ที่ปรึกษากฎหมาย,รับเป็นทนายว่าความ, Notarial Services Attorney.ที่ปรึกษางานกฎหมายคดีธนาคาร กว่า 25 ปี ที่ปรึกษางานกฎหมาย รับว่าความคดีธนาคาร ไฟแนนส์ ประกันชีวิต คดีเเพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง จัดทนายความไปศาล
เปิดเหมือนปกติ
💞การเเจ้งความที่หลายคนยังไม่รู้
#ลงบันทึกประจำวัน คือ การลงบันทีกแล้วจบ
#แจ้งไว้เป็นหลักฐาน คือ การลงบันทีกแล้วจบ
#ขอให้ดำเนินคดี คือ การแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดี
กฎหมายน่ารู้ 85:แจ้งความคดีอาญาอย่างไร?เรื่องไม่เงียบ
.
เป้าหมายการแจ้งความ คือ ต้องการให้ตำรวจดำเนินการต่อผู้กระทำความผิดทางอาญา เป็นต้นว่า ถูกลักทรัพย์/โดนทำร้ายร่างกาย/โดนหมิ่นประมาทหรือการทำผิดทางอาญาอื่นๆ
.
ตำรวจจะสอบสวนหรือสืบสวน แล้วก็จัดการกับคนกระทำหรือสงสัยว่ากระทำความผิดนั้นให้กับเรา การแจ้งความจึงไม่จำเป็นว่าเราจะรู้ถึงข้อกฎหมายว่า เป็นความผิดข้อหาอะไร ตำรวจจะปรับบทกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ผู้แจ้ง/ผู้เสียหาย เพียงต้องรู้ว่าเป็นเรื่องทางอาญา ไม่ใช่เรื่องทางแพ่ง หากได้รับความเสียหายนี้นจะมีความผิดทางอาญา ก็ไปหาตำรวจแล้วแจ้งความได้เลย
.
แจ้งความปกติจะต้องเป็น "ผู้เสียหาย" หรือผู้มีอำนาจจัดการแทน แล้วถ้าหากไม่ใช่เรื่องของเราจะไปแจ้งความได้หรือไม่ ? กฎหมายให้ทำได้โดยใช้คำว่า "กล่าวโทษ"
.
ตัวอย่าง คือ เมื่อเราพบเห็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำความผิดแล้ว ก็ต้องแจ้งให้ตำรวจทราบ เช่น มีการฆ่ากันตาย/ปล้นร้านค้า หรือมีคนกำลังจะฆ่าตัวตาย เป็นต้น
.
การแจ้งความที่เราได้ยินบ่อยๆ กฎหมายเรียกว่า "ร้องทุกข์" ตำรวจจะฟังว่าสิ่งที่เรากำลังเดือดร้อนนั้นเป็นทุกข์ทางอาญาหรือไม่ และคุณคือคนที่เป็นทุกข์หรือไม่
.
นอกจากตัวผู้เสียหายที่ร้องทุกข์ได้แล้ว พ่อแม่ ลูก หรือคู่สมรส ก็สมารถร้องทุกข์แทนได้เฉพาะในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายบาดเจ็บจนไม่สมารถไปแจ้งความเองได้ หรืไม่อยากไปบากหน้าหรือเสียเวลาขึ้นโรงพัก ก็ไต้องไปเองก็ได้ สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นไปร้องทุกข์แทนได้เหมือนกัน
.
การแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นขั้นตอนที่จะให้ตำรวจดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด อย่างที่ว่าไว้ เราไม่จำเป็นต้องแจ้งข้อหาก็ได้ เล่าเรื่องราวให้ตำรวจฟังก็พอ แต่ก็ไต้องระบุตัวผู้กระทำความผิดก็ได้หากไม่แน่ใจว่าใครทำ ถ้าเราเข้าใจและมีเหตุอันควรเชื่อได้วคนนี้ที่ทำผิดต่อเราก็บอกตำรวจเขาไปได้ แต่ถ้าไม่แน่ใจอย่าเหมาเอาเองส่งเดชจะเป็นเหตุให้คนคนนั้นเอาเรื่องกลับเราได้
.
ก่อนไปแจ้งความติดต่อสถานีตำรวจต้องทำอะไรบ้าง เพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
ควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยนะครับ เช่น
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบแทนฯ หรือ
2. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ
3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
4. หนังสือเดินทาง (PASSPORT) สำหรับชาวต่งประเทศที่เดินทางเข้มาภายในประเทศ
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. ในกรณีที่ทนจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่นให้นำ หลักฐานต่างๆ
.
ข้อควรรู้เพิ่มเติม :
1. คดีอาญาส่วนตัว ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 ดือน นับแต่รู้รื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
2. ความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการก็สามารถฟ้องคดีต่อศาลได้
3. การแจ้งความได้ทุกสถานีตำรวจ หรือสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ
#กฎหมายน่ารู้ #แจ้งความ #ร้องทุกข์ #ตำรวจ #คดีอาญา #กฎหมาย #สำนักงานกิจการยุติธรรม #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น #กระทรวงยุติธรรม
[12/17/20]
ทำไมศาลจึงรับคลิปในโทรศัพท์เป็นพยานหลักฐาน ทั้งๆ ที่โทรศัพท์ไม่ได้ถูกระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน❓
การที่ศาลรับฟังคลิปจากโทรศัพท์เป็นพยานหลักฐานนั้น ศาลอาศัยอำนาจจากมาตรา 226/3 ประกอบมาตรา 229/1 วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา กล่าวคือ พยานหลักฐานใดที่จะนำสืบต่อศาลได้ต้องมีการระบุไว้ในบัญชีระบุพยานก่อนที่จะมีการพิจารณาคดีนั้นๆ หากไม่ได้มีการระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน ศาลไม่อาจที่จะรับฟังได้ เว้นแต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ของจำเลยตามมาตรา 229/1 วรรคท้าย
คลิปในโทรศัพท์นั้นเป็นพยานวัตถุอันถือเป็นพยานบอกเล่า แม้โทรศัพท์จะไม่ได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยานก่อนการพิจารณาตามมาตรา 173/1 ก็ตาม แต่เนื่องจากคลิปดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่จะช่วยให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและเป็นการเปิดโอกาสให้แก่เต้ยผู้ตกเป็นจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ตามมาตรา 229/1 วรรคท้าย ประกอบกับแหล่งที่มาของคลิปในโทรศัพท์นั้น มีความน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้เพราะเป็นคลิปที่อาอี้ส่งตรงมาจากฮ่องกงและถูกบันทึกภายในระยะเวลาอันสั้นก่อนที่จะมีการยื่นเป็นพยานต่อศาลตามมาตรา 226/3 วรรคสอง (1) และ (2) ดังนี้ ศาลจึงรับคลิปดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
มีบทสนทนาตอนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของคลิปในโทรศัพท์ว่าน่าเชื่อถือจากการที่ทนายเจมส์ตอบการคัดค้านการยื่นพยานหลักฐานของพนักงานอัยการ โดยบทสนทนาคือ
ทนายเจมส์ : ขออนุญาตครับ ท่านครับ ผมมีพยานหลักฐานใหม่เข้ามาครับ ขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมครับ
พนักงานอัยการ : ขออนุญาตคัดค้านครับ ท่าน ตามกฎหมายนะครับ การยื่นบัญชีพยานเนี่ย คู่ความหรือจำเลยจะต้องให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตรวจดูก่อนในวันตรวจพยานหลักฐานนะครับ และปรากฏว่าวัตถุพยานที่จำเลยส่งมานั้น อยู่ในมือถือเนี่ย ผมไม่ทราบว่าจะเป็นการปลอมขึ้นมาหรือเปล่า
ทนายเจมส์ : ด้วยความเคารพครับ ท่าน คลิปวิดีโอนี้อาจจะเป็นหลักฐานสำคัญ เป็นคำรับสารภาพของผู้ต้องหาตัวจริงครับ ท่าน #และที่สำคัญคือเพิ่งบันทึกเมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมานี้เองครับ
หลังจากทนายเจมส์พูดเสร็จ ศาลจึงนำคลิปในโทรศัพท์ไปดู และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้รับโทรศัพท์มือถือเป็นวัตถุพยานได้
การที่ศาลรับฟังคำกล่าวของทนายเจมส์ข้างต้นนั้นเป็นนัยอันสะท้อนให้เห็นว่าศาลยึดถือแนวทางการตัดสินของศาลฎีกาในเรื่องแหล่งที่มาของพยานบอกเล่าที่ว่าพยานนั้นเกิดขึ้นในทันทีทันใดไม่มี “โอกาส” ที่จะดัดแปลง แก้ไขหรือไม่มีระยะเวลามากพอในการที่จะคิดให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริงถือว่าเป็นพยานที่รับฟังได้ (ฎ.314/2515 , ฎ.2414/2515 , ฎ.5134/2560)
ดังนี้ จึงสรุปได้ว่า “ผมเป็นคนยิงคุณประเสริฐ จิระอนันต์ พี่ชายแท้ๆ ของผมเองครับ” จบ
#เลือดข้นคนจาง 💔
#ปิดเทอมนานประมวลก็เริ่มจางแล้วเหมือนกัน 🤣📚
#AmityJuris ⚖️
สำนักงานทนายความ's cover photo
#แจ้งความร้องทุกข์
🗣แจ้งโรงพักไหนก็ได้ครับ
หากท่านเดินทางไปแจ้งความร้องทุกข์ในคดีอาญาแล้วพนักงานสอบสวนบอกท่านว่าเหตุไม่ได้เกิด
ในท้องที่ของตนเอง จึงไม่รับแจ้งความ
ให้ท่านบอกกับพนักงานสอบสวนไปเลยครับว่า...
#การแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
ไม่ต้องคำนึงว่าพนักงานสอบสวนนั้นจะมีอำนาจสอบสวนคดีนั้นหรือไม่ กล่าวคือ #ผู้เสียหายสามารถร้องทุกข์ได้ทั่วราชอาณาจักร แม้พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งแม้จะมิได้มีอำนาจทำการสอบสวน หรือมิใช่ท้องที่เกิดเหตุก็ตาม ก็ยังมี #อำนาจรับคำร้องทุกข์ได้ (ฎีกาที่ 2974/2516)
***ประกอบคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ที่ 419/2556 เรื่องการรับแจ้งความ..
#เมื่อมีผู้มาแจ้งความที่เกี่ยวกับคดีอาญา...
#พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์
#ไม่ว่าเหตุจะเกิดหรืออ้างหรือเชื่อว่าเกิดภายในเขตอำนาจการสอบสวนของตนหรือไม่ก็ตาม
#ห้ามมิให้ปฏิเสธว่าเหตุมิได้เกิดในเขตอำนาจตน...
***ส่วนกรณีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ความผิดมิได้เกิดในอำนาจของตน ให้รับแจ้งความแล้วส่งเรื่องไปยังพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป (เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน)
(คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 บทที่ 2 ข้อ 1.1.3.1 วรรคสอง)
#ดังนั้นเมื่อท่านมีการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวน
#ปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์ไว้ดำเนินการสอบสวน
#เป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157
(ฎีกาที่ 7630/2549)
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องของการนำคดีแพ่งเข้าสู่การไกล่เกลี่ยหรือระงับข้อพิพาทก่อนฟ้อง
1.คู่ความสามารถยื่นคำร้องขอนำคดีเข้าสู่การไกล่เกลี่ยต่อศาลที่มีเขตอำนาจหากมีการฟ้องคดี
2. ศาลจะแต่งตั้งผู้ประนีประนอมทำหน้าที่ในการเจรจา
3. ศาลเรียกคู่กรณีที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาเจรจา ด้วยตนเองหรือคู่กรณีจะแต่งตั้งทนายความมาช่วยในการเจรจาก็ได้
4. หากตกลงกันได้ให้ผู้ประนีประนอมเสนอข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมต่อศาล
5. หากศาลตรวจข้อตกลงและสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คู่สัญญาอาจร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาตาม ข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ
6. การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนี้ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล การเจรจาไกล่เกลี่ยไม่จำกัดจำนวนทุนทรัพย์
7. เมื่อมีการแต่งตั้งผู้ประนีประนอมแล้ว การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงโดยไม่ประสบผลสำเร็จ และอายุความครบกำหนด หลังจากยื่นคำร้องหรือจะครบกำหนดภายใน 60 วันนับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง
ให้อายุความขยายออกไปอีก 60 วันนับตั้งแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง
8. คำสั่งของศาลเกี่ยวกับเรื่องการไกล่เกลี่ย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 20 ตรีนี้ ให้เป็นที่สุด
เมื่อมีคดีความสามารถยุติคดีได้ด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้แล้วตาม กฎหมายใหม่
📌พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562
เนื่องจากในปัจจุบันข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากจึงมีการเห็นควรให้นำกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่มากนักและข้อพิพาททางอาญาบางประเภทมากำหนดเป็นกฎหมายกลางเพื่อให้หน่วยงานของรัฐพนักงานสอบสวนหรือศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนใช้ในการยุติหรือระงับข้อพิพาทดังกล่าวได้ ทั้งนี้ด้วยการคำนึงถึงความยินยอมของคู่กรณีเป็นสำคัญ เพื่อให้ปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง ช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง ก่อให้เกิดความสมานฉันท์มากขึ้นในสังคม ลดงบประมาณแผ่นดิน และเสริมสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 ขึ้นเพื่อเป็นกฎหมายกลางในการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
“การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” คืออะไร
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ การดำเนินการเพื่อให้คู่กรณีมีโอกาสเจรจาตกลงกันระงับข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญาโดยสันติวิธีและปราศจากการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ดำเนินการในชั้นศาลและในชั้นการบังคับคดี
ดังนั้น การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติฯ นี้ จึงหมายถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยในชั้นอื่นๆ ที่ไม่ใช่ในชั้นศาลและชั้นการบังคับคดี เช่น การไกล่เกลี่ยในชั้นของหน่วยงานต่างๆที่ดำเนินการไกล่เกลี่ย หรือในชั้นสอบสวน เป็นต้น
“ผู้ไกล่เกลี่ย” คือใคร
ผู้ไกล่เกลี่ย คือ บุคคลซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติ
(1) ผ่านการอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามหลักสูตรที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติรับรอง
(2) เป็นผู้มีประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ข. ลักษณะต้องห้าม
(1) เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(2) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(3) เคยถูกเพิกถอนการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัตินี้ และยังไม่พ้นห้าปี นับถึงวันยื่นคำขอรับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
“การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง” ทำได้ในทุกคดีหรือไม่
- การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง ไม่สามารถทำได้ทุกคดี
- คดีทางแพ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ ได้แก่
1) คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล
2) คดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว หรือ
3) คดีเกี่ยวกับการพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
- การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งให้กระทำได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
1) ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่มิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์
2) ข้อพิพาทระหว่างทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดก
3) ข้อพิพาทอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
4) ข้อพิพาทอื่นนอกจาก 1), 2) และ 3) ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าล้านบาท หรือไม่เกินจำนวนตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
“การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา” คืออะไร และทำได้ในทุกคดีหรือไม่
- การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา คือ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน โดยพนักงานสอบสวนจัดให้คู่กรณีในคดีอาญามีโอกาสเจรจาตกลงหรือเยียวยาความเสียหายเพื่อระงับคดีอาญา
- “คู่กรณี” หมายถึง ผู้ต้องหาและผู้เสียหายในคดีอาญา แต่ไม่หมายความรวมถึงคดีอาญาที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้เสียหาย
- การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา ไม่สามารถทำได้ทุกคดี
- การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา ให้กระทำได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
1) คดีความผิดอันยอมความได้
2) คดีความผิดลหุโทษตามมาตรา 390 มาตรา 391 มาตรา 392 มาตรา 393 มาตรา 394 มาตรา 395 และมาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
3) คดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562
- คดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี ตามบัญชีท้ายฯ ได้แก่
(1) ความผิดฐานเข้าร่วมในการชุนมุนต่อสู้และมีผู้ถึงแก่ความตายจากการชุลมุนต่อสู้นั้น ตามมาตรา 294 วรรคหนึ่ง
(2) ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามมาตรา 295
(3) ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยมีเหตุฉกรรจ์ ตามมาตรา 296
(4) ความผิดฐานเข้าร่วมในการชุนมุนต่อสู้และมีผู้ได้รับอันตรายสาหัสจากการชุลมุน
ต่อสู้นั้น ตามมาตรา 299 วรรคหนึ่ง
(5) ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามมาตรา 300
(6) ความผิดฐานลักทรัพย์ ตามมาตรา 334
- สำหรับคดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปีนั้น ต้องเป็นกรณีที่
(1) ผู้ต้องหาไม่เคยได้รับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่เป็นคดีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท คดีความผิดลหุโทษ ซึ่งพ้นระยะเวลาเกินสามปีนับแต่มีคำสั่งยุติคดี และ
(2) ผู้ต้องหาไม่อยู่ระหว่างต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือพ้นโทษมาแล้วเกินกว่าห้าปี เว้นแต่เป็นคดีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท คดีความผิดลหุโทษ หรือคดีความผิดที่ผู้ต้องหาได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
หากคู่กรณีต้องการยุติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน จะกระทำได้หรือไม่
- คู่กรณีคนใดคนหนึ่งอาจขอถอนตัวเพื่อยุติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในเวลาใดก็ได้
- ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหลายคน การขอถอนตัวเพื่อยุติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาของคนใดคนหนึ่งหรือหลายคน ย่อมไม่กระทบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาของคู่กรณีที่เหลืออยู่ทั้งสองฝ่าย
ผู้ไกล่เกลี่ยจะยุติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา ได้หรือไม่
ผู้ไกล่เกลี่ยอาจยุติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาโดยไม่แจ้งหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือมีพฤติการณ์ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา
(2) มีเหตุอันควรสงสัยว่าความตกลงนั้นมิได้เป็นไปด้วยความสมัครใจ
(3) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาไม่อาจบรรลุผลได้โดยแน่แท้
(4) เห็นได้ชัดว่าการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาต่อไปจะเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นผู้เยาว์
(5) คู่กรณีไม่สามารถเจรจาเพื่อตกลงแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือไม่อาจเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา หากสำเร็จ มีผลประการใด
- เมื่อคู่กรณีได้มีข้อตกลงเป็นประการใดแล้ว ให้ผู้ไกล่เกลี่ยบันทึกข้อตกลงหรือจัดให้มีการบันทึกข้อตกลงนั้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่กรณีและผู้ไกล่เกลี่ยลงลายมือชื่อไว้ แล้วให้ผู้ไกล่เกลี่ยส่งบันทึกข้อตกลงไปยังพนักงานสอบสวน เมื่อคู่กรณีได้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ให้แจ้งพนักงานสอบสวนทราบ เพื่อจัดทำบันทึกการปฏิบัติตามข้อตกลง ส่งไปยังพนักงานอัยการพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาสั่งยุติคดี เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งยุติคดี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
- ในกรณีที่มีการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงไม่ครบถ้วน ให้คู่กรณีแจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบเพื่อเสนอพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจออกคำสั่งพิจารณามีคำสั่งดำเนินคดีต่อไป เว้นแต่ผู้เสียหายพอใจในการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้กระทำไปแล้ว ให้คู่กรณีแจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการส่งไปยังพนักงานอัยการพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาสั่งยุติคดี
- แต่ถ้าความปรากฏแก่พนักงานสอบสวนว่าคู่กรณีที่เป็นผู้ต้องหาจงใจไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยไม่มีเหตุอันควร ให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจออกคำสั่งมีคำสั่งดำเนินคดีต่อไป
#กรมคุ้มครองสิทธิ
#สำนักงานตำรวจเเห่งชาติ
#ผู้ไกล่เกลี่ย
#ยุติคดี
#สิทธิการนำคดีมาฟ้องระงับ
น้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระบิดาแห่งกฎหมายไทย
๗ สิงหาคม วันรพี
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หรือ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย
"เองกินเหล้าเมายาไม่ว่าดอก
แต่อย่าออกนอกทางไปให้เสียผล
เองอย่ากินสินบาดคาดสินบน
เรามันชนชั้นปัญญาตุลาการ"
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ -
[07/24/20]
#ศาลพิพากษาสั่งจำคุกพร้อมปรับเงิน
สาวหัวร้อน ด่าทอ - ขวดน้ำฟาด ตร. เตือนจอดที่ห้ามย่านสวนลุมพินี
ภายหลังมีการแจ้งหลายข้อหา "สาวหัวร้อน" เอาขวดน้ำฟาด ตร. หลังถูกเตือนจอดที่ห้าม ล่าสุด วันนี้ (22 กรกฎาคม 2563) ที่ ศาลแขวงปทุมวัน ถนนพระรามที่ 4 พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดี ศาลแขวง 6 เป็นโจทก์ฟ้อง น.ส.โชติมา เนตรขันธ์ อายุ 37 ปี เป็นจำเลย ฐานความผิด ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ หรือได้กระทำการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย
อัยการโจทก์ฟ้องโดยวาจาว่า เมื่อวันที่ 21 ก.ค. จำเลยได้บังอาจจอดรถยนต์กระบะ หมายเลขทะเบียน กง 7246 ชัยภูมิ กีดขวางการจราจรอยู่บริเวณทางเข้าที่จอดรถสวนลุมพินี (ประตู 5) ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ทำให้การจราจรติดขัด ด.ต.สราวุธ รวบรวมวงศ์ และ ร.ต.อ.จักรพงศ์ พิทักษ์กรสกุล ตำรวจประจำ สน.ลุมพินี ซึ่งป็นเจ้าพนักงานจราจร จึงไปยังที่เกิดเหตุและได้ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.จราจร พ.ศ. 2522 มาตรา 59 สั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าวเคลื่อนย้ายรถยนต์ที่จอดกีดขวางการจราจรนั้นออกจากบริเวณดังกล่าวเพื่อไม่ให้กีดขวาง
จำเลยได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยได้บังอาจไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งนั้น โดยไม่เคลื่อนย้าย อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ภายหลังจำเลยไม่ยินยอมลงจากรถยนต์และแสดงใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ต่อเจ้าหน้าที่ แล้วจำเลยยังบังอาจต่อสู้ขัดขวางโดยใช้กำลังประทุษร้าย ใช้ขวดน้ำตีไปที่ใบหน้าของ ด.ต.สราวุธ หลายครั้ง จากนั้นจำเลยได้ลงจากรถยนต์มาใช้เท้าถีบไปที่บริเวณลำตัวของ ร.ต.อ.จักรพงศ์ 1 ครั้ง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 , 138 , 368 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558 มาตรา 6 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2560 มาตรา 5 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ข้อ 4 ชั้นสอบสวน จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลจึงพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 , 368 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ฯ จำคุก 1 เดือน และปรับ 2,000 บาท ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ปรับ 500 บาท รวมสองกระทงเป็นจำคุก 1 เดือน ปรับ 2,500บาท จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 15 วัน และปรับ 1,250 บาท
พิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 29 , 30
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับคดีปกครอง และอื่นๆ
จันทร์ | 09:00 - 17:00 |
อังคาร | 09:00 - 17:00 |
พุธ | 09:00 - 17:00 |
พฤหัสบดี | 09:00 - 17:00 |
ศุกร์ | 09:00 - 17:00 |
จองตั๋วเครื่องบิน ประกันการเดินทาง แปลเอกสาร กรอกฟอร์มวีซ่า วีซ่า ออนไลน์
เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร มีเฉพาะ ผู้ต้องขังเพศชาย ในคดีทั่วไป ไม่มีคดียาเสพติด
ร้านอาหารไทย
Legal and commercial advice to the traders operating in South East Asia, as well to those many Asian traders that are going to operate in Europe & in Italy
เครือข่ายทนายความ บริการให้คำปรึกษา จัดหาทนายความทั่วประเทศ โทร. 089-226-8899 ไลน์ ไอดี: @homelawyer
เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899 ไลน์ ไอดี. @homelawyer
เครือข่ายทนายความ ให้คำปรึกษา จัดหาทนาย ที่มีประสพการณ์ในคดีต่างๆ
เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร 089-226-8899
ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ :) มีสาระปนอารมณ์ขัน "เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง"
สโมสรสมาชิกประกันภัย
เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร 089-226-8899