำบังคับ คำสั่งแจ้งต่างๆ ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องนั้น จะต้องจัดส่งโดยเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา มาตรา 70)
ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ศาลเป็นผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย ได้รับการฝึกอบรม ทราบระเบียบและแนวทางปฏิบัติในการส่งเอกสารที่ชัดเจน เช่น ทราบว่า บุคคลใดบ้างที่มีสิทธิรับเอกสารแทนคู่ความ ทราบว่าหากไม่พบคู่ความจะต้องทำการปิดหมายอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 76 )
อย่างไรก็ตามการส่งเอกสารโดยเจ้าพนักงานของศาลเองก็ยังมีข้อจำกัด เพราะทางสำนักงานศาลยุติธรรมเองก็ไม่ได้มีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเฉพาะด้านการส่งหมายโดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาเจ้าพนักงานศาลในตำแหน่งอื่นๆ ผลัดวันกันไปช่วยส่งหมาย ซึ่งก็มักจะส่งกันได้ในเฉพาะช่วงเสาร์อาทิตย์เท่านั้นเพราะในวันธรรมดาเจ้าหน้าที่ศาลก็ต้องทำงานประจำ จึงเกิดความล่าช้าในการส่งหมาย และบางครั้งก็มักจะเกิดปัญหาหาบ้านที่จะหมายไม่พบ เพราะเจ้าหน้าที่ศาลบางคนอาจไม่มีความชำนาญพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีความล่าช้าในเรื่องการทำเรื่องส่งหมายนอกเขตศาลต่างๆ
ดังนั้นกฎหมายจึงเปิดช่องทางอีกว่านอกจากให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งเอกสารต่างๆของศาลแล้ว ศาลอาจจะสั่งให้ส่งเอกสารต่างๆของศาลโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือโดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศก็ได้ และให้ถือว่าคำคู่ความหรือเอกสารที่ส่งโดยเจ้าพนักงานไปรษณีย์มีผลเสมือนเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สามารถส่งหมายได้โดยรวดเร็วและคู่ความจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เพราะเจ้าพนักงานไปรษณีย์ทำการส่งเอกสารกันทุกวัน และค่าธรรมเนียมการส่งเอกสารของเจ้าพนักงานไปรษณีย์ถูกกว่าเจ้าหน้าที่ศาลมาก และโดยมากแล้วเจ้าพนักงานไปรษณีย์มีความชำนาญพื้นที่มากกว่า ไม่ค่อยจะพบเจอปัญหาในการหาบ้านที่จะส่งไม่เจอ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 73 ทวิ)
อย่างไรก็ตามการส่งหมายโดยเจ้าพนักงานไปรษณีย์นั้น สำหรับผู้เขียนซึ่งทำงานในทางปฏิบัติมักจะพบเจอปัญหาก็คือ เจ้าพนักงานไปรษณีย์ ไม่ทราบว่าเอกสารที่ตนเองส่งนั้นเป็นคำสั่งของศาล ซึ่งในการส่งจะต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด และเจ้าพนักงานไปรษณีย์ ไม่ทราบระเบียบ ข้อกฎหมาย และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องการส่งเอกสารของศาล
กล่าวคือ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 76 นั้น ในการส่งเอกสารต่างๆของศาล หากผู้ส่งไม่พบผู้รับเอกสาร จัดส่งให้กับบุคคลอื่นซึ่งมีอายุเกินกว่า 20 ปีซึ่งอยู่อาศัยหรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้รับเอกสารนั้น และห้ามส่งคำคู่ความและเอกสารแก่คู่ความฝ่ายที่เป็นปรปักษ์กับผู้รับเอกสาร
หลายๆครั้งเจ้าพนักงานไปรษณีย์เองก็ปฏิบัติในการส่งเอกสารของศาลเหมือนการส่งสินค้าหรือเอกสารอื่นๆ เช่น นำไปฝากให้บ้านข้างๆรับให้ ส่งให้คนที่อยู่ในบ้านโดยไม่รู้ว่าเป็นคู่ความฝ่ายปรปักษ์หรือไม่ หรือส่งให้เด็กอายุไม่เกิน 20 ปี
ซึ่งหากบุคคลที่รับเอกสารไม่นำเอกสารไปให้คู่ความ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่คู่ความ ซึ่งผู้เขียนเคยพบเจอปัญหาแบบนี้มาแล้วบ่อยครั้ง และเคยทำเรื่องเพิกถอนการส่งหมายโดยเจ้าพนักงานไปรษณีย์มาหลายครั้ง ตัวอย่างเช่นคดีนี้
https://www.facebook.com/srisungadvocate/posts/834166576738102
โดยปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์โควิท ทำให้คดีที่ศาลนัดไว้ช่วงปลายเดือนมีนา เดือนเมษา และพฤษภาคม ถูกเลื่อนเป็นจำนวนมาก และในการนี้หลายศาลใช้วิธีการส่งหมายนัดแจ้งการเลื่อนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เพราะจะสะดวกรวดเร็วประหยัดงานของศาล ทำให้ผู้เขียนพบเจอปัญหาการส่งหมายผิดพลาดอีกครั้ง โดยเป็นกรณีการที่เจ้าพนักงานไปรษณีย์ส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องให้กับคนข้างบ้าน ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยเสียสิทธิในการสู้คดี
ผู้เขียนในฐานะทนายความที่ทำงานทางปฏิบัติ จึงขอเสนอแนะไปยังศาลยุติธรรมว่า ควรประสานกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่ออบรมและทำความรู้ความเข้าใจและทางปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเอกสารของศาลให้กับเจ้าพนักงานส่งไปรษณีย์ เพื่อลดปัญหาในทำนองนี้ที่จะเกิดขึ้นอีก
โดยกรณีที่เกิดปัญหาการส่งเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้น หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่คู่ความ คู่ความย่อมสามารถแก้ไขได้ ด้วยการยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 โดยผู้เขียนได้นำตัวอย่างคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบฉบับล่าสุด มาให้ผู้สนใจได้ศึกษากัน
สำหรับเกร็ดและเทคนิคเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องการยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ก็คือ การระมัดระวังเรื่องการตรวจสำนวน โดยหากมีข้อสงสัยว่าจะมีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใดๆ เมื่อเรายื่นใบแต่งทนายความเข้าไปในสำนวนแล้ว ศาลหรือฝ่ายตรงข้ามอาจจะถือว่าหรือยกข้อต่อสู้ขึ้นว่าเราทราบกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นแล้ว เพราะถือว่าได้ตรวจสำนวนคดีแล้ว และการยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบจะต้องยื่นภาย ในกำหนด 8 วัน นับแต่วันที่ทราบการที่ผิดระเบียบนั้น ( ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 )
สำหรับคดีนี้ผู้เขียนได้ยื่นใบแต่งทนายความไป และขอตรวจดูสำนวน และคัดถ่ายหลักฐานการส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้อง เพื่อสอบข้อเท็จจริงว่าทำไมจึงไม่มีการส่งหมายนัดแจ้งวันนัดไต่สวนมูลฟ้องให้กับจำเลย แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่บัลลังค์แจ้งว่า ไม่สามารถให้ดูสำนวนได้ เพราะอยู่ระหว่างท่านผู้พิพากษาเขียนคำพิพากษา และแจ้งให้มาดูสำนวนวันที่ ศาลอ่านคำพิพากษาเลย ซึ่งหากถึงวันนั้นย่อมเลยกว่ากำหนด 8 วัน นับแต่วันที่ยื่นใบแต่งทนายความเข้าไปในสำนวนแล้ว
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ศาลบางคน มีความขี้เกียจติดตามสำนวนจากท่านผู้พิพากษา เมื่อทนายความขอตรวจสำนวน ก็มักบ่ายเบี่ยงไม่ยอมไปเอาสำนวนจากผู้พิพากษามาให้ทนายความตรวจสอบ ทั้งๆที่ทนายความเองขอตรวจสอบช่วงเวลาสั้นแค่ไม่กี่นาที และเป็นสิทธิของทนายความและคู่ความที่จะตรวจสำนวนได้
ผู้เขียนจึงต้องยื่นคำร้องแจ้งเรื่องว่า มาขอตรวจสำนวนแล้ว เจ้าหน้าที่ศาลไม่ให้ตรวจ และยังไม่ทราบรายละเอียดคดี ซึ่งภายหลังยื่นคำร้องแล้ว ผู้เขียนจึงได้ตรวจสำนวนในภายหลัง ซึ่งการยื่นคำร้องชี้แจงข้อเท็จจริงเข้าไปในสำนวนจะเป็นการป้องกันไม่ให้เสียสิทธิหรือถูกโต้แย้งว่ายื่นเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งวิธีการนี้เป็นเทคนิคที่ทนายความควรจะต้องทำ กรณีที่มาขอตรวจสำนวนและเจ้าหน้าที่ไม่ยอมหรือไม่เอาสำนวนมาให้ตรวจ เพื่อป้องกันการถูกโต้แย้งว่า ทราบกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้ว ไม่ยื่นคำร้องขอเพิกถอนภายในเวลาที่หนด
รวมข้อกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้งาน
- มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองเพื่อใช้งานเองไม่ผิดจริงหรือไม่ ?
- บุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคติน ( o nic ) ผู้มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้งานเองผิดหรือไม่ ?
- บุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ผลิตในไทยผู้ครอบครองเพื่อใช้งานเองมีความผิดหรือไม่ ?
- ข้อสรุปบุหรี่ไฟฟ้าแบบไหนผิดและแบบไหนไม่ผิด
เนื่องจากในช่วงนี้ผู้เขียนเห็นทนายความบางคนให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนในทำนองว่า มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ใช้เองไม่ผิด ถ้าตำรวจจับให้ให้การปฏิเสธต่อสู้คดี โดยอ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นสินค้าผิดกฎหมายและให้ฟ้องตำรวจกลับ ซึ่งมีประชาชนเข้าไปดูจำนวนมาก และอาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจข้อกฎหมายแบบผิดๆ จนอาจทำให้ตนเองถูกจับกุมเดือดร้อนเสียหายได้ ดังนั้น ผู้เขียน ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพทนายความด้วยกัน จึงขอสรุปข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าที่ถูกต้อง ดังนี้
1.มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองเพื่อใช้งานเองไม่ผิดจริงหรือไม่ ?
เดิมทีบุหรี่ไฟฟ้าในช่วงแรก ผู้ครอบครองเพื่อใช้งาน ไม่มีความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดความผิดไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายอาญาที่ว่า ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนด ในช่วงแรกที่เริ่มมีการมาใช้ เมื่อเกือบสิบกว่าปีก่อนนั้น จึงยังไม่มีกฎหมายอาญากำหนดห้าม ว่าการใช้หรือสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นความผิด จึงยังมีช่องว่างทางกฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นความผิดอยู่
ต่อมาเกิดกระแสสังคม ในทำนองว่าบุหรี่ไฟฟ้าอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้สูบได้ ซึ่งแทนที่รัฐจะตรากฎหมายออกมาให้ชัดเจน โดยศึกษาผลดีผลเสีย ของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ก่อนออกกฎหมาย ให้มีการโต้เถียงกันในสภาร่างกฎหมาย ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ เพื่อให้แน่ชัดว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายจริงหรือไม่ ถ้าเป็นอันตรายจริงก็ควรออกกฎหมายห้ามไปเลย แต่หากบุหรี่ไฟฟ้ามีประโยชน์ก็ควรเปิดโอกาสให้สามารถใช้ได้โดยอยู่ภายใต้ความควบคุม
แต่รัฐบาลขณะนั้นใช้วิธีง่ายๆในการแก้ไขปัญหาก็คือ ออกประกาศภายในของหน่วยงาน ซึ่งสามารถออกได้ง่ายๆโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไม่ต้องผ่านกระบวนการออกกฎหมายที่ยุ่งยาก ไม่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าอะไรให้วุ่นวาย ไม่ต้องรับฟังเสียงของประชาชน รัฐมนตรีคนเดียวสามารถออกอากาศได้เลย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้นก็ได้ออก ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรีไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2557
โดยตามประกาศดังกล่าว ได้วางหลักเกณฑ์ กำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยให้เหตุผลว่าอาจจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ สุขอนามัย สังคม และความมั่นคงของประเทศและความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน (แค่บุหรี่ไฟฟ้าเนี่ยนะ)
โดยประกาศดังกล่าว กำหนดลักษณะของบุหรี่ไฟฟ้า หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ทำให้เกิดละอองไอน้ำในลักษณะคล้ายควันบุหรี่ไม่ว่าจะทำขึ้นด้วยวัตถุใดซึ่งใช้สำหรับสูบในลักษณะเดียวกับการสูบบุหรี่ตามพิกัดอัตราศุลกากร
และในส่วนน้ำยาสำหรับสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้น ก็ถือเป็นสินค้าต้องห้ามเช่นเดียวกัน โดยกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ว่า สารหรือสารสกัดหรือสิ่งอื่นใด ที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิดควันหรือละอองน้ำเพื่อการสูบบารากุหรือบารากุไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งนำเข้ามาพร้อมสินค้าตามวรรคหนึ่งเพื่อใช้ร่วมกันเป็นสินค้าห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย
ดังนั้นแล้ว ตามกฎหมายแล้วจึงถือว่าบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาสำหรับสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามกฎหมาย
ถึงแม้ พ.ร.บ. ศุลกากร จะเป็นกฎหมายที่ใช้มีเจตนาบังคับผู้นำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศ โดยตามพระราชบัญญัติศุลกากร วางหลักไว้ว่า
มาตรา 242 ผู้ใดนําเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการ ศุลกากร หรือเคลื่อนย้ายของออกไปจากยานพาหนะ คลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้า ที่มั่นคง ท่าเรือ รับอนุญาต หรือเขตปลอดอากร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานศุลกากร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สิบปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ริบของนั้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม่
แต่ตามมาตรา 246 ก็ได้วางหลักว่า ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจําหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานําหรือรับไว้ โดยประการใดซึ่งของอันตนพึงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา ๒๔๒ ต้องระ วางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือทั้งจําทั้งปรับ
ดังนั้นแล้วเมื่อ บุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่นำเข้า มาจากประเทศเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้า ผู้ที่ซื้อบุหรี่ไฟฟ้า หรือรับไว้โดยประการใด เช่นมีคนนำมาให้สูบฟรีๆ ก็ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 246 จะอ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นสินค้าต้องห้ามก็ไม่ได้ เพราะบุคคลไม่สามารถอ้างได้ว่าไม่รู้กฎหมาย หรือจะอ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นสินค้านำเข้าก็อ้างยาก เพราะบุหรี่ไฟฟ้าในแต่ละรุ่น หาข้อมูลไม่ยากว่าเป็นบุหรี่ไฟฟ้าแบบผลิตในต่างประเทศ หรืิอผลิตในไทย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นที่รู้กันดีว่าบุหรี่ไฟฟ้าเกินกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปที่ขายในประเทศไทย เป็นบุหรี่ไฟฟ้าที่ผลิตในต่างประเทศและนำเข้ามาในประเทศ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า บุหรี่ไฟฟ้าที่ขายกันอยู่ในประเทศไทย เป็นสินค้านำเข้ามาจากต่างประเทซ ดังนั้นเมื่อถูกจับจะมาอ้างยืนกรานกระต่ายขาเดียวว่าไม่รู้ว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศจึงฟังไม่ขึ้น
ดังนั้นแล้วหาบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ผู้ที่มีไว้เพื่อเสพเองก็มีความผิดตามมาตรา 246 ประกอบมาตรา 242 อย่างแน่นอน ที่ผ่านมาศาลในประเทศไทยก็มีคำพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดไปแล้วหลายคดี โดยผู้เขียนสามารถรวบรวมมาเพียงแค่บางส่วน ได้ตามนี้
https://drive.google.com/open?id=1bIZkhwL8LiHMAUhU_NltL5xujmBAqp8s
ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่าศาลได้มีบรรทัดฐานคำพิพากษาลงโทษผู้ครอบครองบุหรี่ไำฟฟ้ามาเป็นจำนวนหลาย หลักกฎหมายเองก็ชัดเจนว่าผู้ครอบครองมีความผิด ดังนั้นทนายความคนไหน ที่บอกกับประขาชนว่าผู้มีไว้เพื่อสูบไม่ผิด โดยแนะนำให้ประชาชนอ้างกับกับตำรวจว่า ไม่รู้ว่าเป็นสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ถ้าตำรวจจับให้ฟ้องตำรวจกลับ เหล่านี้เป็นคำแนะนำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการแนะนำให้ประชาชนบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งไม่ใช่วิสัยที่ทนายความควรกระทำ
ซึ่งการสืบพยานในชั้นศาลนั้น ฝ่ายโจทก์สามารถสืบได้ไม่ยากว่าบุหรี่ไฟฟ้ารุ่นไหน เป็นบุหรี่ไฟฟ้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปในประเทศไทยว่าบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่แล้วเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และสินค้าของกลางในคดีนั้นๆก็เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เมื่อโจทก์สามารถนำสืบได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ การที่จะอ้างว่าตนเองไม่รู้ว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จึงเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น
2.บุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคติน ผู้ครอบครองไว้เพื่อสูบมีความ ผิดหรือไม่ ?
ปัญหาทางกฎหมายที่น่าสนใจก็คือ ในทุกวันนี้ มีน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าบางประเภท เป็นน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคติน ( 0 nic) กล่าวคือผู้เสพจะไม่ได้รับนิโคติน เพียงแต่จะได้รับกลิ่นและรสของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าประเภทนั้นเท่านั้น คล้ายๆกับกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน หรือเบียร์ที่ไม่มี Alcohol
บุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคตินนั้น ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการติดนิโคติน แต่ต้องการเสพกลิ่นและรสจากบุหรี่ไฟฟ้า หรือใช้สำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการเลิกสูบบุหรี่ ค่อยๆลดระดับนิโคตินมาเรื่อยๆในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าจนกระทั่งมาเหลือ 0 เพราะผู้เสพบุหรี่ไร้คนติดนิสัยในการสูบอะไรสักอย่าง ซึ่งผลการวิจัยจากต่างประเทศส่วนใหญ่แล้วก็ชี้ให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าแบบนี้ ไม่มีโทษแก่ร่างกาย และเป็นเรื่องถูกกฎหมายในต่างประเทศ
ปัญหาก็คือน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคติน ซึ่งใช้กับบุหรี่ไฟฟ้า จะถือว่าเป็นบุหรี่ไฟฟ้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการต้องห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่ ?
ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยมีการดำเนินคดีในประเทศไทยมาก่อน อีกทั้งยังไม่เคยมีใครสู้คดีมาก่อน แต่ตามความเห็นของผู้เขียนแล้ว การตีความกฎหมายที่มีโทษอาญา ควรจะต้องตีความโดยเคร่งครัด เมื่อบุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคติน ไม่ได้ประกอบด้วยสารนิโคตินซึ่งเป็นสารที่สำคัญที่สุดของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า และเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดโทษแก่ผู้ใช้งานได้ถ้าใช้เกินปริมาณที่สมควร อีกทั้งผลวิจัยในต่างประเทศก็ชี้ให้เห็นแล้วว่าไม่ได้มีโทษต่อร่างกาย เมื่อประกาศของกระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน แต่น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคตินไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนหรือความมั่นคงของประเทศได้อย่างใด ดังนั้นความเห็นของผู้เขียนจึงเห็นว่าน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคติน และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคติน ไม่ถือว่าเป็นบุหรี่ไฟฟ้า ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ และไม่ได้เป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้อย่างใด
อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงความเห็นของผู้เขียนเท่านั้น แต่หากมีผู้ใดถูกจับเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคติน ผู้เขียนยินดีสู้คดีให้จนถึงที่สุดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการและเป็นตัวอย่างคดีต่อไป
3..บุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ผลิตในไทย ผู้ครอบครองไว้เพื่อสูบเองผิดไหม
อย่างที่บอกไว้ในข้อ 1 เนื่องด้วยการออกกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ทำตามขั้นตอน ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการตรากฎหมาย ไม่มีการถกเถียงในเชิงวิชาการ ไม่ได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นข้อกฎหมายดังกล่าวจึงยังมีช่องว่างอยู่ เพราะสำหรับผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าไว้เพื่อสูบเองจะมีความผิดตามพรบศุลกากรมาตรา 242 ประกอบมาตรา 246 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ บุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นน้ำยาที่นำเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น
แต่ปัจจุบันนี้บุหรี่ไฟฟ้าได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย จึงทำให้มีผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยจำนวนไม่น้อย และกำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ผู้ผลิตในไทยบางเจ้ามีคุณภาพถึงกับส่งออกในต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ายี่ห้อ “พันธ์ไทย” “Craftsman” “บางสวรรค์” หรือบุหรี่ไฟฟ้ายี่ห้อ “dooze” ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเหล่านี้ ล้วนแต่ผลิตในประเทศไทยไม่ได้เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในต่างประเทศ ดังนั้นแล้วผู้ครอบครองจึงไม่มีความผิด ฐานซื้อ หรือ รับไว้ซึ่ง ของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการ ศุลกากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 242 และมาตรา 246 แต่อย่างใด
อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายอื่นเข้ามาควบคุมเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าหรือน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศไทย ดังนั้นผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าที่ผลิตในไทยและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ผลิตในไทยจึงไม่มีความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้ว่าในคดีต่างๆที่ศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้านั้น จำเลยจะถูกฟ้องเพียงข้อหาเดียวเท่านั้นคือความผิดฐานเป็นผู้รับหรือซื้อสิ่งของซึ่งไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากร ไม่มีความผิดในข้อหาอื่น
ดังนั้นจึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า
การครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า หรือน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ผลิตและนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้ครอบครองแม้มีไว้ในครอบครองเพื่อสูบเองก็ย่อมมีความผิด จะไปอ้างว่าไม่รู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้า ก็อ้างไม่ได้ ส่วนการจะอ้างว่าไม่รุ้ว่าสินค้าของตนเองนั้น เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจาก ต่างประเทศก็อ้างยากมาก ขอบุหรี่ไฟฟ้าในแต่ละประเภททุกวันนี้สามารถสืบหาได้โดยง่ายว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในไทยหรือผลิตในต่างประเทศ และประชาชนส่วนใหญ่ต่างก็รู้ว่าเกินกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นเป็นบุหรี่ไฟฟ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป การที่จะอ้างยืนยันกระต่ายขาเดียวว่าไม่รู้ว่าเป็นสินค้านำเข้าเป็นไปได้ยาก
สำหรับบุหรี่ไฟฟ้าประเภทไม่มีนิโคติน และน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าประเภทไม่มีนิโคติน ตามความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่าไม่มีความผิด เพราะโดยสภาพแล้วไม่ถือเป็นบุหรี่ไฟฟ้า ผู้ครอบครองใช้เพื่อสูบเองจึงไม่มีความผิด อย่างไรก็ตามคงต้องรอให้มีคดีตัวอย่างต่อไป
ส่วนบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศไทย ตามข้อกฎหมายชัดเจนว่าผู้มีไว้เพื่อสูบ ไม่มีความผิดแต่อย่างใด
สำหรับผู้เขียนเองมีทัศนคติที่ดีต่อบุหรี่ไฟฟ้า และสนับสนุนให้คนใช้งานเพื่อใช้เลิกบุหรี่ เพราะข้อดีของบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นที่ยอมรับของสากล แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ไม่ใช่มีแต่ข้อดีอย่างเดียว ถ้าใช้งานโดยขาดความรู้ความเข้าใจก็อาจจะเกิดผลเสียได้ เช่นการได้รับนิโคตินเกินขนาด ดังนั้นแล้ววิธีที่ถูกต้องรัฐควรจะออกกฎหมายเข้ามาควบคุมการใช้งานบุหรี่ไฟฟ้า ให้ถูกต้อง มิใช่เพียงแอบออกประกาศง่ายๆออกมา เช่นนี้
ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการที่บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทย แต่ผู้มีอำนาจของเรายังล้าหลัง ไม่รู้จักเรียนรู้ปรับตัวให้เข้าทันโลก หรืออาจจะมีเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ยังมีปัญหาทางกฎหมายกับผู้ใช้งานในประเทศไทยอยู่
แต่ในเมื่อมันยังผิดกฎหมายผู้ใช้งานก็ควรจะรู้ช่องทางกฎหมายและ ข้อกฎหมายที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพราะถ้าหากท่านเข้าใจแบบผิดๆไปว่าท่านมีบุหรี่ไฟฟ้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมีไว้สูบไม่ผิด เดี๋ยวค่อยไปโกหกศาลเอาว่าไม่รู้ว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ก็ย่อมทำให้ท่านย่ามใจและมีโอกาสถูกจับสูง แต่หากท่านเข้าใจข้อกฎหมายได้อย่างถูกต้อง เมื่อเจอเจ้าหน้าที่ ก็สามารถอธิบายและชี้แจงได้ โดยตามคำแนะนำของผู้เขียน หากมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ ควรพูดคุยกันด้วยกันถ้อยทีถ้อยอาศัย ชี้แจงในทำนองขอความเห็นใจ จะเป็นประโยชน์กับท่านมากกว่าการที่จะไปคุยแบบหัวหมอ ยืนกรานกระต่ายขาเดียว และ ขู่ฟ้องเจ้าหน้าที่ครับ
สำนักงานพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ ชลบุรี ก่อตั้งขึ้นมานานกว่า 30 ปี โดย นายพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ซึ่งเป็นทนายฝึกหัดในสำนักงานทนายความของ ของทนายวัฒนา แจ่มแจ้ง และทนายธงชัย พิมพ์สกุล อดีตทนายชื่อดังของจังหวัดชลบุรี โดยนายวัฒนาฯ เป็นอาจารย์สอนวิชาว่าความให้กับนายชวน หลีกภัย สมัยที่ยังเป็นทนายฝึกหัดอยู่ที่จังหวัดชลบุรี และนายธงชัย พิมพ์สกุล เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดชลบุรี นายพิศิษฐ์ ศรีสังข์เป็นอดีตคณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี และดำรงตำแหน่งประธานสภาทนายความจังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ปี 2547-2556 และเป็นอดีตประธานชมรมทนายความจังหวัดชลบุรี 2 สมัย ปัจจุบันสำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ บริหารงานโดย นายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์ โดยมีนายพิศิษฐ์ ศรีสังข์ เป็นประธานที่ปรึกษาของสำนักงาน พร้อมด้วยทีมงานทนายความคนอื่นๆอีกหลายท่าน สำนักงานพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ ชลบุรี ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ให้บริการ ให้คำปรึกษากฎหมายเป็นรายบุคคลและเป็นที่ปรึกษากฏหมายแก่องค์กรธุรกิจ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีแรงงาน คดีภาษีอากร ให้บริการรับรองลายมือชื่อในการจดทะเบียนต่อสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท บริการรับรองสำเนาเอกสาร รับรองลายมือชื่อบุคคล รับรองคำแปล โดยโนตารีพับลิค (Notary public) เรายินดีให้บริการท่าน ทั้งในกรุงเทพ ชลบุรี พัทยา ระยอง ฉะเชิงเทรา และพื้นที่อื่นๆทั่วราชอาณาจักร
เรามีประสบการณ์เกี่ยวกับคดีความต่างๆหลายประเภทเช่น 1คดีอาญา ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีคดีอาชญากรรมค่อนข้างสูงและ หลากหลายรูปแบบ ดังนั้นเราจึงได้รับดำเนินคดีและว่าความคดีอาญาเป็นจำนวนมากกว่าคดีประเภท อื่น โดยเฉพาะการเป็นทนายความจำเลยในคดีอาญา ไม่ว่าจะเป็นคดีฆาตกรรม คดีทำร้ายร่างกาย คดีข่มขืน คดีพรากผู้เยาว์ คดีลักทรัพย์ คดียักยอก คดีฉ้อโกง คดีหมิ่นประมาท คดีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ และความผิดตามพระราชบัญญัติอื่นๆที่มีโทษทางอาญาโดยเฉพาะคดีความผิดเกี่ยว กับยาเสพติดให้โทษ 2.คดีที่ดินและหมู่บ้านจัดสรร และอาคารชุด ทั้งนี้เนื่องจากที่ดินบริเวณเขตจังหวัดชลบุรีและเมืองพัทยา มีราคาสูงมากประกอบกับมีการขยายตัวของธุรกิจต่างๆอยู่ตลอดเวลาและมีหมู่บ้าน จัดสรรและอาคารชุดอยู่เป็นจำนวน จึงทำให้บริเวณจังหวัดชลบุรีและเมืองพัทยาเกิดข้อพิพาทในคดีเกี่ยวกับเรื่อง ที่ดินบ่อยครั้ง ดังนั้นคดีที่เกี่ยวกับที่ดินและหมู่บ้านจัดสรร รวมทั้งอาคารชุด จึงเป็นคดีอีกประเภทที่ทางสำนักงานได้รับดำเนินคดีและว่าความบ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น คดีเกี่ยวกับการฟ้องร้องแบ่งแยกที่ดิน ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม คดีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดิน คดีเกี่ยวกับการครอบครองที่ดินเกินแนวเขต คดีครอบครองปรปักษ์ ทางภารจำยอม ทางจำเป็น ทางสาธารณะ คดีนายหน้า คดีผิดสัญญาจะซื้อจะขาย คดีข้อพิพาทเรื่องหมู่บ้านจัดสรร และอาคารชุด ต่างๆ 3.คดี ครอบครัว เป็นคดีอีกประเภทที่ทางสำนักงานฯได้รับดำเนินการอยู่เป็นประจำ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะในยุคสมัยนี้ ปัญหาครอบครอบเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าแต่ก่อนมาก เนื่องจากปัจจัยทางสังคมหลายๆอย่าง จึงทำให้มีคดีประเภทนี้ขึ้นสู่ศาลเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างปัญหาคดีครอบครัวที่ทางสำนักงานฯรับดำเนินการบ่อยครั้ง ได้แก่ ปัญหาการฟ้องหย่า การแบ่งสินสมรส การแบ่งกันเลี้ยงดูบุตร การขอจดทะเบียนรับรองบุตร การฟ้องชู้ การฟ้องเรียกค่าทดแทน และการฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพ เป็นต้น 4.คดี มรดก คดีประเภทสุดท้ายที่ทางสำนักงานฯได้รับดำเนินคดีอยู่เป็นประจำ ตัวอย่างคดีประเภทนี้ ได้แก่ คดีเกี่ยวกับการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทั้งกรณีมีผู้คัดค้านและไม่มีผู้คัดค้าน คดีเกี่ยวกับปัญหาข้อพิพาทการแบ่งปันทรัพย์มรดก คดีฟ้องแบ่งมรดก คดีถอนผู้จัดการมรดก ดำเนินการจัดการมรดก ประชุมทายาท จัดประมูลทรัพย์มรดก เป็นต้นซึ่งคดีต่างๆเหล่านี้ ทางสำนักงานได้เคยมีประสบการณ์ในการทำงานมาเป็นเวลานาน จึงมีความเชี่ยวชาญในการทำงานกว่าคดีประเภทอื่นๆ ซึ่งทางสำนักงานฯ มีตัวอย่างคดีที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง หรือคดีสามารถจบลงได้ด้วยผลประโยชน์สูงสุดของลูกความรวมกว่าร้อยคดี ซึ่งท่านสามารถขอตรวจสอบสำนวนคดีต่างๆเหล่านี้ได้ที่สำนักงาน ติดต่อทนายความ
โทร. 098-2477807 (ais) , 087-3357764 (dtac)
Lineid- tanaiekkasit
จันทร์ | 08:00 - 22:00 |
อังคาร | 08:00 - 22:00 |
พุธ | 08:00 - 22:00 |
พฤหัสบดี | 08:00 - 22:00 |
ศุกร์ | 08:00 - 22:00 |
เสาร์ | 08:00 - 22:00 |
อาทิตย์ | 08:00 - 22:00 |
Vitc
Our lawyers have the skill and experience to handle a wide range of transactional and litigation matters including corporate, commercial, real estate, will
- เป็นที่ปรึกษากฎหมาย - รับทวงถามหนี้ - บริการทางกฎหมายอื่นๆ - รับสืบทรัพย์บังคับคดี
สำนักงานกฎหมาย เอ เอ็น ซี รับว่าความ ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ร่างหนังสือสัญญา
Visa Service, Taxi Transport, Hotel Booking,all kinds of translations and verifications and all help needed for foreign and Thai customers here in Thai etc
ทนายความ/ปรึกษาทนายความ/ปรึกษากฎหมาย/รับว่าความ/ปรึกษากฎหมายฟรีตลอด24ชม.โทร097-2206939